17 ก.ย. 2020 เวลา 00:00 • ประวัติศาสตร์
เซียงกง ...ไม่ได้แปลว่าอะไหล่เก่า
แล้วทำไมถึงเรียกอะไหล่เก่าญี่ปุ่นว่า....อะไหล่ "เซียงกง"🤔
ในวงการรถยนต์ รถบรรทุก
ใคร ๆ ก็ทราบกันดีว่า หากพูดคำว่า อะไหล่เซียงกง หรือเชียงกง เป็นอันเข้าใจตรงกันว่ากำลังหมายถึง อะไหล่มือสองเก่าญี่ปุ่น
คนไทยเป็นคนที่ชอบเรื่องเครื่องยนต์ กลไก โดยเฉพาะรถยนต์ เป็นอะไรที่คนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคุณผู้ชาย จะสนใจมาก เป็นพิเศษ
ทำให้การซ่อมบำรุง รักษารถยนต์ตามสไตล์คนไทยเรา หากรถเริ่มเก่าแล้ว ทางเลือกในการหาอะไหล่นำมาซ่อมแซม
การใช้อะไหล่มือสองจากญี่ปุ่น จึงมักจะเป็นทางเลือกลำดับต้น ๆ เพราะว่าราคาถูกกว่าอะไหล่ของใหม่ อะไหล่บางรุ่น ของเก่าญี่ปุ่นแข็งแรงกว่า หนากว่า ทนทานกว่าด้วยซ้ำไป
ยังไม่รวมอะไหล่รถบางรุ่น บางยี่ห้อ ที่ปัจจุบันหาซื้ออะไหล่ใหม่
ไม่ได้แล้ว
ก็จำเป็นต้องมาหาซื้ออะไหล่เก่าญี่ปุ่น หรืออะไหล่ เชียงกง ใส่แทน
ภาพจาก Auto Mthai
ย้อนกลับมาที่เรื่องที่มาของคำว่า
เซียงกง หรือ เชียงกง กันดีกว่า
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า คำว่า
เซียงกง คำแปลโดยตรงตัวแล้ว
ไม่ได้มีความหมายเกี่ยวข้องกับเรื่อง อะไหล่เก่าหรือรถยนต์
อะไรทำนองนั้นเลย
เซียงกง เป็นคำจีนแต๊จิ๋วแท้ ในภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า..
เซียนกง
เซียน ก็แปลว่า เทพ หรือเทวดา ตามที่คนไทยเราทราบกันดี
ส่วนคำว่า กง ก็คือ ก๋ง ที่แปลว่าผู้อาวุโส
ดังนั่น คำแปลตรงตัวของ เซียนกง หรือ เซียงกง ก็คือ ...เทพผู้อาวุโส
นั่นเอง
อ้าว ในเมื่อ เซียงกง แปลว่า เทวดาอาวุโส แล้วมาเกี่ยวข้องอะไรกับ
การค้าขายอะไหล่เก่าญี่ปุ่น
ความเกี่ยวข้องมันอยู่ตรงนี้ครับ
รองศาสตราจารย์วรศักดิ์ มหัทธโนบล อธิบายเรื่องนี้ไว้ใน “คำจีนสยาม ภาพสะท้อนปฏิสัมพันธ์ไทย-จีน” (สำนักพิมพ์.อัมรินทร์ พ.ศ. 2555) ว่า...
เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการทำธุรกิจเกี่ยวกับรถที่ปลดประจำการจำนวนมาก จนขยายต่อมาเป็นการค้าขายอะไหล่เก่าญี่ปุ่นครั้งแรกในเมืองไทย
ร้านค้าอะไหล่เก่าเหล่านั้น จะตั้งรวมกันอยู่แถวย่านศาลเจ้าเซียงกง หลังโรงหนังโอเดียน(วงเวียนโอเดียนในปัจจุบัน)
คนที่จะเดินทางไปซื้ออะไหล่เก่า
จึงมักจะพูดว่า ไปซื้ออะไหล่แถวศาลเจ้าเซียงกง พอนานเข้า นานเข้า คำว่าศาลเจ้ามันยาวไป ก็ตัดคำเหลือเพียง ไปซื้ออะไหล่ที่เซียงกง
กัน แค่นั้นพอ
ทุกคนก็เป็นอันเข้าใจว่า คือการไปซื้ออะไหล่เก่า แถวศาลเจ้าเซียงกง
ภาพจากautoinfo
ภาพจากDek D
พอการค้าขายอะไหล่เก่าเริ่มเติบโต สถานที่ก็เริ่มคับแคบ จึงมีการขยายร้านออกมาหลายย่าน หลายทำเลทั้งย่านปทุมวัน จนมารังสิต วังน้อย
บางนา บางพลี พระราม 3 จนขยายไปยังต่างจังหวัดทั่วประเทศ
และเพื่อทำให้คนซื้อ เข้าใจได้ถูกต้อง ไม่เกิดความสับสน
ร้านขายอะไหล่เก่าญี่ปุ่นเหล่านี้
ก็เลยใช้ชื่อเป็นเซียงกง หรือเชียงกงกันหมด ไม่ว่าจะไปเปิดใหม่ ที่ไหนอีกกี่แห่งก็ตาม
ภาพจาก Auto Mthai
จะว่าไป คำที่ใช้เรียกย่านการค้าอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเมืองไทย ไม่ได้มีแต่เฉพาะ เซียงกง เท่านั้น
เรายังมี บ้านหม้อ คลองถม โบ๊เบ๊ ประตูน้ำ โรงเกลือ ฯ
ที่ไม่ว่าจะมีการไปเปิดขายของลักษณะเดียวกันกับย่านการค้าต้นแบบที่ไหนในประเทศไทย
ก็จะต้องเอาชื่อย่านเหล่านี้ไปตั้งร่วมไว้ เพื่อให้คนซื้อทราบว่า ที่นี่ขายอะไรและทำให้คนซื้อเป็นที่เข้าใจตรงกันได้ง่าย ๆ นั่นเอง
ปัจจุบันอะไหล่ เก่าญี่ปุ่น เริ่มเป็นธุรกิจที่ทำได้ยากขึ้น เพราะมีคู่แข่งต่างชาติเข้าไปแย่งซื้อ และอะไหล่รถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มจะเปลี่ยนเทคโนโลยีเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ที่ไม่ตรงกับรถยนต์ในบ้านเรา ที่ยังใช้รถยนต์เชื้อเพลิงฟอสซิลกันอยู่เป็นส่วนใหญ่
1
ในสภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดีเช่นนี้ เมื่อรถเสีย ต้องซ่อมแซม หากพ้นระยะรับประกันแล้ว บางที อะไหล่เซียงกง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่น่าจะประหยัดงบในกระเป๋าลงได้
แต่ก็นั่นแหละครับ ของถูก ของดี อาจจะมีหรือไม่มีเราก็ไม่รู้
การเลือกอะไหล่เก่ามือสอง เราต้องเลือกให้เป็น
ของแบบนี้ตาดีได้ ตาร้ายซวย เปลี่ยนอะไหล่แล้วใช้ไม่ได้ ก็มีเกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจำ
ขับรถ อย่าขับอย่างเดียว เราควรหาความรู้เกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ในรถยนต์ของเราไว้บ้าง จะเปลี่ยน
จะซ่อมอะไร จะได้ไม่กลายเป็นหมูสามชั้นให้อู่หรือร้านอะไหล่ ต้มจิ้มน้ำจิ้มเสียเปล่า ๆ
ควรซ่อมไหมฮะ..?
ขอบคุณนักอ่านที่รักทุกท่าน
ติดตามอ่านบทความดี ๆ ได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา