26 ส.ค. 2020 เวลา 13:52 • ธุรกิจ
กว่าจะมาเป็น Ant Financial (1)
เพื่อนๆที่ทำการค้ากับจีน นำเข้า สินค้าจาก 1688 หรือ Taobao มาขาย คงรู้จัก Alipay เป็นอย่างดี ซึ่งหลายๆคนก็คงคิดว่า เจ้าของผลิตภัณฑ์ Alipay ต้องเป็นบริษัทแม่อย่าง Alibaba เป็นแน่
อย่างไรก็ตาม Alipay นั้น เป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้บริษัท ที่ชื่อว่า Ant Financial เอง ซึ่ง Alibaba กลับไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Ant Financial แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของตัวจริง ไม่ใช่ใครอื่น แต่ยังเป็นผู้ก่อตั้ง อย่างแจ๊ค หม่า และผองเพื่อนนั่นเอง ที่ถือหุ้นจนถึงวันนี้ ก็เหมือนได้โบนัสเพิ่มอีกก้อนใหญ่
ล่าสุดบริษัท Ant Financial กำลังจะระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ IPO โดยคาดว่ามูลค่ากิจการจะพุ่งขึ้นไปสูงกว่า 6 ล้านล้านบาท หรือบริษัทเดียว มูลค่าเกิน 1 ใน 3 ของตลาดหุ้นไทยทั้งตลาด
1
มีคำกล่าวว่า Ant Financial คือ “ยอดมงกุฎ” หรือ “Crown Jewel” ของแจ๊ค หม่า ก็คงจะไม่ผิด ซึ่งบทความนี้เราไปดูกันว่า แจ๊ค หม่า ปลุกปั้น Ant Financial ขึ้นมาจนถึงวันนี้ได้อย่างไร
หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกันเลย
=====================
ผู้นำเข้า ส่งออก หาขนส่งมืออาชีพ
นึกถึง ZUPPORTS
=====================
“หากมีใครที่จะต้องเข้าคุก คนนั้นก็คือผม” แจ๊ค หม่า
Cr. AP
ปี ค.ศ. 2003 บริษัทยักษ์ใหญ่ ด้านการค้าปลีกออนไลน์อย่าง e-bay ประกาศเข้าตลาดจีน ทำให้ แจ็ค หม่า ที่ตอนนั้นกำลังปั้นธุรกิจเว็บไซต์ B2B อย่าง Alibaba จำเป็นที่จะต้องตอบโต้…
เพื่อให้มั่นใจว่า ทีมงานที่จะสร้างแพลตฟอร์มใหม่ จะสามารถสร้างได้ทันเวลา และไม่ให้ความลับรั่วไหลไปถึงคู่แข่ง แจ๊ค หม่า จึงจัดทีมเฉพาะกิจ ไปสุมหัวอยู่ที่อพาร์ทเมนต์ของแจ๊ค ในเมืองหางโจว
ใช้เวลาไม่นานก็สามารถสร้างแพลตฟอร์ม Taobao ออกมา โดยมีรูปแบบธุรกิจ ทั้งแบบ C2C คือ Customer to Customer และ B2C คือ Business to Customer
จุดเด่นที่ Taobao ใช้รุก e-bay ก็คือ การไม่เก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ขาย ทำให้มีผู้ขายเข้ามาในระบบมากมาย อย่างไรก็ตาม แจ๊ค กลับพบปัญหาว่ามีการ Chat คุยกันระหว่าง ผู้ซื้อ ผู้ขาย มากก็จริง แต่การปิดการขายกลับไม่สูงอย่างที่คิด
สาเหตุหนึ่งก็คือ ย้อนไปกว่า 15 ปีที่แล้ว ผู้ซื้อที่ตกลงกับผู้ขายได้แล้ว ยังต้องไปเจอหน้ากัน เพื่อจ่ายเงิน และรับสินค้า ซึ่งเรียกได้ว่าหากผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ได้อยู่ใกล้ๆ กันแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะมาเจอกัน
หลังจากที่ทีม Taobao ได้ “เรียนรู้วิชา” จาก Paypal ซึ่งเป็นระบบรับจ่ายเงินออนไลน์ของสหรัฐฯ ก็เลย ได้นำระบบ ”เอสโครว์” Escrow หรือการคุ้มครองเงินมาใช้ โดยผู้ซื้อจะโอนเงิน เข้าบัญชี ของ Taobao หลังจากนั้น พอผู้ซื้อได้รับสินค้าเรียบร้อย ระบบก็จะจ่ายเงินไปให้ผู้ขาย
อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบ Escrow มีความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย เนื่องจาก Taobao เอง ก็ไม่ได้มีใบอนุญาตใดๆ ที่จะทำกิจกรรมรับฝากเงิน เพื่อโอนเงินให้คนขายต่อ แต่แจ๊ค หม่า เอง ก็ยังยืนกรานที่จะให้บริการลูกค้าในทันที โดยหากมีใครต้องติดคุก แจ๊คก็พร้อมที่จะไปติดคุกเอง...
ระบบ Alipay ได้ถือกำเนิดตั้งแต่ ตอนนั้น....
<ยอดมงกุฎ ของแจ๊ค หม่า>
แน่นอนว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ไหน ที่ perfect ตั้งแต่ครั้งแรก โดยการมาของ Alipay ทำให้การรับจ่ายเงินเพิ่มปริมาณได้สูงขึ้นมาก แต่สิ่งที่ตามมาก็คือ “ความผิดพลาด” โดยจากการที่ Taobao ยังผูกกับระบบธนาคารแบบดั้งเดิม ทำให้ยังต้องมีคนที่คอย ทำบัญชีแบบแมนวล คือ โอนเงินทีละรายการเข้าบัญชีผู้ขาย นั่นทำให้ Alibaba ร่วมมือกับธนาคารของจีน เพื่อจะสร้างระบบรับจ่ายเงินทางออนไลน์
1
และดูเหมือน Alibaba จะโชคดี ที่ธนาคารใหญ่ๆ ของจีน ต่างให้ความร่วมมือ ช่วยสร้างระบบการรับจ่ายเงินออนไลน์ได้สำเร็จ
หลังจากที่ประสบความสำเร็จ ในการใช้ Model Taobao/Alipay จนทำให้แจ๊ค หม่า สามารถเอาชนะ e-bay อย่างหมดจด จน e-bay ต้องทิ้งตลาดจีนไปในปี ค.ค. 2006
e-bay China
หลังจากนั้น Taobao ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยมี Alipay เป็นหัวใจสำคัญในการรับมือกับเงิน ช่วงปี ค.ศ. 2011 Alipay รับมือกับเงินในระบบมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาทต่อวัน
มีการประเมินในช่วงนั้นว่า Alipay มีมูลค่าสูงกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือหากคิดว่า Alipay คือ สตาร์ทอัพ ก็คือ ระดับยูนิคอร์น
แต่ช่วง เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 กลับพบว่ามีการถ่ายโอนสินทรัพย์ของ Alipay ออกจากบริษัท Alibaba ไปเมื่อปีก่อนหน้า โดยบริษัท Alipay ถูกควบคุมโดยบริษัทของแจ็คหม่า และผู้ร่วมก่อตั้ง Alibaba
นักลงทุนใน Alibaba ต่างมึนงง ว่ามันเกิดอะไรขึ้น ว่าอยู่ๆ สินทรัพย์มูลค่ามากกว่า 3 หมื่นล้านบาท หายไปได้ยังไง??
บริษัท Yahoo และ Softbank ที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน Alibaba ต่างก็บอกกับนักลงทุนรายอื่น ว่าเพิ่งรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นเหมือนกัน
โดยแจ๊ค หม่า เอง ก็ยืนยันว่า ทุกอย่างที่เขาทำนั้น ถูกกฏหมาย และโปร่งใส 100%
เหตุผลหลักก็คือ รัฐบาลจีนกำหนดให้บริษัทที่ทำธุรกิจการเงินอย่าง Alipay ต้องมีผู้ถือหุ้น 100% เป็นคนจีน ทำให้ Alipay ไม่สามารถอยู่ภายใต้ Alibaba ได้อีกต่อไป ต้องถ่ายโอนสินทรัพย์ มาให้บริษัทใหม่ ที่ถือหุ้นโดยคนจีน 100% ซึ่งก็คือ บริษัทของแจ๊ค หม่า และผองเพื่อนนั่นเอง
เรื่องราวดูเหมือนจะใหญ่โต แต่สุดท้าย ฝ่ายนักลงทุน และผู้ก่อตั้ง ก็ตกลงผลประโยชน์กันลงตัว
Alibaba และ Alipay เดินหน้าลุยธุรกิจต่อ แต่เส้นทางก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบปี ค.ศ. 2012 WeChat ที่ตอนนั้นมีผู้ใช้งานรายวันกว่า 100 ล้านราย ก็ได้ตัดสินใจบุกตลาดจ่ายเงินออนไลน์
WeChat Pay ออกฟีเจอร์ แจกเงินอั่งเปา วันตุรษจีน แบบ ออนไลน์ผ่าน WeChat เป็นการตบหน้า Alipay อย่างแรง แต่ Alipay ก็ต้องจำยอมไปก่อน เพราะตลาดโซเชียล สู้ WeChat ไม่ได้จริงๆ
Cr. WeChatBlog
Alipay จะตอบโต้อย่างไร ติดตามต่อ ตอนต่อไปนะครับ ^^
ประชาสัมพันธ์:
สำหรับผู้ประกอบการ ที่กำลังปวดหัวเรื่องการนำเข้า ส่งออก อยากลดต้นทุนขนส่ง ลดข้อผิดพลาดด้านเอกสาร โดยใช้เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยงาน ติดต่อได้เลยที่
ที่มา:
Alibaba: The House That Jack Ma Built
❤️ อ่านบทความย้อนหลังได้ที่
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา