1 ก.ย. 2020 เวลา 05:38 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Insight🔎: ความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศในโลก...กำลังกว้างขึ้น
บทความพิเศษ โดยพื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
ก่อนอื่นผมอยากให้ทุกท่านได้ดูภาพด้านล่างนี้ ที่ผมได้บันทึกเอาไว้ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม
แสดงถึงข้อมูลของประเทศที่ขอรับมาตรการ การช่วยเหลือทางด้านการเงินจาก IMF กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
โดย
💧สีฟ้า เป็นประเทศที่มีการขอรับความช่วยเหลือจากมาตรการ CCRT
🟢สีเขียว เป็นประเทศที่มีการขอรับความช่วยเหลือจากมาตรการ RFI
🟠สีส้ม เป็นประเทศที่มีการขอรับความช่วยเหลือจากมาตรการ RCF
🔵สีน้ำเงินเข้ม เป็นประเทศที่มีการขอรับความช่วยเหลือ หลายมาตรการรวมกัน
https://www.imf.org/en/Topics/imf-and-covid19/COVID-Lending-Tracker
ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2020 นั้น
วงเงินที่ร้องขอ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 17,489.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลุ่มประเทศที่มีการร้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินมากที่สุด
อยู่ในทวีป แอฟริกา
เทียบกับวันนี้ (1 กันยายน 2020)
เราจะสังเกตได้ว่า ประเทศที่เคยมีการร้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจาก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้น
⬆️มีการร้องขอความช่วยเหลือที่มากขึ้น
โดยในปัจจุบัน ทาง IMF ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ร้องขอไปแล้วกว่า 87,841 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นกว่า 5.02 เท่าภายในระยะเวลาไม่ถึง 4 เดือน)
https://www.imf.org/en/Topics/imf-and-covid19/COVID-Lending-Tracker
นอกเหนือไปจากประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีการร้องขอมาตรการการช่วยเหลือทางด้านการเงินที่เพิ่มมากขึ้น
ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ /ลาตินอเมริกา
ได้แก่ ชิลี เปรู โคลอมเบีย (🟣แถบสีม่วงในแผนที่) ได้มีการร้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจาก IMF บ้าง
ในส่วนของทวีปยุโรปตะวันออกอย่างประเทศยูเครน ก็มีการร้องขอความช่วยเหลือเช่นกัน
ซึ่ง เราจะได้เห็น อีกหลายประเทศยื่นคำร้องไปยัง IMF เพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินมากขึ้นเรื่อยๆ⬆️⬆️⬆️
ประเทศต่างๆเหล่านี้ ไม่ได้มีธนาคารกลางที่สามารถออกมาตรการช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจได้ดังเช่นประเทศขนาดใหญ่อย่าง
ธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ)
ธนาคารกลางยุโรป(ECB)
ที่สามารถออกนโยบายมาเพื่ออัดฉีดสภาพคล่อง พยุงทั้งตลาดหุ้นและภาคเศรษฐกิจจริงด้วยปริมาณเงินมหาศาลได้
แน่นอนว่าหากประเทศขนาดเล็กออกนโยบายทางการเงินและการคลังในระดับเดียวกับประเทศขนาดใหญ่ สิ่งที่ตามมาคงหนีไม่พ้นการเกิดภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวด
(Hyperinflation) เป็นแน่
เรื่องนี้จะโทษว่าเป็นความผิดของประเทศขนาดใหญ่เพียงผ่ายเดียวก็ไม่ถูกนัก
เพราะในเมื่อประเทศตัวเองยังเอาตัวแทบไม่รอด
ใครจะมีกะใจไปช่วยเหลือประเทศอื่นกัน แม้จะมีมาตรการต่างๆออกมา ก็ยังไม่สามารถช่วยธุรกิจภายในประเทศได้ท้ังหมด
ธุรกิจขนาดใหญ่หลายกลุ่มได้รับผลประโยชน์ และความช่วยเหลือจากมาตรการดังกล่าวมากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก
ระหว่างนี้จึงได้แต่ปล่อยให้ประเทศเหล่านั้นขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศไปพลางๆ 😢
สิ่งหนึ่งที่นานาประเทศควรจะหันหน้ามาคุยกันอย่างเป็นจริงเป็นจังเสียทีคือ
"เลิกตีกันสัก 1- 2 ปี"
แต่อนิจจา ... ระบบขั้วอำนาจของโลกไม่ได้ทำงานแบบนั้น
สังเกตได้ว่าความเสียหายจากการแพร่ระบาดของไวรัสในภูมิภาคเอเชียนั้นน้อยกว่าทางทางยุโรปและอเมริกา และตอนนี้ "ประเทศจีน" มีการอัตราการฟื้นตัวด้านเศรษฐกิจนำหน้าทุกประเทศทั่วโลก
นั่นทำให้กลุ่มประเทศที่อยู่ขั้วตรงข้าม อย่างสหรัฐนั้นต้องทำทุกวิถีทางไม่ให้จีนใช้โอกาสนี้ในการ "ลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ" ระหว่างสองประเทศลงมา
🔻จีน ทำในสิ่งที่ต้องทำเพื่อให้ประเทศมีที่ยืนในเวทีโลก
🔺อเมริกา ก็ทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำเช่นกัน
เมื่ออยู่ในสนามรบต่างคนต่างก็ไม่เป็นตัวของตัวเองทั้งนั้น...
หลังจากนี้ก็ได้แต่หวังว่าจะมีช่วงพัก เพื่อให้ ประเทศขนาดใหญ่ได้หันมาดูแลประเทศขนาดเล็กบ้าง
เพราะท้ายที่สุด ถ้าโลกนี้เหลือแค่ประเทศยากจนกับประเทศร่ำรวย ความน่าอยู่คงจะลดลงไปเยอะพอสมควร
ภาคผนวก เครื่องมือของ IMF
https://www.imf.org/~/media/Images/IMF/Topics/COVID19/imf-firepower-ig.ashx
https://www.imf.org/~/media/Images/IMF/Topics/COVID19/coronavirus-info.ashx?la=en
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของทุกท่าน
ฝากกด Like กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
ขอบพระคุณมากครับ
🐽หมูน้อย
reference

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา