26 ส.ค. 2020 เวลา 08:49 • ศิลปะ & ออกแบบ
➡️ หุ่นกระบอก⬅️ 🔸แม้หน้าตาผมไม่เหมือนยักษ์ หรือดำเป็นนิลแบบท่านเปาฯ แต่ถ้าโอกาสได้จังหวะมี ผมไม่พลาด เรื่องโขน เรื่องงิ้ว ขนาดวิกลิเกงานวัดต่างจังหวัด ถ้าเห็นลิบๆ ผมยังขับรถเลี้ยวลงทุ่ง เข้าไปดู ซัก 5 นาที 10 นาทีก็ยังเอา
▪️
🔸การแสดงหน้าแสงไฟพวกนี้ ต่างชนิดก็ต่างแบบ แต่ที่เหมือนกันทุกแบบ คือใส่คติ แทรกคุณธรรมไว้ทุกการแสดง คือทำดีต้องได้ดี ธรรมย่อมชนะอธรรม คนเก่งคนกล้าที่สุจริต จะประสบความสำเร็จ และทุกความสำเร็จของคนหนึ่ง จะต้องมีที่ปรึกษา (พระฤษี) และกำลังใจ (นางเอก) ดีๆ คอยเคียงข้างเสมอ
1
▪️
🔸หนหนึ่งเมื่อถูกชวนให้มาชมอุปรากร ที่ยากจะหาชมได้อย่าง การเชิดหุ่นกระบอก โดย อจ.จักรพันธุ์ โปษณกฤต ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ที่รู้กันทั้งประเทศว่า นี่คือเบอร์หนึ่ง ผมย่อมไม่พลาดแน่นอน.
🔸"หุ่นกระบอกและการเชิด" เป็นมหรสพประเภทแรกๆ ของมนุษย์เรา ที่มีไว้คอยสร้างความบันเทิง ตั้งแต่ยังอาศัยกันอยู่ในถ้ำ สืบทอดกันมา จนถึงยุคหมู่บ้าน และชุมชนเมือง
▪️
🔸เรื่องที่นำมาเล่น ก็จากประสบการณ์ของคนแก่เฒ่า จับพลิกเพลงสิ่งที่ตัวเอง อยากจะปลูกฝัง ให้กับเด็กเล็กคนรุ่นใหม่ ก่อนที่เรื่องราว จะไหลร่วมทางไปกับกองคาราวานการค้า ตัดโน่นเติมนี่ ผสมผสานในแต่ละท้องถิ่นจนกลมกลืน
🔸หุ่นกระบอกนั้น ทำเล่นกันทั่วโลก จะริมแม่น้ำ ติดทะเล หรือหมู่บ้านบนภูเขา เรื่องราวก็ผันไปตามถิ่นที่อยู่ ยุคแรกก็ทำหุ่นกันแบบง่ายๆ เอาไม้มาเหลา สลักโค้งเว้าพอให้รู้เป็นหน้าตา และเอาแสงเงากองไฟเข้าช่วย เป็นแบบ Shadow Puppet
▪️
▪️
🔸ตัวแสดงยุคบุกเบิกจะเป็นสัตว์ มีทั้งมังกร ช้าง ม้า วัว ควายสารพัดตามบท ตามอุปนิสัย โดยสุนัขจิ้งจอก จะถูกเชิญให้เป็นตัวร้ายอยู่แทบจะทุกเรื่อง จนสุดท้ายก็มีการแกะไม้ ให้เป็นรูปคนขึ้น เมื่อมนุษย์เราเริ่มอยากจะออกสื่อ ลงเล่นหน้าจอ เป็นอัศวินมาปราบมังกรบ้าง
▪️
🔸จากหุ่นกระบอกท่อนไม้ ก็พัฒนามาเป็นหุ่นชักหุ่นสาย ที่มีกลไก เสื้อผ้าก็เย็บปักบรรจง ให้เหมือนจริง ... "หุ่นกระบอกสายฝรั่ง" ร้อยทั้งร้อย ต้องคิดถึงการผจญภัยของ “Pinocchio” กันแน่ๆ เพราะเรื่องของเจ้าหุ่นกระบอกไม้ ที่กลายร่างมามีชีวิตได้นี้ ให้คติสอนใจเด็กซุกซนทั่วโลกนานเกือบ 150 ปี
▪️
🔸"สายเอเชีย" เรา การหุ่นชนิดเป็นเรื่องราวใหญ่โต มีผู้คนตีตั๋วเข้าชม คงไม่พ้นของจีน ตัวหุ่นถูกตบแต่งด้วยเครื่องทรงครบชุด เน้นเรื่องราวการผจญภัยของผู้กล้า ต่อสู้ผดุงความยุติธรรม สีสันที่ปรากฎบนใบหน้าหุ่น จะเป็นตัวกำหนด อุปนิสัยของตัวหุ่นไปด้วย หน้าตาสีแดงคือทหารเอกห้าวหาญ ส่วนใบหน้าสีดำ คือตัวแทนความของมั่นคงและอ่อนโยน
▪️
🔸ส่วนหุ่นกระบอก ที่ได้รับการยอมรับว่า มีพัฒนาการยอดเยี่ยมที่สุด จนเป็นต้นแบบของหุ่นกระบอกทั่วโลก มานาน 500 ปี คือหุ่นกระบอก “Bunraku” จาก Osaka ซึ่งชักให้ขยับเขยื้อน ด้วยระบบกลไกที่ใกล้เคียงกับคนมากที่สุด โดยเฉพาะดวงตาที่ขยับกระพริบ และปากที่ขยับพูดเสมือนจริง โดยมีกลองโบราณญี่ปุ่น “ไตกุ” ตีโหมโรงให้สนุกเร้าใจระหว่างการแสดง
▪️ Bunraku ▪️
🔸เอกมัย - วันอาทิตย์ : มูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ...คุณูปการของ "อจ.จักรพันธุ์" นั้น คงไม่ต้องขยายความนัก ลำพังการเป็นลูกศิษย์ของ "อจ.ศิลป์ พีระศรี" ตั้งแต่เรียนมัธยม (วชิราวุธ) ก็นับว่าอัจฉริยะแล้ว เมื่อได้รับการเชิดชูให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ จิตรกรรม ก็ยิ่งใหญ่เข้าอีก แต่การถูกยกย่องว่า นี่คือ 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปี ของกรุงรัตนโกสินทร์นั้น จะมีซักกี่คน ที่จะได้รับการยกย่องขนาดนี้
🔸
🔸“อจ.จักรพันธุ์” ได้แรงบัลดาลใจของการเชิดหุ่นพวกนี้ จากการเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง ในการซ่อมหุ่นที่ชำรุดทรุดโทรมของวังหน้า ซึ่งนอกใจรักและทุนที่มีการสนับสนุน ยังต้องใช้ฝีมือช่างที่มีความพิถีพิถัน และเป็นระดับชั้นครูจริงๆ
🔸ระหว่างเส้นทาง “อจ.จักรพันธุ์” ยังศึกษาข้อมูล จนได้เป็นผู้ที่มีความรู้ เข้าใจทั้งขั้นตอน รวมถึงกลไกของหุ่นจนแตกฉาน และกว่า 30 ปีที่คลุกคลี ศึกษาซ่อมสร้าง "หุ่นวังหน้า" เหล่านี้ไว้อย่างวิจิตรบรรจง ในที่สุดหุ่นทุกตัว ก็ได้รับการชุบชีวิต ให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกหน
▪️
🔸เรื่อง “ตะเลงพ่าย” ที่คณะหุ่นกระบอก ของ “อจ.จักรพันธุ์” นำมาซ้อมแสดงนี้ เป็นโครงเรื่องเดิมจาก “ลิลิตตะเลงพ่าย” ของ “กรมพระปรมานุชิตชิโนรส” เป็นงานโคลงกลอน ที่ประพันธ์มาตั้งแต่รัชกาลที่ 3 ส่วนงาน “ตะเลงพ่าย” ของ อจ.จักรพันธุ์ ก็เป็น เรื่องเก่าอันเดียวกัน แต่แต่งกลอนบรรจุเข้าไปใหม่ โดย “อ.วัลลภิศร์ สดประเสริฐ” ช่างเอกศิลปินคู่บุญของ อจ.จักรพันธุ์.
🔸4 ชั่วโมงเศษของการแสดง นับว่าเป็นบุญตาที่ได้เห็น ทั้งกับหุ่นแสนสวย และการขับเห่อ่านกลอนตลอดการแสดง ที่สดุดีวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระนเรศวรฯ
▪️
▪️
🔸สุดท้ายต้องขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงสุด ต่อ “อจ.จักรพันธุ์ โปษณกฤต” ที่สละเวลาอันมีค่า ให้ได้ถ่ายรูปกับท่านอย่างสุขใจ และยังต้องกราบท่านด้วยหัวใจ ที่สู้อนุรักษ์มรดกสำคัญนี้ไว้ เป็นสมบัติคู่ไว้ให้แผ่นดิน
▪️
🏵️ ปัจจุบัน : อจ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต มีสุขภาพไม่เอื้ออำนวย ต่อการนำแสดงด้วยตัวเองมานานหลายปี การซ้อมหุ่นตะเลงพ่าย จึงไม่มีการซ้อม - แสดงมาระยะเวลานานแล้ว
🔸 หมายเหตุ "หุ่นกระบอก" เป็นหนึ่งในกลุ่มการชัก - เชิดและเล่นแสงเงา ซึ่งหลักๆของกลุ่มเชิดหุ่นประเภทนี้ ในบ้านเรามีอยู่คือ...
▪️ "หนังใหญ่" ▪️
▪️หนังใหญ่ - มีมานานจากสุโขทัย ทำจากหนังควาย เขียนรูป ฉลุลาย และเชื่อว่าหนังใหญ่นี่เอง คือต้นแบบที่มาของการแสดงของ “โขน” ที่ใช้ตัวคนเป็นคนเล่นจริง แทนการเชิดแผ่นหนังแบบเดิม▪️
▪️
▪️ “หุ่นหลวง”▪️
▪️หุ่นหลวง เป็นหุ่นขนาดใหญ่ จึงใช้ไม้ที่มีน้ำหนักเบาในการทำ หุ่นหลวงเป็นหุ่นชนิดครบมิติ คล้ายคนจริง มีมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์ฯ เป็นศิลปะระดับสูง ประดับสร้อยของล้ำค่า ใช้แสดงให้แขกบ้านแขกเมืองชม ปัจจุบันการแสดงนี้ หายไปนานแล้ว▪️
▪️
▪️ “หุ่นกระบอก”▪️
▪️หุ่นกระบอก เป็นชนิดที่เราคุ้นเคยที่สุด เล่นกันทั่วไปได้อิทธิพลจากหุ่นกระบอกของชาวจีนไหหลำ ที่ออกแสดงเป็นมหรสพทางภาคใต้ จนเป็นที่รู้จักไปทั่ว และเมื่อมหาดเล็กของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ นำมาดัดแปลงอย่างวิจิตรบรรจง ก็เป็นที่แพร่หลาย จนมีการตั้งคณะหุ่นกระบอก ขึ้นในพระนครอย่างเป็นเรื่องเป็นราว▪️
▪️
▪️
☀️ฃ▪️
✔️ ภาพถ่ายต่างกรรมต่างวาระ
📸 All Photos by Tui Kajondej
✔️ ติดตาม - ติชม ด้วยความยินดี
🚫 ข้อมูล - พิพิธภัณฑ์แห่งชาติพระนคร / ตามรอยไทยพลสีห์ / Osaka Museum of History / Harmony World Puppet Carnival Bangkok. และขอบคุณเป็นพิเศษ "คุณอุ๋ย เฉลิมเกียรติ"
⭕ Performance Art
⭕ Happy Birthday ลูฟร์
☀️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา