1 ก.ย. 2020 เวลา 16:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีเร่งอัตราการสังเคราะห์แสงให้กับสาหร่ายเซลล์เดียวและพืช 😉👍🌱
2
ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของสาหร่ายและพืชเหล่านี้และช่วยเพิ่มความหวังในการพัฒนาใช้สาหร่ายเซลล์เดียวเพื่อผลิตเชื้อชีวภาพในอนาคต
2
สาหร่ายสีเขียวเหล่านี้อาจเป็นความหวังในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล
การพัฒนาสาหร่ายเซลล์เดียวเพื่อใช้ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในปัจจุบันนั้นยังคงห่างไกลกับการที่จะมาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้กันอยู่ เนื่องด้วยต้นทุนการผลิตที่ยังไม่สามารถแข่งขันได้
แต่มาวันนี้ทีมนักวิจัยได้ค้นพบเทคนิคใหม่ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงให้กับเจ้าสาหร่ายเซลล์เดียวเหล่านี้
โดยอาศัยโครงสร้างโพลิเมอร์พิเศษที่เรียกว่า PBF ซึ่งจะช่วยในการรวบรวมแสงจากสิ่งแวดล้อมให้กับสาหร่าย
โดยโครงสร้าง PBF จะเกาะอยู่ที่ผนังเซลล์ของสาหร่าย Chlorella pyrenoidosa algae และทำหน้าที่ในการรวบรวมแสงและเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงทั้งทางตรงและทางอ้อม
ซึ่งย่านแสงที่ PFB ดูดซับได้ดีก็คือแสงสีเขียวซึ่งโดยปกติจะถูกสะท้อนออกจากเซลล์ (ที่ทำให้เราเห็นสาหร่ายเหล่านี้เป็นสีเขียวนั่นเอง)
ทีมวิจัยได้ปรับแต่งและทดสอบการตอบสนองในการสังเคราะห์แสงกับโครงสร้าง PFB รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งผลที่ได้นั้นทีมสามารถเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสงให้กับสาหร่ายได้สูงสุดถึง 110% เลยทีเดียว
และ PBF นี้ยังช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตให้กับพืชที่มีระบบลำเลียงน้ำอย่างเช่น ต้น thaliana ได้ด้วย
โดยตัวอย่างทดสอบที่โตในดินที่มีสาร PBF ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ต้น thaliana นั้นจะโตเร็วกว่าเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว
เป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงที่จะช่วยให้สาหร่ายเซลล์เดียวและพืชโตเร็วขึ้น
1
ซึ่งอาจนำมาใช้เพิ่มผลผลิตจนทำให้การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายเซลล์เดียวหรือการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวลทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นมีความเป็นไปได้มากขึ้น และสามารถแข่งขันด้านราคาได้
นับว่าเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจทีเดียวครับ ยังไงเชื้อเพลิงชีวภาพในรูปแบบน้ำมันชีวภาพก็ยังมีความสะดวกในการใช้งานและผู้คนคุ้นเคยมากกว่าชาร์จไฟแบตเตอรี่อยู่ดี 😉🔋

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา