Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเรื่องมาให้คุณ
•
ติดตาม
4 ก.ย. 2020 เวลา 03:42 • สิ่งแวดล้อม
นำเรื่อง สัตว์สงวน มาให้คุณ
EP.11 นกกระเรียนไทย
(ชื่อภาษาอังกฤษ: Eastern Sarus Crane)
(ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Antigone antigone sharpii)
เป็นนกขนาดใหญ่ มีลำตัว และปีกสีเทา คอตอนบน และหัวเป็นหนังเปลือยสีแดงไม่มีขน ตรงกระหม่อมเป็นสีเทาหรือเขียว คอยาวเวลาบินคอจะเหยียดตรง ขนปลายปีกและขนคลุมขนปลายปีกสีดำ ขนคลุมขนปีกด้านล่างสีเทา ขนโคนปีกสีขาว ขายาวเป็นสีชมพู มีแผ่นขนหูสีเทา ม่านตาสีส้มแดง ปากแหลมสีดำแกมเทา นกวัยอ่อนมีปากสีค่อนข้างเหลืองที่ฐาน หัวสีน้ำตาลเทาหรือสีเนื้อปกคลุมด้วยขนนก
หนังเปลือยสีแดงบริเวณหัวจะแดงสดใสในช่วงฤดูผสมพันธุ์ หนังบริเวณนี้จะหยาบเป็นตะปุ่มตะป่ำ มีขนสีดำตรงข้างแก้ม และท้ายทอยบริเวณแคบๆ ทั้งสองเพศมีลักษณะ และสีคล้ายกัน
เพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมียเล็กน้อย ไม่มีความแตกต่างทางเพศอื่นที่ชัดเจนอีก นกกระเรียนไทยเพศผู้ในอินเดียมีขนาดสูงที่สุด คือประมาณ 200 ซม. ช่วงปีกยาว 250 ซม. ทำให้นกกระเรียนไทยเป็นนกที่บินได้ที่สูงที่สุดในโลก
ในชนิดย่อย antigone มีน้ำหนัก 6.8–7.8 กก. ขณะที่ sharpii มีน้ำหนักประมาณ 8.4 กก. โดยทั่วไปแล้วจะมีน้ำหนัก 5-12 กก. สูง 115-167 ซม.ช่วงปีกยาว 220-280 ซม. นกจากประเทศออสเตรเลียจะมีขนาดเล็กกว่านกจากเขตทางเหนือ
นกกระเรียนไทยมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างบนพื้นที่ราบลุ่มในประเทศอินเดียยาวตลอดจนแม่น้ำคงคาทางใต้ไปถึงแม่น้ำโคทาวารี ทางตะวันตกไปถึงชายฝั่งรัฐคุชราต เขตธาร์พาร์คาร์ของประเทศปากีสถาน และทางตะวันออกถึงรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐอัสสัม ไม่พบการขยายพันธุ์ในแคว้นปัญจาบมานานแล้ว แม้ว่าจะพบบ้างประปรายในฝั่งอินเดียในฤดูหนาว นกกระเรียนหาพบได้ยาก และมีจำนวนน้อยมากในรัฐเบงกอลตะวันตก และรัฐอัสสัง และไม่พบมานานแล้วในรัฐพิหาร ในประเทศเนปาล การกระจายพันธุ์จำกัดอยู่เพียงที่ราบลุ่มฝั่งตะวันตก ประชากรส่วนมากอยู่ในเขตรูปันเทหี กบิลพัสดุ์ และนวัลปราสี
มีประชากรสองกลุ่มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่แตกต่างกันคือ ประชากรตอนเหนืออยู่ในประเทศจีน และพม่า และประชากรตอนใต้อยู่ในกัมพูชา และเวียดนาม
นอกจากนั้น ยังเคยพบในประเทศไทย และทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์แต่ในทั้งสองประเทศสูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติ ในประเทศออสเตรเลียพบในบริเวณด้านเหนือของประเทศ และมีการอพยพไปยังบางพื้นที่
การกระจายพันธุ์ของนกกระเรียนไทยกำลังลดลง และประเทศอินเดียซึ่งมีพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ถูกทำลาย นกเหล่านี้จึงต้องอาศัยในนาข้าวในการเพิ่มจำนวน แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะพบนกกระเรียนในที่ราบลุ่ม แต่ก็มีรายงานว่าพบบนที่ราบสูงทางเหนือใน ฮาร์กิต ซาร์ และ คาฮัง ในรัฐแคชเมียร์ นอกการนี้นกกระเรียนยังขยายพันธุ์ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ เช่น ใกล้กับ พงดัม ในรัฐหิมาจัลประเทศ ที่ซึ่งประชากรนกกระเรียนอาจจะเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของการเพาะปลูกข้าวตามแหล่งกักเก็บน้ำ
นกกระเรียนจะกินสัตว์น้ำ พืชน้ำ สัตว์น้ำขนาดเล็ก แมลง เมล็ดพืช และข้าวเปลือกเป็นอาหารหลัก
นกกระเรียนมักอาศัยอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือนาข้าวที่ไม่ได้เพาะปลูกที่มีน้ำท่วมขัง (ในพื้นที่เรียกว่า khet-taavadi) สำหรับสร้างรัง การจับคู่ผสมพันธุ์มักจะเกิดในพื้นที่ชุ่มน้ำตามธรรมชาติมากกว่าแต่ก็ยังมีในนาข้าวหรือข้าวสาลีบ่อยๆ
นกกระเรียนจะจับคู่แบบผัวเดียว เมียเดียว ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ทำรังขนาดใหญ่ ด้วยกิ่งไม้ขัดสานกันวางไข่ครั้งละประมาณ 1-3 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ 31-34 วัน
นกกระเรียนไทยเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
สถานภาพปัจจุบันจัดเป็นสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว ประเทศไทยพบนกกระเรียนในธรรมชาติครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2511 ที่บริเวณชายแดนติดกับกัมพูชา
แต่ด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และมูลนิธิอนุรักษ์นกกระเรียนสากล (ICF) ได้ร่วมกันจัดทำโครงการนำนกกระเรียนคืนถิ่น (G. a. sharpii) ได้ร่วมกันเพาะเลี้ยงนกกระเรียนจนสามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติได้อีกครั้ง
ปัจจัยคุกคาม มาจากการที่ไข่ของนกกระเรียนไทยในรังโดนทำลายโดยอีกา ในประเทศออสเตรเลีย สัตว์นักล่า รวมถึงดิงโก และหมาจิ้งจอกแดง ขณะที่เหยี่ยวแดงมักจะกินไข่ การนำไข่ไปจากรังโดยเกษตรกร (เพื่อลดความเสียหายของพืชผล) และนำไปทำอาหาร
EP.12 จะมาเร็วๆนี้ คอยติดตามกันนะครับ
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ
หวังว่าทุกท่านจะได้รับสาระความรู้ไม่มากก็น้อย
หากมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ ติชม แนะนำกันได้ครับ
หากคุณชอบ ขอให้กดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจสนับสนุนเพจเล็กๆ เพจนี้ด้วยนะครับ
แล้วกลับมาพบกันใหม่
นำเรื่องมาให้คุณ ขอม้าไปก่อน แฮร่~ ลาไปก่อน
ด้วยภาพของนกกระเรียนไทย 🤗 🦩
บันทึก
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นำเรื่อง สัตว์สงวน มาให้คุณ
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย