Pike Fish เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาเหนือ มันเป็นปลาตัวใหญ่ที่ขึ้นชื่อเรื่องความดุร้าย โดยจะกินปลาที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร เวลา Pike Fish ตะครุบเหยื่อ ตาของมนุษย์ก็แทบจะมองไม่ทันเลยทีเดียว
วันหนึ่งนักวิทยาศาสตร์ลองจับเจ้า Pike Fish มาอยู่ในตู้ปลาขนาดใหญ่ ในตู้ปลามีปลาตัวเล็ก ๆ อยู่เต็มไปหมด แต่ Pike Fish ถูกกั้นจากปลาตัวเล็ก ๆ เหล่านั้นด้วยกระจกใส
แน่นอนว่าเจ้า Pike Fish พุ่งเข้าหาเหยื่อทันทีแต่ก็ชนกับกระจกครั้งแล้วครั้งเล่า จนในที่สุดมันก็หมดกำลังใจและมานอนนิ่งอยู่ที่ก้นตู้ปลา
Amadeo จึงคิดชื่อที่แสนจะเรียบง่ายที่สุดและเปิดสำนักงานเล็ก ๆ แล้วแปะป้ายไว้ว่า Bank of Italy หลังจากนั้น Bank of Italy ก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนขยายสาขาไปทั่วรัฐแคลิฟอร์เนีย
Amadeo เล็งเห็นว่าธนาคารจะให้บริการเฉพาะคนอิตาลีไม่ได้อีกแล้ว ถึงเวลาที่จะต้องให้บริการแก่คนทั้งประเทศ ภายหลังการควบรวมกิจการ ธนาคารก็เปลี่ยนชื่อเป็น Bank of America ซึ่งเป็นชื่อที่ง่ายและบอกชัดเจนว่าจุดประสงค์ของธนาคารคืออะไร
Bank of America ได้ออกบริการบัตรเครดิตเป็นครั้งแรกของโลกในปี 1958 โดยใช้ชื่อว่า BankAmericard จากนั้นกิจการของ BankAmericard ก็เริ่มขยายออกนอกประเทศจนกลายเป็นกิจการระดับนานาชาติ
David Hoevath เป็นคนคิดอะไรไม่เหมือนชาวบ้านเสมอ วันหนึ่งในชั้นเรียน ขณะที่เขาต้องวาดภาพนางแบบกึ่งเปลือย David ก็เหลือบไปเห็นเพื่อนนักเรียนนั่งอยู่ข้าง ๆ ชื่อ Sun-Min Kim สาวสวยชาวเกาหลีที่เขาแอบปลื้มมาสักพักแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำความรู้จักกันเสียที เขาเลยคิดแผนที่จะสร้างความประทับใจให้เธอ
แม้อาจารย์จะไม่เห็นด้วย และคำแนนคงจะออกมาห่วยแตกมาก แต่แผนของเขาก็ได้ผล สาว Kim บอกกับ David ว่าเธอชอบรูปที่เขาวาดและสิ่งที่เขาพูดก็น่าสนใจดี และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ของทั้งสอง
ต่อมาเมื่อ Kim ต้องเดินทางกลับเกาหลี David รู้สึกเศร้ามากที่ต้องห่างจากคนรัก เขาจึงคอยเขียนจดหมายไปหาเธออยู่เสมอ และในจดหมายนั้นก็ลงท้ายด้วยการวาดรูปเจ้า Wage หรือตัวการ์ตูนที่ทำให้ทั้งสองได้มารู้จักกันนั่นเอง
หนึ่งในสูตรลับที่รับประกันความล้มเหลวคือ การทำธุรกิจแบบ Me too เห็นใครทำอะไรสำเร็จก็เลียนแบบ โดยไม่รู้ต้นสายปลายเหตุว่าทำไมเขาถึงทำแบบนั้น
การทำธุรกิจแบบ Me too จึงไม่มีแก่น ไม่มีราก เมื่อไม่มีรากจึงไม่มีแรงบันดาลใจ เมื่อไม่มีแรงบันดาลใจจึงไม่มีเรื่องราวที่มาที่ไปหรือ Story แค่นี้ก็เตรียมตัวเจ๊งได้เลย
อย่างที่ Charles Buxton นักสังคมสงเคราะห์ชื่อดังเคยกล่าว “In life as in chess ,forethought wins” ชีวิตก็เหมือนกับการเล่นหมากรุก คนที่คิดนำหน้าคู่ต่อสู้ย่อมได้รับชัยชนะ
บทเรียนราคาแพงนี้สอนอะไรเราหลายอย่าง
1. Social Media สามารถโหมกระพือ จนเปลวไฟเล็ก ๆ จากไม้ขีดกลายเป็นไฟป่าได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมีให้เห็นกันหลายกรณีแล้ว
ในทุกธุรกิจตั้งแต่อาหาร เสื้อผ้า ไปจนถึงเทคโนโลยี เราจึงเห็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่เต็มไปด้วยความกล้า ความบ้าบิ่น และความคิดสร้างสรรค์ทั่วทุกมุมโลกลุกขึ้นมาสร้างธุรกิจเจ๋ง ๆ กันอยู่ทุกวัน ไม่มียุคไหนอีกแล้วที่การเริ่มต้นธุรกิจใหม่จะง่ายเท่ายุคปัจจุบัน และมีกำแพงในการเริ่มต้น (Barrier to entry) ต่ำเท่านี้มาก่อน ส่วนหนึ่งมาจากคนทั่วโลกถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วย Social Media และ Social Media นี่เองที่เป็นช่องทางให้คนที่มีความสามารถได้ “ปล่อยของ” แบบที่ในอดีตไม่เคยทำได้มาก่อน
ความรู้สึกแบบ West is best มีมานานและฝังแน่นเอามาก ๆ เป็นความเชื่อนี้ฝังรากลึกมากจริง ๆ มันอธิบายได้ว่าทำไมแบรนด์แฟชั่นจากยุโรปถึงครองใจสาวเอเชียแบบอยู่หมัด ทำไมรถจากยุโรปถึงเป็นที่ถวิลหาของคนเอเชียทั้งทวีป
แล้ว Local brand จริง ๆ ก็มีหลายทางที่จะเติบโตมากกว่า Inter brand