11 ก.ย. 2020 เวลา 03:57 • การศึกษา
ทราบหรือไม่ว่า..
คำว่า"แขกกับเจ็ก" มาจากคำ ๆ เดียวกัน
คนไทยเราเรียกคนแถบอินเดีย ปากีสถาน หรือคนทางตะวันตกของประเทศเราที่เลยพม่าไปว่า "แขก"
และเราก็เรียกคนจีน หรือคนเชื้อสายจีนว่า "เจ็ก" มาแต่ไหนแต่ไร
ทราบหรือไม่ว่า จริง ๆ แล้ว
ต้นทางของคำว่า แขก กับ เจ็ก
นั้นมาจากคำ ๆ เดียวกัน
pinterest
เริ่มที่คำว่าแขกก่อน
สันนิษฐานว่า คำว่าแขก เพี้ยนเสียงมากจากคำว่า เค่อ หรือ แคะ ในภาษาจีนแต่จิ๋ว อันมีความหมายแปลว่า "ผู้มาเยือน"
คนสยามประเทศจึงเรียกคนทางฝั่งตะวันตกตั้งแต่อินเดีย บังคลาเทศ
ปากีสถาน ฯ ว่า "แขก" เพื่อให้แตกต่างจากคนยุโรปหรือคนตะวันตกไกล ที่เราเรียกเขาว่า "ฝรั่ง"
1
คราวนี้มาดูที่มาของคำว่า "เจ็ก" บ้าง
คำว่า เจ็ก นี้ อ้างอิงมาจากงานเขียนของคุณศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ในมติชนวิคลี่ออนไลน์ ที่กล่าวถึง
คำอธิบายเรื่องนี้ของท่านพระยาอนุมานราชธนที่มีต่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
3
ท่านพระยาอนุมานราชธน
ท่านกล่าวเอาไว้ว่า...
1
จากการค้นคว้าของท่านพบว่า
คนไทยใหญ่จะเรียกคนไทยที่อยู่ทางตอนใต้ของจีนว่า ไทยแขก
ซึ่งคำว่าแขกในที่นี้ ออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า หัก ในสำเนียงกวางตุ้งและคำว่า แคะ ในสำเนียงแต้จิ๋ว
ส่วนในสำเนียงเซี้ยงไฮ้นั้น จะออกเสียงคำว่า แคะ เป็น เจี๊ยก ซึ่งฟังดูแล้วน่าจะใกล้กับคำว่า เจ็ก มากที่สุด
2
ยังมีคำเรียกคนจีนของทางพม่าอีกด้วย ที่เรียกว่า "เตยีก" ซึ่งก็มีความ
คล้ายคลึงการออกเสียงคำว่า เจ็ก อีกเช่นเดียวกัน
1
pinterest
จากเนื้อหาทั้งสองส่วน ท่านผู้อ่านจะพบว่า ทั้งคำว่า แขก และคำว่า
เจ็ก นั้น มีรากศัพท์ มาจากคำว่า
แคะ ในภาษาจีนสำเนียงแต๊จิ๋ว เหมือนกันนั่นเอง
และสาเหตุที่เราใช้คำว่า แขก แทนการเรียก ผู้มาเยี่ยมเยือนครั้งตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ก็เพราะ คำว่า แคะ ในภาษาจีนแต๊จิ๋วแปลว่า "ผู้มาเยือน"นั่นเอง
นับว่าแปลกมากที่คำเรียกคนที่มีรูปร่าง หน้าตาค่อนข้างจะแตกต่างกัน
มั้งยังมาจากคนละภูมิภาคกัน สุดท้ายแล้วจะมีรากฐานมาจากคำ ๆ เดียวกัน
ส่วนคำว่า "บัง" หรือ "อาบัง" ที่เราชอบใช้เรียกคนอินเดียหรือผู้ชาย
ที่หน้าตาออกจะเป็นแขกหน่อยนั้น
1
คำว่า อาบัง เป็นคำในภาษามลายู
ที่แปลว่า พี่ชาย
1
สันนิษฐานว่า ที่เรียกคนอินเดียซึ่งความจริงไม่ได้เกี่ยวกับภาษามลายูเลย แต่เรากลับเรียกว่า บัง เหมือนคนเชื้อสายมลายูหรือคนที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ก็คงเป็นเพราะคนอินเดียมีความคล้ายคลึงกับคนมลายูโดยรูปร่างหน้าตา เสียมากกว่า
ความจริง คำว่า อาบัง ความหมาย
ก็เหมือนกับ โอปป้า ในภาษาเกาหลี ที่คนไทยชอบเอามาพูดเรียกผู้ชายที่อายุมากกว่านั่นเอง
pinterest
pinterest
ไม่ว่าจะเป็นคนชนชาติ เชื้อชาติ ศาสนาไหน การที่ใช้คำเรียกกันด้วยความเคารพ ไม่เหยียดเชื้อชาติ ศาสนา เป็นสิ่งที่เราสมควรกระทำเป็นอย่างยิ่งในฐานะของความเป็นเพื่อนมนุษย์....ด้วยกัน
ขอบคุณนักอ่านที่รักทุกท่าน
ติดตามอ่านบทความดี ๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา