23 ส.ค. 2020 เวลา 13:14 • ไลฟ์สไตล์
Round1 "เป้าหมายครอบครัว.... ฝันใกล้จะเป็นจริง เมื่อเราวัดผลได้"
🌏พัฒนาตนเองและครอบครัวให้ก้าวไปข้างหน้า
เพื่อตามโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้ทัน
การบริหารงานและชีวิตส่วนตัวที่ว่ายากแล้ว
แต่การที่จะดูแลครอบครัว ติดตามบริหารจัดการจุดมุ่งหมายและความฝันของทุกๆคนให้สำเร็จและเป็นจริงได้ ช่างยากกว่าหลายเท่านัก
สถาบันครอบครัวเป็นองค์กรที่แตกต่างจากบริษัท
เพราะพนักงานทุกคนในองค์กรแห่งนี้คือ....
คนที่รักและผูกพันทางใจซึ่งกันและกัน
ไม่มีเจ้านาย ไม่มีลูกน้อง ไม่มีนายจ้าง ไม่มีลูกจ้าง
ทุกๆคนในครอบครัวดูแลช่วยเหลือกันด้วยหัวใจ
โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนใดๆคืนกลับมา
ไม่กลัวขาดทุน ไม่กลัวเสียเปรียบ ไม่กลัวเสียเวลา
สมาชิกทุกๆในครอบครัว มีแต่ความเมตตากรุณา และเอื้ออาทรต่อกัน เพราะ ความสุขของรักแท้ก็คือ....
"การให้" นั่นเอง
ผมเข้าใจความรักของสมาชิกทุกๆคนในครอบครัวเป็นอย่างดี ด้วยพื้นฐานที่มีความโชคดีที่ได้เกิดและเติบโตมาในครอบครัวที่อบอุ่น
ซึ่งความอบอุ่นนั้นยังส่งผลอานิสงค์ที่ดีต่อให้ถึงยังรุ่นลูก คือ ฟีนิกซ์และกราฟฟิก ที่ได้รับความรักจาก พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องรอบๆตัว
แต่ด้วยความที่ตัวผมทำงานอยู่ในสายงานบริหารและเป็นวิศวกรมาก่อน ทำให้เกิดการเก็บข้อมูลวิเคราะห์บุคคลและองค์กรที่ประสบความสำเร็จต่างๆ ว่าเค้ามีการบริหารจัดการอย่างไรถึงได้ประสบความสำเร็จเฉกเช่นทุกวันนี้
ลำพังความรักเพียงอย่างเดียว จะนำพาให้ครอบครัวของเราไปสู่เป้าหมายที่ทุกๆคนฝันได้หรือไม่?
อันนี้ผมก็ไม่อาจแน่ใจได้
แต่เพื่อลดความเสี่ยงกับครอบครัวที่สร้างขึ้นใหม่ของผมกับภรรยาที่เพิ่งจะตั้งไข่ เริ่มต้นมาเพียงไม่กี่ปี
เราควรหาเครื่องมือมาช่วย เพื่อจัดการความเสี่ยงและบริหารครอบครัวให้ไปสู่เป้าหมายและถึงฝั่งฝันที่หวังไว้
" พัฒนาตนเอง พัฒนาครอบครัว ให้ดีขึ้นในทุกๆวัน "
ก้าวไปสู่เป้าหมายทีละก้าว ทีละก้าว ไปด้วยกัน....
สักวันนึงความฝันของเราจะเป็นจริง.... พ่อขอสัญญา ⏱👨👩👦👦❤
เครืองมือบริหารจัดการเป้าหมายความฝันให้สำเร็จในความจริง ที่ทุกองค์กรกำลังนิยมใช้ในช่วงนี้ก็คือ
"OKR "
ซึ่งผมกำลังทดลองนำมาจัดการบริหารเป้าหมายของตัวผม แม่เมย์ ฟีนิกซ์ กราฟฟิก และเป้าหมายร่วมของทุกๆคนในครอบครัว
ซึ่งเบื้องต้นผลลัพธ์ก็ออกมาค่อนข้างดี
สนุกสนานบันเทิงกันสุดๆเลยครับ
👨🏫ผู้รู้ให้คำแนะนำ :
OKR คืออะไร?
OKRs ย่อมาจาก Objective and Key Results
O (Objective) = เป้าหมาย (หรือ ความฝัน)
KR (Key Results) = สิ่งที่วัดความสำเร็จ หรือ ตัวชี้วัดที่แสดงว่าเราบรรลุเป้าหมาย
สิ่งสำคัญในการใช้ OKR คือการสร้างแนวทางสู่ความสำเร็จที่ชัดเจน (Clear path to success)
ในองค์กรที่ประสบความสำเร็จเช่น Google จะมีการประกาศ OKR ของแต่ละแผนกให้ทุกคนรู้ (Transparency)
ซึ่งการประกาศให้โลกรู้นั้น แน่นอนมันก็ต้องชัดเจน (Clarity) ไม่งั้นก็จะมีคำถามจากเพื่อนร่วมทีมและเพื่อนร่วมแผนก
นอกจากนี้ยังสร้างให้พนักงานเกิดความมีส่วนร่วม (Engage) ทั้งในการร่วมคิด
การประกาศให้ทุกคนรู้ถึงเป้าหมาย ก็จะเป็นแรงกดดัน (pressure) กลายๆว่า เราต้องทำ
คนไทยเราเป็นคนที่ถือว่าหน้าตา เป็นเรื่องใหญ่
หากคุณมีการกำหนด OKR ส่วนตัวและเขียนเป้าหมายและ post ใน Facebook ว่าปีนี้จะลดน้ำหนักให้ได้ 10 Kg และ Share ไปให้เพื่อนๆ คุณ และลอง update ทุกๆ ไตรมาส
แน่นอน คุณก็อาจรู้สึกอายถ้าทำไม่สำเร็จ และอย่างน้อย Facebook ก็จะเตือนเราปีละครั้ง
มีกฏของ OKR คือ จำนวนของ OKR ต้องไม่เยอะ ไม่ควรเกิน 3 ข้อ
ข้อมูลโปร่งใสทุกคนสามารถเห็นได้
OKR ต้องมีความเชื่อมโยงกัน
ต้องสร้าง OKR ambassador (ผู้เชี่ยวชาญด้าน OKR) ขึ้นในองค์กรโดยทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้
จัดเก็บข้อมูลและมีการติดตามความคืบหน้าทุก 1-2 สัปดาห์
⭐ประโยชน์ของ OKR
ในส่วนนี้เรามาดูกันว่าประโยชน์ของ OKR มีอะไรบ้าง และถ้าเราจะนำ OKR มาปรับใช้กับการทำงาน เราควรจะมุ่งเน้นที่ส่วนไหนเป็นพิเศษ
ประโยชน์ข้อแรกสุดของการใช้ OKR ก็คือ....
OKR เป็นระบบการวัดผลการทำงานที่เหมาะกับงานที่มีเป้าหมายไม่ชัดเจน
การตั้งเป้าหมายด้วย OKR คือการสนับสนุนให้คนสร้างเป้าหมายที่ท้าทายให้กับตัวเอง
ส่วนมากแล้วพนักงานจะไม่สามารถทำตามเป้าหมายของ OKR ได้ถึง 100%
แต่ในบางกรณี การทำเป้าหมายของ OKR ให้ได้ 60% ก็เป็นตัวเลขที่ยอมรับได้แล้ว ตราบใดที่เป้าหมายมีความท้าทายและทำให้พนักงานพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
OKR เป็นระบบวัดผลความสำเร็จที่เราสามารถกลับมาดูได้เรื่อยๆ
บางคนอาจจะคุ้นเคยกับการตั้งเป้าหมายการทำงานประจำปี และประเมินผลการทำงานทุกปลายปี
แต่วิธีการประเมินผลด้วย OKR สามารถทำได้ทุกไตรมาส หรือบางบริษัทก็เลือกที่จะทำทุกเดือน
การประเมินผลและติดตามผลการทำงานแบบถี่ขึ้นจะทำให้พนักงานสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและทำให้ผู้บริหารสามารถเข้ามาช่วยเวลามีปัญหาได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับองค์กรที่ทำงานเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนั้นแล้วการประเมินผลด้วย OKR ก็เป็นการประเมินเชิงปริมาณ หมายความว่าทุกอย่างสามารถวัดค่าได้และสามารถเปรียบเทียบได้
แม้ว่าจะกับในอดีตและอนาคต หรือเปรียบเทียบกับพนักงานคนอื่น
หมายความว่านอกจากเราจะใช้ OKR ในการตั้งเป้าหมายในการทํางาน เรายังสามารถกลับมาวิเคราะห์ในเชิงตัวเลขว่าส่วนไหนควรที่จะพัฒนาและส่วนไหนควรที่จะทำต่อไปให้ดีขึ้น
เพราะตัวเลขเป็นการวัดผลที่ชัดเจนที่สุดแล้ว
บริษัทที่ใช้ระบบของ OKR จะพบว่าพนักงานมีอาการ ‘หมดไฟ’ น้อยลง (หมายความว่า พนักงานอยากทำงานมากขึ้น)
OKR คือเป้าหมายที่พนักงานออกแบบมาให้สำหรับตัวเอง เพราะฉะนั้นอิสระในการออกแบบเป้าหมายการทำงานของตัวเอง และ ‘ความชัดเจน’ ในการวัดผลเป้าหมายนี้ก็จะทำให้พนักงานรู้สึกอยากร่วมทำงานมากขึ้นทุกวัน
🦋ข้อเสียของ OKR
ในส่วนที่แล้วเราเห็นแล้วว่าข้อดีของ OKR มีเยอะแค่ไหนแล้วมีอะไรบ้าง แต่ในส่วนนี้เรามาดูข้อเสียของ OKR กันบ้าง เราจะได้รู้ว่า OKR เหมาะสำหรับองค์กรหรือสภาพการทำงานแบบไหนเป็นพิเศษ
ข้อแรกก็คือ OKR แต่ละอย่างเป็นสิ่งที่คิดออกมาได้ง่าย แต่ถ้าเราจะออกแบบให้ OKR หลายอย่างออกมาสอดคล้องสามารถทำงานร่วมกันได้
เราก็จำเป็นต้องใช้เวลาสร้างทั้งเป้าหมายและวิธีวัดผลให้ละเอียดมากขึ้น
แต่ส่วนมากแล้ว พนักงานแต่ละคนจะมี เป้าหมาย (Objectives) หลายอย่างซึ่งแต่ละอย่างก็อาจจะไม่ได้สอดคล้องกับภาพรวมใหญ่มากเท่าไร
ทำให้จุดมุ่งหมายในการทำงานของแต่ละคนอาจจะไปคนละทิศทาง
OKR คือการสร้างเป้าหมายและวิธีวัดผลการทำงานด้วยตัวพนักงานเอง
หมายความว่าเป้าหมายและวิธีการวัดผลหลายอย่างก็อาจจะไม่ได้สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ของบริษัทด้วยเช่นกัน
ปกติแล้ววิธีที่หลายบริษัททำก็คือให้หัวหน้าทีมช่วยกรองหรือปรับแต่ง OKR ของพนักงานแต่ละคน
ให้มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายหลักของทีมหรือเป้าหมายหลักของบริษัทมากขึ้น
ซึ่งวิธีนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างละมัดละวังเพราะอาจจะทำให้พนักงานเสียขวัญกำลังใจได้
หากเรายอมรับว่าพนักงานแต่ละคนมีเป้าหมายการทำงานที่ชอบไม่เหมือนกัน
เราก็ต้องยอมรับว่าพนักงานบางคนอาจจะไม่ชอบวิธีการวัดผลของ OKR เพราะวิธี OKR นั้นตีค่าการทำงานทุกอย่างออกมาเป็นตัวเลข เป็นขั้นเป็นตอนอย่างละเอียด
พนักงานบางคนอาจจะรู้สึกว่าการวัดผลแบบนี้เป็นการผูกมัดหรือการตั้งข้อจำกัดมากเกินไป
โดยเฉพาะพนักงานที่อาจจะชอบอิสระในการทำงานและรู้สึกไปถ้ามีการบังคับหรือว่าจำกัดวิธีทำงานเยอะ สำหรับพนักงานแบบนี้เราก็ควรจะตั้งตั้งเป้าหมายและวิธีวัดผล OKR ให้มีอิสระมากหน่อย
นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกกรณีหนึ่งก็คือพนักงานที่ไฟแรงมาก ไฟแรงจนตั้ง OKR มากกว่าความจำเป็น
โดยรวมแล้วคนส่วนมากควรจะมี OKR แค่ 3-5 อย่างก็พอ หากพนักงานคนไหนตั้ง OKR มากกว่านี้และหัวหน้างานไม่ได้ห้ามไว้
เราก็อาจจะเห็นกรณีที่พนักงาน ‘อยากจะทำอะไรหลายอย่าง’ แต่เนื่องจากว่ามีเป้าหมายเยอะเกินไป ก็เลย ‘ทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง’ แทน
🌼วิธีการนำ OKR มาใช้จริง
เราจะเห็นได้ว่า OKR เส้นทางเครื่องมือสร้างทิศทางให้บริษัท จูงใจพนักงาน และวัดผลการทำงาน
ซึ่งหากดูข้อดีกันจริงๆแล้วก็ถือว่ามีประโยชน์ต่อบริษัทมาก
การเปลี่ยนแปลงองค์กรส่วนมากควรเริ่มจากด้านบน
หมายความว่าผู้บริหารและผู้จัดการ ควรที่จะผลักดันสนับสนุนและสื่อสารข้อดีของการใช้ OKR ให้ทั้งองค์กรเข้าใจ
พนักงานแต่ละแผนก แต่ละคน อาจจะมีระดับความรู้ระดับการเข้าใจกลไกขององค์กรให้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นเราก็ควรจะเลือกวิธีการสื่อสารที่เรียบง่ายแต่ก็มีประสิทธิภาพสามารถเข้าใจได้ทั้งองค์กร
การสื่อสารเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ดี
แต่การเปลี่ยนแปลงที่ดีก็ต้องประกอบไปด้วยการดำเนินการที่ดี
ยิ่งองค์กรเรามีขนาดใหญ่ มีรูปแบบการบริหารที่ซับซ้อน เราก็ยิ่งต้องใส่ใจกับวิธีการสื่อสารและวิธีการปฏิบัติการ
เราอาจจะเลิกง่ายๆเช่นจากผู้บริหารสื่อสารไปหาหัวหน้าแผนก และหัวหน้าแผนกก็นำหลักการนี้ไปปฏิบัติกับแต่ละทีมอีกที
เพราะพนักงานคือหัวใจของการตั้งเป้าหมายและการวัดผลความสำเร็จแบบ OKR
หลายองค์กรอาจจะเริ่มนำ Objectives and Key Results (OKR) มาทดลองกับบางแผนก
ก่อนที่จะเริ่มนำไปปฏิบัติการองค์กรในขนาดใหญ่ การทำแบบนี้ก็เป็นวิธีที่ดี
เพราะผู้บริหารสามารถทดสอบและดัดแปลงระบบ OKR ให้เหมาะกับองค์กรและวิธีการทำงานของพนักงานปัจจุบันมากที่สุด
นอกจากนั้นผู้บริหารสามารถนำการทดสอบนี้มาเป็นตัวอย่าง และนำคนที่ผ่านการทดสอบมาเป็น ‘ครูฝึกสอน’ ผู้อื่นได้อีก เราเรียกคนเหล่านี้ว่า ‘ผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ หรือ Change Agent
การนำ OKR มาใช้จริงนั้นแปลว่าเราต้องดัดแปลงระบบ OKR ให้เหมาะกับวิธีการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กรเราด้วย
บางองค์กรก็อาจจะยอมรับระบบการทำงานแบบนี้ได้ดีกว่า บางองค์กรก็อาจจะรู้สึกว่า OKR เป็นสิ่งที่ยุ่งยากและต่อต้าน ในส่วนนี้คนที่เข้าใจองค์กรตัวเองดีที่สุดก็คือผู้บริหารครับ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.okr-thai.com/okr-guide/
👨คุณพ่อขอเล่า :
ตัวผมได้วางแผนชีวิตครอบครัวด้วย OKR. มาตั้งแต่ต้นปี 2019
เป้าหมายส่วนใหญ่ที่วางไว้ก็มาจากการสอบถามและปรึกษาภรรยาว่า.... มีความฝันอะไร อยากทำอะไร และ มีสิ่งไหนที่มุ่งหวังให้สำเร็จลงบ้าง
ซึ่งพอทำความเข้าใจและวางเป้าหมายชีวิตร่วมกัน
ก็ทำให้เราสองคนรับรู้ได้เลยว่า การงาน การเงิน ธุรกิจ หรือ เป้าหมายต่างๆที่คาดหมายไว้
ก็เพื่อทำให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความสุขร่วมกัน
ทุกๆอย่างที่เราจะลงมือทำในชีวิตของเราสองคนจึงง่ายมาก เพราะ สุดท้ายแล้วก็คือการทำให้เพื่อคนที่เรารักและรักเรามีความสุขที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น
เป้าหมายที่เราตั้งไว้กับการดูแลฟีนิกซ์ในปี 2019
🧒O (Objective) = เป้าหมาย (หรือ ความฝัน)
* ดูแลฟีนิกซ์ให้มีพัฒนาการด้านร่างกายตามเกณฑ์มาตรฐาน /มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารที่ดี
🧒KR (Key Results) = สิ่งที่วัดความสำเร็จ หรือ ตัวชี้วัดที่แสดงว่าเราบรรลุเป้าหมาย
🌟*1.(27เดือน) มาตรฐานเด็กผู้ชาย - ส่วนสูง 95ซม. น้ำหนัก 13กก.
(ปัจุบันฟีนิกซ์มีส่วนสูง 95ซม. น้ำหนัก 14.3กก.
.... ถือว่า KR ข้อนี้ผ่านไปอย่างฉิวเฉียดครับ ✅)
🌟*2.ร้องเพลงตั้งแต่ต้นจนจบ อย่างน้อย 4เพลง
(ปัจจุบันฟีนิกซ์ร้องเพลงได้มากกว่า 4เพลงแล้วครับ
ถึงจะร้องไม่ค่อยชัดก็เถอะ.... ก็ถือว่าผ่านครับ ✅)
🌟*3.เลิกใช้แพมเพริสและสามารถขับถ่ายเองได้
(ใส่กางเกงในในเวลากลางวัน ขับถ่ายเองได้ แต่เวลานอนกลางคืนและเวลาไปเที่ยวนั่งรถไกลๆยังคงต้องใส่แพมเพริสอยู่.... ข้อนี้ผมยังไม่ให้ผ่านครับ ✖)
❤สรุป
O (Objective) = เป้าหมาย (หรือ ความฝัน)
* ดูแลฟีนิกซ์ให้มีพัฒนาการด้านร่างกายตามเกณฑ์มาตรฐาน /มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารที่ดี
....ได้ผลลัพธ์ 68% ครับ
ผลลัพธ์น่าพึงพอใจอยู่มาก เพราะ OKR.ไม่จำเป็นต้องทำให้ได้ผลลัพธ์ 100% ขอแค่มีความคืบหน้านำพาเราไปสู่เป้าหมายหลักก็เพียงพอแล้ว
เป้าหมายหลักของครอบครัวเราคือ....
ให้ทุกคนในครอบครัวมีความสุขในการใช้ชีวิตบนโลกที่วุ่นวายใบนี้
ไว้ผมจะมาเล่า OKR.อื่นๆให้ฟังในคราวหน้านะครับ
เพราะ การประกาศเป้าหมายให้คนอื่นๆได้ทราบ
จะทำให้เรามีความพยายามและทำเป้าหมายให้สำเร็จได้เร็วขึ้น อาทิเช่น
* วิ่งอย่างน้อย 1,000 km./ปี ,ว่ายน้ำ 120,000 เมตร/ปี (Cadio respiratory Fitness)
* วิ่งFull Marathon 42km.ครั้งแรกในชีวิตสำเร็จ (Sports)
เป้าหมายของลูกกับภรรยา เข้าใกล้ความสำเร็จเข้าไปเรื่อยๆ
แต่เป้าหมายส่วนตัวของผมนั้นช่างดูห่างไกลซะเหลือเกิน 555 🤣👨👩👦👦❤
ช่องทางติดตามดูคลิปวีดีโอเพิ่มเติมทางเพจ FB. " Daddy Survivor "
ขอกำลังใจ ฝากติดตามด้วยนะครับ
ขอบคุณมากครับ 😀👪❤

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา