3 ก.ย. 2020 เวลา 04:52 • ความคิดเห็น
การขุดคลองไทยกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงของจีน
คลองไทยถูกนำมาพูดถึงอีกครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้หลังจากมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภาในการศึกษาการขุดคลองไทยและระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้รวมไปถึงการผลักดันจากสมาคมของไทย และข่าวการผลักดันของกลุ่มทุนจีนและกลุ่มทุนจากตะวันตกทั้งนี้การทุกเถียงกันในประเด็นของคลองไทยมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและสนับสนุนให้เกิดการขุดคลองไทยจากการมองเห็นโอกาสในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ
กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยจากการเล็งเห็นว่าการขุดคลองไทยนี้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่คุ้มค่ากับการลงทุนไม่สามารถที่จะดึงนำเส้นทางการค้าต่างๆจากสิงคโปร์มาผ่านคลองไทยได้อย่างที่คิดรวมไปถึงผลกระทบทางความมั่นคงต่อปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการถูกครอบงำจากมหาอำนาจ
ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือในเรื่องของคลองไทยกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงของจีนนั้นคือคลองไทยนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานในการที่จะเชื่อมระหว่างทะเลจีนใต้กับมหาสมุทรอินเดียและอาจจะกลายเป็น การเผชิญหน้าใหม่ระหว่างจีนกับอินเดียได้ในอนาคต บทความนี้จะเชื่อมโยงเหตุผลว่า คลองไทยจะเชื่อมเข้าสู่ยุทธศาสตร์ความมั่นคงจีนในรูปแบบไหนอย่างไร
เส้นทางการเดินทางทางทะเลในเขตภูมิภาคของเราช่องแคบมะละกาเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าและเดินเรือมาตั้งแต่ในช่วงทศวรรษในช่วงศตวรรษที่ 1400 มาแล้วมีมูลค่ามหาศาลมีเรือเดินทางผ่านเส้นทางนี้เป็น 7-8 หมื่นลำ ในฐานเป็นตัวเชื่อมจากทะเลฝั่งตะวันออก. ทะเลจีนใต้ อาเซียนไปยังมหาสมุทรอินเดีย และเช่นเดียวกัน เส้นทางในการส่งพลังอำนาจของจีน(Power Projection) ไปยังมหาสมุทรอินเดีย เส้นทางนี้ ก็เป็นเส้นทางหนึ่ง ที่จะถูกใช้ได้ แต่ไม่ง่าย เพราะ สิงคโปร์ที่ตั้งอยู่บริเวณดังกล่าว เป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา คลองไทยจึงกลายเป็นอีกทางเลือกของนโยบายนี้
อันที่จริงแล้วจีนมีแผนในการส่งพลังอำนาจ ไปยังมหาสมุทรอินเดียโดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกาอยู่แล้วต่อที่เห็นจากความพยายามในโครงการหรือแผนงานที่เรียกว่า String of Pearl นั่นคือการที่จีนไปสร้างฐานทัพแห่งแรกนอกประเทศของตัวเองที่บริเวณแอฟริกาตะวันออกที่เรารู้จักกันในชื่อประเทศจิบูตี และจีนก็เข้าไปมีอิทธิพล อิหร่าน ปากีสถาน และพม่า เพื่อเตรียมการณ์สำหรับท่าเรือขนาดใหญ่ ที่จะเป็นฐานทัพเรือของจีนได้ในอนาคตของการเป็นมหาอำนาจ
นโยบายการเข้ามามีอิทธิพลในการขุดคลองไทยโดยกลุ่มทุนจีนเมื่อเราจับเอาแผนงานนี้เข้าไปดูในยุทธศาสตร์ความมั่นคงเชื่อมกับแผนงาน String Of Pearl เราจะเห็นว่าของไทยจะกลายเป็นอีกจุดหนึ่งซึ่งเชื่อมเข้ากับString of Pearl ของจีนจากพม่าแล้วจะเป็นจุดสำคัญในการที่จะทำให้กองทัพเรือจีนสามารถที่จะผ่านจากทะเลจีนใต้ไปยังมหาสมุทรอินเดียได้โดยไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา ย่นระยะทางประหยัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งรวดเร็วขึ้นเป็นอีกส่วนนึงแล้วก็เหตุผลก็คือการเติมเต็มยุทธศาสตร์ในส่วนนี้
และที่สำคัญคือถ้าคลองไทยถูกขุดโดยจีนหรือจีนเป็นหุ้นส่วนสำคัญนี้จะทำให้จีนมีบทบาทของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ความมั่นคงกับไทยและภูมิภาคไปโดยปริยายแบบถาวรเพราะเมื่อมีการขุดคลองที่เชื่อมภูมิภาคกันแบบนี้จะต้องมีผู้ที่เข้ามีส่วนร่วมในการรับประกันความมั่นคงอยู่แล้วเฉกเช่นเดียวกับ คลองสุเอซและปานามา ยิ่งถ้าคลองนี้คุดโดยจีนและจีนใช้ในยุทธศาสตร์ความมั่นคงของตัวเองแน่นอนว่าจีนจะต้องเข้ามาเป็นหุ้นส่วนทางความมั่นคงแบบถาวรในภูมิภาคแห่งนี้ผ่านคลองใครอย่างแน่นอน
1
และนอกจากนั้นแล้วนี่อาจจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแผนของการล้อมกรอบอินเดียของจีนเราเห็นแล้วว่าจีนมีปัญหากับอินเดียในเขตพื้นที่ชายแดนทางตอนเหนือที่มีการประทะกันแถวกัลวานวอลเลย์ที่เราเคยนำเสนอไปการล้อมกรอบอินเดียในทางทะเล ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในยุทธศาสตร์ความมั่นคงและเป็นมหาอำนาจของจีน ในการแพร่ขยายอิทธิพล ในเขตเอเชียตะวันตก เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง ไปถึงแอฟริกา
คลองไทยนี้ยังส่งผลดีต่อยุทธศาสตร์ในทะเลจีนใต้อีกด้วยเพราะจะทำให้ท่าเรือที่สีหนุวิลล์ของจีนนาทีจีนมีแนวโน้มที่จะใช้ในการส่งกำลังอำนาจเข้ามาในภูมิภาคอาเซียนและส่งผลในการดำเนินยุทธศาสตร์ในทะเลจีนใต้มีประโยชน์มากขึ้นและก็จะเชื่อมท่าเรือที่สีหนุวิลล์นี้เข้ากับท่าเรือที่พม่าเข้ามาอย่างไม่ต้องสงสัย
คลองไทยนี้จึงกลายเป็นเส้นทางทะเลทางยุทธศาสตร์สำหรับจีนซึ่งจะไม่ง่ายต่อการที่จะตัดหรือขัดขวางจีนได้ในทางยุทธศาสตร์ สมมติถ้าในอนาคตรัฐบาลไทยเป็นรัฐเกิดกลายเป็นรัฐบาลที่มีขัดแย้งหรือเป็นคนละฝั่งกับจีนขึ้นมาจีนอาจจะเข้าไปมีบทบาทในสับสนุนหรือบทบาทในปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นได้อันนี้เป็นเรื่องของการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในอนาคต
ผลกระทบจากการขุดคลองไทยต่อยุทธศาสตร์ความมั่นคงในโลกของมหาอำนาจทั้งหลายรวมไปถึงประเทศที่เป็นประเทศใหญ่นอกจากนั้นแน่นอนจะมีการต้องเผชิญกับปัญหากับการที่จีนมีกำลังอำนาจสามารถส่งพลังอำนาจไปได้กว้างไกลมากขึ้นง่ายขึ้น และท้าทายสหรัฐอเมริกาได้มากขึ้น เพราะจะไม่ใช่สหรัฐอเมริกา แค่ประเทศเดียวแล้วที่จะสามารถส่งพลังอำนาจและขีดความสามารถทางการทหารไปได้ทั่วโลกอีกแล้ว
ในความเห็นของ BFSS ค่อนข้างเห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า หากคลองไทยถูกขุดโดยจีนเป็นผู้มีบทบาทหลักก็จะทำคลองไทยอาจถูกใช้เป็น. ยุทธศาสตร์ทั้งความมั่นคงที่สำคัญแห่งหนึ่งของจีนเพื่อเชื่อมเข้ากับยุทธศาสตร์แผนงานในการขยายอิทธิพลของจีนไปยังมหาสมุทรอินเดีย และจะทำให้ไทยเลือกข้างเป็นจีนในฐานะหุ้นส่วนทางความมั่นคงอย่างถาวรเพื่อรักษาผลประโยชน์บนคลองไทยอย่างแน่นอน
แต่ทั้งนี้ในแง่ข้อกังวลในเรื่องของความเกี่ยวโยงเมื่อสภาพทางภูมิศาสตร์เปลี่ยนไปจะทำให้ส่งผลต่อปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้หรือไม่นั้นเรายังไม่เห็นด้วยว่าจะเป็นไปได้ทั้งนี้เราบอกว่าการขุดคลองไทยไม่น่าจะทำให้ก่อเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากนักหรือคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งนี้ทั้งนั้นถึงแม้ว่าเราจะบอกว่าสิงคโปร์ได้ประโยชน์ ทางเศรษฐกิจจากการเป็นท่าเรือและคุมช่องแคบมะละกาแต่ในขณะเดียวกันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่แท้จริงที่สิงคโปร์ได้รับคือการเป็นประเทศที่เป็นนายหน้าในการขายสินค้าต่างๆรวมไปถึงเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคและมีโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับทุกสิ่งทุกอย่างมากกว่า
การมุ่งหวังผลประโยชน์จากคลองไทย จึงมีการเพิ่มในเรื่องของนิคมอุตสาหกรรมเข้ามา ดึงดูด และต้องไม่ลืมว่า คลองไทยร่นระยะเวลาแค่ สามวันเท่านั้น ไม่ใช่เป็นสิบๆวันเหมือนคลองสุเอซและปานามา
เมื่อคลองไทยนี้ถูกหวังผลจากการเป็นจุดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมหาอำนาจ ถ้าอยากจะขุด โดยลดปัญหาการเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายนึง ก็ต้องพึ่งการลงทุนจากกลุ่มทุนอื่น หรือไทยต้องลงทุนเอง แต่ปัญหายิ่งยากขึ้นไปอีก เพราะการจะรักษาความเป็นกลางของคลองไทย โดยไม่มีมหาอำนาจฝ่ายใดฝ่ายนึงรับรองหนุนหลัง นั้นยากเสียยิ่งกว่ายาก
1
เอวัง
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา