3 ก.ย. 2020 เวลา 11:30 • ประวัติศาสตร์
สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยอยุธยา อยู่บริเวณใดในปัจจุบัน ?
อย่างที่หลายคนทราบนะครับ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินรวมทั้งเจ้านายในยุครัตนโกสินทร์ จะประกอบพระราชพิธี ณ บริเวณสนามหลวง
แต่ครั้งนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านย้อนไปในสมัยอยุธยากันครับ
ภาพเขียนพระเมรุมาศในสมัยอยุธยา
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทองถึงรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ปรากฏหลักฐานในรูปของพงศาวดารถึงราชประเพณีการปลงพระบรมศพด้วยเพลิง
ราชประเพณีช่วงอยุธยาตอนต้น มักมีการสร้างสถูปเจดีย์หรือพระอารามขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ณ สถานที่ที่มีการถวายพระเพลิงพระบรมศพนั้นให้เป็นสถานที่เพื่อการสักการะบูชา
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทองพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.1912 สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรส) จึงโปรดฯ ให้จัดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ บริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้ของพระบรมมหาราชวัง หรือบริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์
📌📌พระบรมศพ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถวายพระเพลิงในพื้นที่บริเวณของ “วัดพระราม” ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังการถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นแล้ว
วัดพระราม
📌📌พระบรมศพของสมเด็จพระนครินทราธิราชรวมทั้งพระศพของเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาผู้เป็นพระราชโอรส ทรงอุทิศพื้นที่ถวายพระเพลิงศพ เพื่อสร้างพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุและพระวิหารเป็นอารามเรียกว่า “วัดราชบูรณะ” และก่อเจดีย์อนุสรณ์ขึ้น 2 องค์ ตรงบริเวณเชิงสะพานป่าถ่านที่เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยาชนช้างกันจนสิ้นพระชนม์ เรียกว่า “เจดีย์เจ้าอ้ายเจ้ายี่”
วัดราชบูรณะ
📌📌พระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ถวายพระเพลิงที่ “วัดวรเชษฐาราม” อันเป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถสร้างถวาย ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิง เป็นต้น และยังมีวัดอื่นๆ ภายในเมืองอีกหลายวัดที่สร้างขึ้นภายในบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์องค์อื่น ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในพระราชพงศาวดาร
วัดวรเชษฐาราม (ในเกาะเมือง)
จึงสรุปได้ว่าการประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระมหากษัตริย์แห่งอยุธยาในช่วงแรกได้กำหนดไว้อย่างกว้างๆ เพียงภายในกำแพงพระนคร
แต่ในภายหลังตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเป็นต้นมา ได้มีการก่อสร้างพระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์เพื่อไว้ประดิษฐานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน รวมทั้งเจ้านาย ภายในเขตพระราชฐานซึ่งติดกับวัดพระศรีสรรเพชญ์
พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์
พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์นั้นอยู่ในเขตพื้นที่ของพระราชวังโบราณเมืองกรุงเก่า โดยมีการสร้างพระเมรุมาศ ณ ตำแหน่งทางทิศใต้ของพระวิหารพระมงคลบพิตร
รวมทั้งมีการสันนิษฐานว่าลานหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ หรือสนามหน้าจักรวรรดิ เป็นถนนที่มีขบวนแห่พระบรมศพ จะผ่านพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ผ่านสนามชัย และพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ ซึ่งบริเวณที่สร้างพระเมรุมาศนี้จะเรียกกันว่า "ทุ่งพระเมรุ"
ทุ่งพระเมรุและวิหารมงคลบพิตร
อย่างไรแล้วพระราชพิธีในยุครัตนโกสินทร์นั้นจะปฎิบัติเช่นเดียวกับอยุธยา โดยการนำพระศพไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง และสร้างพระเมรุมาศขึ้นบริเวณสนามหลวง
ฉะนั้น "ทุ่งพระเมรุ" ในสมัยอยุธยาจึงเปรียบดั่ง "สนามหลวง"แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ครับผม
ภาพบนสนามหลวง และ ล่างทุ่งพระเมรุ ภาพจาก: มติชน
ต้องกราบขออภัยทุกท่านที่หายไปจากBDกว่าสามสัปดาห์นะครับ เนื่องจากมีภารกิจงานหลักเร่งด่วนหลายอย่าง
รวมทั้งได้รับการติดต่อให้เข้าร่วมโปรเจคกับผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งครับ
รอติดตามผลงานของผมต่อไปนะครับ...❤️
1
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
❤️❤️คิดถึงทุกคนนะครับ❤️❤️
อ้างอิง:

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา