Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธุรกิจและกฎหมาย by Kuroba
•
ติดตาม
31 ส.ค. 2020 เวลา 14:03 • การศึกษา
[ CHAPTER 36 ] หนี้สินของคู่สมรส อีกฝ่ายต้องร้วมรับผิดชอบหรือไม่ ?
ภาพจาก : google.com
• ใครที่กำลังอยากแต่งงานมีคู่สมรสต้องรู้ข้อกฎหมายส่วนนี้เป็นสำคัญครับ เพราะถือว่ามีประโยชน์ก่อนและหลังแต่งงานมากเลยทีเดียว 😂
• คู่แต่งงานมือใหม่ทั้งหลายน่าจะรู้อยู่แล้วว่า การเป็นสามีภรรยาหมายถึงการ เป็นหุ้นส่วนของชีวิตกันในทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทรัพย์สินเงินทองของทั้งคู่ ซึ่งเรียกว่า “สินสมรส”
( สินสมรส ) หมายถึง ทรัพย์สินที่มีความเป็นเจ้าของร่วมกัน ระหว่างสามีและภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว ดังนั้น ทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้รับมาหลังจากนั้นก็จะเป็นสมบัติของทั้งสามีและภรรยา ไม่สามารถ แยกออกจากกันให้กลายเป็นสินส่วนตัวได้ ยกเว้นแต่จะตกลงกันเป็น “สัญญาก่อนสมรส” ให้ชัดเจน
• ความแตกต่างของสินสมรสและสินส่วนตัว มีดังนี้
( สินส่วนตัว ) คือ ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนจดทะเบียนสมรส เช่น เงินฝาก บ้าน ที่ดิน เครื่องประดับ ของหมั้น ฯลฯ
( สินสมรส ) คือ ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรส เช่น เงินเดือน โบนัส ค่าเช่าหรือดอกเบี้ยที่ได้รับจากทรัพย์สินส่วนตัว รวมทั้งทรัพย์สินส่วนตัวและมรดกที่ระบุว่าเป็นสินสมรสตั้งแต่ตอนจดทะเบียนสมรส มรดกตกทอดที่ไม่ได้ระบุในพินัยกรรมว่าให้เป็นสินสมรส ก็จะถือว่าเป็นสินส่วนตัว
ภาพจาก : https://www.set.or.th/set/financialplanning
• เมื่อรู้ข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินของคู่สมรสแล้ว จึงมาเข้าประเด็นดังกล่าวที่ว่า " ภาระหนี้สินของสามีหรือภรรยา สร้างภาระหนี้สินในระหว่างที่อยู่กินด้วยกัน ฉันสามีภรรยา
หรือระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งในฐานะที่เป็นสามีหรือภรรยา หรือคู่สมรส โดยชอบด้วยกฎหมาย จะต้องร่วมรับผิดชอบในหนี้สินดังกล่าวนั้นหรือไม่ "
• ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามี หรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
(1) หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือน และจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
(2) หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
(3) หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
(4) หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่ง ได้ให้สัตยาบัน
📍 ความหมายของคำว่า "สัตยาบัน”
สัตยาบัน (confirmation)
- ตามกฎหมายแพ่ง การให้สัตยาบัน หมายถึง การให้ความยินยอมหรือให้การรับรองแก่นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายใช้บังคับกันได้ตลอดไป (และให้ถือว่ามีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรกด้วย) จะมาบอกล้างในภายหลังอีกไม่ได้
- การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้นกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการให้สัตยาบันโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้
ภาพจาก : ไทยรัฐออนไลน์
• การที่สามีภริยาจะต้องตกเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ตามที่กฎหมายระบุไว้ใน ปพพ. มาตรา 1490 นั้น มีเงื่อนไข คือ
1. จะต้องเป็น “สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย” เท่านั้น
2. ภาระหนี้ที่คู่สมรสก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรส จะต้องเป็นภาระหนี้ ตาม ปพพ. มาตรา 1490 (1)-(4) เท่านั้น
• ดังนั้น แม้จะเป็นสามีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่หากหนี้สินที่อีกฝ่ายก่อให้เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องส่วนตัว เช่น หนี้การพนัน ภาระหนี้ค้ำประกัน ภาระหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิด เป็นต้น
ภาระหนี้ตามตัวอย่างดังกล่าวนี้ ไม่ใช่ภาระหนี้ตาม ปพพ. มาตรา 1490 (1)-(4) คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ต้องรับผิดชอบร่วม ยกเว้นมีการให้สัตยาบันหรือรู้เห็นเป็นใจด้วย
ภาพจาก : krungsri.com
💕 การอยู่ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสนั้น จะมีข้อผูกพันระหว่างกันทั้งในเรื่องของกฎหมายและความสัมพันธ์ในครอบครัว คู่สามีภรรยาควรจะพูดคุยและรับรู้ว่าอีกฝ่ายมีทรัพย์สินอะไรที่เพิ่มขึ้น
เพื่อให้ทั้งคู่ได้ร่วมกันวางแผนบริหารสินสมรสจนเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีและความสงบสุขร่มเย็นภายในครอบครัว 🙂
#ธุรกิจและกฎหมายbykuroba 📚🙂
3 บันทึก
7
2
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
- กฎหมายและเหตุการณ์ -
3
7
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย