Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเรื่องมาให้คุณ
•
ติดตาม
31 ส.ค. 2020 เวลา 14:22 • สิ่งแวดล้อม
นำเรื่อง สัตว์สงวน มาให้คุณ
EP.10 นกแต้วแร้วท้องดำ
(ชื่อภาษาอังกฤษ: Black-breasted pitta)
(ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Pitta gurneyi)
เป็นนกที่มีขนาดเล็กประมาณ 21-22 เซนติเมตร มีความสวยงาม ตัวป้อม น่ารักโดยจัดเป็นนกที่สวยงาม 1 ใน 30 ของโลก
ตัวเมียจะมีลักษณะหัว และท้ายทอยสีน้ำตาลเหลืองมีแถบคาดตาสีดำ และขนหูสีดำ คอ อก และท้อง มีสีขาวครีมอมเหลือง และมีแถบคาดสั้นสีน้ำตาลดำ ปีกหลังสีน้ำตาลแดง หางสีฟ้าอ่อน
ตัวผู้จะมีลักษณะหัว และท้ายถอยสีน้ำเงินแกมฟ้าสดใสตัดกับหน้าผากสีดำสนิท ไปจนถึงก้น ข้างลำตัวสีเหลือง และมีแถบสีน้ำตาลดำสั้นๆ ขวางบริเวณสีข้าง ปลายปีกแถบสีขาวจางๆ และหลังสีน้ำตาลแดง มีหางสีฟ้าอ่อน
แรกเกิดนกชนิดนี้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องพึ่งพาพ่อ แม่ หลังจากนั้นจะมีขนหลอดบนหัว ปีก และหลัง ปากสีส้ม จนประมาณ 15 วัน ขนจะหลุดออกหมดแต่สีของลูกนกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ยังไม่สามารถแยกเพศได้
นกชนิดนี้อาศัยอยู่ในป่าดิบที่ราบต่ำ ซึ่งมีระดับความสูงไม่เกิน 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบตามที่ราบใกล้ร่องน้ำหรือลำธารที่ชื้นแฉะ ไม่ชอบอยู่บริเวณที่มีไม้พื้นล่างขึ้นรกทึบ
นกแต้วแร้วท้องดำจะหากินด้วยการกระโดดหาแมลงบนพื้นดินกินหรืออาจขุดไส้เดือนดินขึ้นมากิน บางครั้งอาจจับกบ และสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กด้วย โดยเฉพาะในช่วงมีลูกอ่อน
นกชนิดนี้มีการร้องจับคู่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม โดยปกติจะร้อง ทริบ-ทริบ หรือวิบ-วิบ ตัวผู้มักเป็นฝ่ายร้อง เมื่อมีอันตรายเข้าทาใกล้รัศมีตัวผู้และตัวเมียจะร้องสื่อสารกัน ฮุ-ฮุก ในระยะไม่เกิน 10-15 เมตร
นกแต้วแร้วท้องดำมีการสร้างรังลักษณะกลมคล้ายลูกบอล โดยสร้างจากเศษกิ่งไม้ มักทำรังบนต้นไม้ที่มีหนามแหลมคม ออกไข่เฉลี่ย 3-4 ฟอง/รัง ฟักไข่ประมาณ 14-15 วัน ทั้งตัวผู้ และตัวเมียช่วยกันฟักในช่วงกลางวัน ส่วนกลางคืนตัวเมียจะฟัก ซึ่งแม่นกจะกกอยู่ประมาณ 5 วัน เพียงแต่จะนำเอาอาหารมาให้ เมื่อขาเริ่มแข็งจะยืดตัวออกมาที่ปากรังโดยแม่นกและพ่อนกจะเลี้ยงลูกประมาณ 14-16 วัน แต่ละตัวจะออกจากรังไม่พร้อมกัน
ทั่วโลกจะพบได้เพียง 2 พื้นที่ คือบริเวณทางภาคใต้ของประเทศไทย และเทือกเขาตะนาวศรีตอนใต้ประเทศพม่า ปัจจุบันในเมืองไทยพบการกระจายของนกบริเวณที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประบางคราม กระบี่) โดยใน พ.ศ. 2547 พบประมาณ 20 คู่
ในปัจจุบันนกแต้วแร้วท้องดำมีสถานภาพเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธ์จากในอดีตเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง
โดยมีปัจจัยคุกคาม ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลาย ทำให้กระจายตัวเป็นหย่อมๆ อัตราความสำเร็จในการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติจึงต่ำลง เนื่องจากมีศัตรูทางธรรมชาติ และยังพบปัญหาทางสภาพอากาศ และมีชาวบ้านมาใช้ประโยชน์พื้นที่ในการหาของป่า นอกจากนี้ยังมีนักท่องเที่ยวหรือนักดูนกบางส่วนรบกวน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของนกชนิดนี้
วันนี้มาดึกหน่อยนะครับ พอดีเดินทางมาเที่ยวกับครอบครัวที่ต่างจังหวัด เผื่อใครไม่มีอะไรอ่านยามดึก ก็เข้ามาอ่านกันได้นะครับ 😁
EP.11 จะมาเร็วๆนี้ คอยติดตามกันนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ
หวังว่าทุกท่านจะได้รับสาระความรู้ไม่มากก็น้อย
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ ติชม แนะนำกันได้ครับ
หากคุณชอบ ขอให้กดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจสนับสนุนเพจเล็กๆ เพจนี้ด้วยนะครับ
แล้วกลับมาพบกันใหม่
นำเรื่องมาให้คุณ ขอม้าไปก่อน แฮร่~ ลาไปก่อน
ด้วยภาพของนกแต้วแร้วท้องดำ 🤗🐦
บันทึก
7
2
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นำเรื่อง สัตว์สงวน มาให้คุณ
7
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย