4 ต.ค. 2020 เวลา 12:42 • ธุรกิจ
ทำไมจีน ถึงอ้าแขนรับ Tesla?
ยอมให้ผลิตรถ EV ขายแข่งกับบริษัทจีน
หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า บริษัท Tesla ที่จีนนั้น มีความแตกต่างจากบริษัทต่างชาติ บริษัทอื่นๆ ในจีน ไม่ว่าจะเป็น BMW, หรือ GM โดยบริษัท Tesla ที่จีนนั้น เป็นบริษัทอเมริกัน 100% ไม่ได้เป็นบริษัทร่วมทุนกับบริษัทจีน ใดๆ ทั้งสิ้น
ซึ่งด้วยโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท Tesla ในจีน แบบนี้ ก็อาจกล่าวได้ว่า ความเสี่ยงในการถูกรัฐบาลจีน ลอกเลียนแบบเทคโนโลยี ก็จะลดน้อยลงไปมาก
แล้วทีนี้ ทำไมรัฐบาลจีน ถึงยังยอม ให้อีลอน มัสก์ เจรจาได้ดีลที่ได้เปรียบแบบนี้ คือ ตั้งโรงงานโดยถือหุ้นเอง 100% แถมยังได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ครบถ้วนแบบบริษัทจีน Tesla สามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในจีน แล้วขายในประเทศจีนได้สบายๆ
โดยที่บริษัทจีน ที่ทำรถยนต์ไฟฟ้า ต่างโอดครวญ และกังวลถึงการที่จีน ปล่อยเสือเข้ามาในป่า (จีน) แบบนี้
Cr. Tesla
ซึ่งแอดมินได้มีโอกาสอ่านบทวิเคราะห์ของทาง Asia Nikkei เกี่ยวกับประเด็นนี้ พออ่านแล้วก็เป็นการชี้ให้เห็นถึงแนวคิดของรัฐบาลจีนได้ดีมากๆ เลยทีเดียว
บทวิเคราะห์ดังกล่าว ระบุว่า รัฐบาลจีนนั้น มีแนวคิดอย่างหนึ่งก็คือ “catfish effect” ซึ่ง “catfish” แปลตรงตัวคือ ปลาจำพวกปลากด หรือปลาดุก, “effect” ก็คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมกันก็คือ ผลกระทบที่เกิดจาก (การปล่อย) ปลาดุก
แล้วกลยุทธ์การปล่อยปลาดุก ลงไปในบ่อน้ำ “catfish effect” มันจะทำให้เกิดผลอย่างไร??
หากพร้อมแล้ว เราไปติดตามกันเลย…
=====================
ลดต้นทุนนำเข้า-ส่งออก คิดถึง ZUPPORTS
=====================
1) กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ที่ประเทศนอร์เวย์ ชาวประมงที่ออกหาปลาซาร์ดีน (sardine) พอได้ปลามาแล้ว ก็จะใส่ปลาไว้ในกระชัง แต่บ่อยครั้งพวกเขากลับพบว่า ปลาซาร์ดีนบางส่วนว่ายไปว่ายมาในกระชัง ว่ายซักพักก็อยู่นิ่งๆ แล้วก็ตายไปซะเยอะ ก่อนที่เรือจะถึงฝั่ง
2) ปลาซาร์ดีนในตลาดนั้น แบ่งเป็น 2 ชนิด ชนิดแรกคือ ปลาที่ตายขณะถูกขังในกระชัง โดยปลาแบบนี้ราคาจะถูก ส่วนชนิดที่สอง คือ ปลาซาร์ดีนแบบเป็นๆ ซึ่งลูกค้าชื่นชอบมากๆ ราคาแพงกว่าปลาที่ตายแล้วเป็นสิบเท่า ลูกค้าแย่งกันซื้อ
3) และแล้วก็มีชาวประมงหัวใสคนหนึ่ง ที่คิดแผนอันแยบยลออก โดยการใส่ปลาดุก(catfish) นักล่าปลาซาร์ดีน เข้าไปในกระชังที่มีปลาซาร์ดีนอยู่
พอเจ้าปลาซาร์ดีน เห็นนักล่าลงมาอยู่ในน้ำ ก็อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องรีบว่ายหนีปลาดุก ผลก็คือ ถึงแม้จะมีปลาซาร์ดีนบางส่วนที่ถูกปลาดุก กินไป แต่กลับพบว่าปลาซาร์ดีนที่เหลือแบบเป็นๆ มีเยอะกว่าตอนที่ไม่ได้ใส่ปลาดุกลงน้ำอย่างมาก
4) รัฐบาลจีนเอง อาจกำลังมอง Tesla เป็นบริษัท “Apple” แห่งวงการรถยนต์ โดยการที่ยอมให้คู่แข่งที่แข็งแกร่ง และมีเทคโนโลยีขั้นสูง อย่าง Tesla มาลงสนามแข่งขันในประเทศจีน อาจทำให้บริษัทต่างๆ ในจีนพัฒนาตัวเองขึ้นมา จนสามารถแข่งกับ Tesla ได้ในที่สุด
Cr. Electrec
5) เหมือนการที่ Apple มีฐานการผลิตและประกอบสินค้าในจีน ก็ทำให้บริษัทมือถือจีนอย่าง Huawei, Xiaomi, Oppo, Vivo และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถก้าวขึ้นมาตีตลาดมือถือในระดับโลก ได้แบบทุกวันนี้ และยังมีบริษัทผู้ผลิตในจีนที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนระดับโลก
6) ตัวอย่างเช่นบริษัท Luxshare-ICT หนึ่งในบริษัทจีน ที่บริษัท Apple ทำสัญญาจ้างผลิตชิ้นส่วนมือถือ โดยเฉพาะ อุปกรณ์หูฟังไร้สาย Airpods ซึ่ง Luxshare-ICT ก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทชั้นนำ เทียบเคียงกับ Foxconn แห่งไต้หวัน
7) นอกจากนี้การที่จีน เปิดประตู ให้ Tesla ยังทำให้บริษัทค่ายรถยนต์ต่างชาติ อื่นๆ เร่งเข้ามาลงทุนฐานการผลิตในจีนเพิ่ม อย่างเช่นบริษัท Volkswagen ที่ประกาศลงทุนกว่า 5 แสนล้านบาท ในอีก 4 ปีข้างหน้าในจีน เพื่อแย่งชิงตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างจีน
8) ทาง McKinsey คาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในจีน ในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.5 ล้านคัน ต่อปี จากยอดขายที่ 1.2 ล้านคันในปีที่แล้ว (แค่พยากรณ์ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า ก็เยอะกว่ารถยนต์ทั้งหมดที่ไทยเราผลิตทั้งปีแล้ว)
จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์ “catfish effect” คือ การยอมให้คู่แข่งตัวฉกาจเข้ามาแข่งขัน หรือทำให้เกิดการแข่งขันในระดับที่เหมาะสม ถือเป็นการสร้างแรงกระตุ้น ให้บริษัทต่างๆ เร่งพัฒนาดึงศักยภาพที่ซ้อนอยู่ออกมา เพื่อให้อยู่รอดในสนามแข่งขันต่อไปได้
รัฐบาลจีนเองมองบริษัทอเมริกัน เป็นแรงกระตุ้นชั้นดี ที่จะผลักดันบริษัทจีนต่างๆ ให้สามารถรีดศักยภาพออกมา จนสามารถขึ้นมาเทียบชั้นแข่งกับบริษัทอเมริกันได้
Cr. Tesla
ซึ่งเรื่องนี้หากลองคิดดู ก็ให้ข้อคิดกับการดำเนินชีวิตเหมือนกัน คือ เมื่อเจอแรงกดกัน หากอยากมีชีวิตรอดอยู่ต่อไปได้ คนเราก็ต้องขยันให้มากขึ้น
โดยปัญหาเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ ที่กำลังจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จากภาวะโควิดลากยาวแบบนี้ หลายๆ อย่างหยุดชะงัก…
หากใครทำตัวเป็น “ปลาซาร์ดีนที่ว่าย ช้าๆ นิ่งๆ” ก็คงจะตายในไม่ช้า
แต่หากใครมองโควิด เป็น “ปลาแคตพิช หรือ ปลาดุก” แล้วพยายามว่ายน้ำ “สู้”ก็อาจอยู่รอด…ต่อไปได้…
หากบทความมีประโยชน์ กดไลค์ และแชร์ให้เพื่อนๆ ได้เลย
=====================
ลดต้นทุนนำเข้า-ส่งออก คิดถึง ZUPPORTS
=====================
พิเศษ!! สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาเทคโนโลยี ที่จะช่วยคุณบริหารการนำเข้า-ส่งออก แบบมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็น
1) การเลือกและจองเฟรท
2) การติดตามสถานะเอกสาร และสินค้า
3) ตรวจสอบค่าใช้จ่าย
ผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิทดลองใช้โปรแกรมฟรี ได้เลยวันนี้ที่
❤️ อ่านบทความย้อนหลังได้ที่
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า marketplace: ใครมีสินค้าดีๆ โพสขายกันได้เลย
#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า #นำเข้า #ส่งออก
#ZUPPORTS

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา