Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ธุรกิจและกฎหมาย by Kuroba
•
ติดตาม
12 ต.ค. 2020 เวลา 08:31 • การศึกษา
[ CHAPTER 37 ]
ผ่อนรถไม่หมด คืนไฟแนนซ์แล้ว แต่ทำไมยังโดนฟ้องง 😅
" หลังจากห่างหายไปนาน เพราะหลากหลายภารกิจที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน ในคราวนี้อยากหยิบยกปัญหาที่หลายๆท่านอาจประสบพบเจอในอดีตหรือในอนาคต ก็อาจเป็นไปได้
เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ต้องรอการฟื้นตัว ส่วนคนที่จ่ายสดในช่วงนี้ ขอเรียกว่า คุณคือคนรวยย ! จะไม่พบปัญหาเหล่านี้นะจ้ะ 😅 "
- ก่อนอื่นขอให้เข้าใจครับว่า รถยนต์ หรือ รถจักรยานยนต์ เป็นทรัพย์ ซึ่งมีการเสื่อมสภาพเร็วมาก ไม่ว่าจะด้วยการใช้งาน การถูกชน หรือตกรุ่น
เมื่อไฟแนนซ์ยึดรถยนต์ หรือ รถจักรยานยนต์ ไปแล้ว จะนำออกขายทอดตลาด หากขายได้ราคาน้อยกว่าทุนที่ไฟแนนซ์ได้จ่ายแทนไป ไฟแนนซ์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน
" เพื่อเรียกค่าเสียหาย ค่าขาดราคา ค่าติดตามทวงถาม ค่าบอกกล่าวโอนสิทธิเรียกร้อง ค่าติดตามยึดรถ ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และค่าขาดประโยชน์ "
√ หากท่านตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้จะทำอย่างไรดี ?
- วันนี้ผมขอนำเสนอปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยวกับกรณีการฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นดังนี้
√ หากท่านถูกฟ้องคดีเช่าซื้อ
(1) " อันดับแรก " คือ โจทก์เป็นผู้ให้เช่าซื้อโดยตรง หรือ มีการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่บริษัทอื่น ซึ่งการโอนสิทธิเรียกร้องนั้น ตามกฎหมายผู้โอนกับผู้รับโอนจะต้องบอกกล่าวการโอนให้แก่ลูกหนี้ หรือ ผู้เช่าซื้อทราบด้วย
💥 หากไม่มีการบอกกล่าวการโอน หรือ บอกกล่าวการโอนแล้ว แต่เจ้าหนี้รายใหม่ไม่มีหลักฐานมาแสดงต่อศาล บริษัทที่รับโอนหนี้จะไม่มีอำนาจฟ้องลูกหนี้หรือผู้เช่าซื้อได้
(2) " อันดับสอง " พิจารณาว่า ไฟแนนซ์มีการแจ้งวัน เวลา สถานที่ทำการขายทอดตลาด ให้แก่ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกันทราบหรือไม่ และเมื่อขายได้แล้ว เจ้าหนี้ต้องรายงานผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกันว่าได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปหักชำระหนี้ประเภทใดบ้าง
💥 หากไม่มีการแจ้งวัน เวลา สถานที่ทำการขายทอดตลาด หรือ รายงานผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกันว่าได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปหักชำระหนี้ประเภทใด
>>> ท่านสามารถโต้แย้งได้ครับ ว่าราคารถนั้นขายต่ำเกินไป หรือนำเงินไปหักชำระหนี้ที่ไม่มีสิทธิเรียกเก็บ เช่น ค่าติดตามทวงถาม ค่าบอกกล่าวการโอน เบี้ยปรับ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าดำเนินการของไฟแนนซ์ และเพื่อประโยชน์ในการติดตามทรัพย์ของไฟแนนซ์เอง
(3) " อันดับสาม " พิจารณาว่า ไฟแนนซ์ฟ้องเรียกร้องค่าอะไรบ้าง เช่น ค่าเสียหาย ค่าขาดราคา ค่าติดตามทวงถาม ค่าบอกกล่าวโอนสิทธิเรียกร้อง ค่าติดตามยึดรถ ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และค่าขาดประโยชน์ ซึ่งท่านควรโต้แย้งว่าสูงเกินจริง เพื่อให้ไฟแนนซ์ นำสืบให้ได้ว่าได้ชำระเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ ไปจริง และตามความจำเป็น ตลอดจนนำสืบถึงวิธีการคำนวณมูลหนี้หรือฐานที่มาของมูลหนี้แต่ละประเภทครับ
>>> ซึ่งมูลหนี้บางอย่าง เช่น ค่าติดตาม ค่าทวงถาม (ค่าโทรศัพท์หรือค่าส่งจดหมาย) ค่าบอกกล่าวการโอน เบี้ยปรับ ดอกเบี้ย และค่าขาดประโยชน์ หากเป็นมูลหนี้ที่ซ้ำซ้อนหรือสูงเกินจริง ศาลมีอำนาจจะปรับลดให้เหมาะสมตามความจริงได้ครับ
" คำแนะนำทั้งสามข้อข้างต้น เป็นเพียงการแนะนำแนวทางสู้คดี เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับไฟแนนซ์และเจรจาขอลดยอดหนี้ เพื่อให้ได้เงื่อนไขการชำระที่ดีที่สุดครับ อย่างไรก็ตาม การเป็นหนี้ก็ต้องชดใช้ แต่ต้องอยู่บนหลักแห่งความเสียหายที่แท้จริงครับ 🙂 "
#ธุรกิจแและกฎหมายbykuroba
2 บันทึก
6
3
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
- กฎหมายและเหตุการณ์ -
2
6
3
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย