Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
10 ก.ย. 2020 เวลา 23:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
DW คืออะไร ?
DW หรือ Derivative Warrants แปลตรงตัวคือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่งที่มีความยืดหยุ่นสูง และซื้อขายเสมือนหุ้นตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยนักลงทุนสามารถใช้ DW เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยง หรือใช้เก็งกำไรระยะสั้นได้ทั้งในตลาดขาขึ้น (Call) และตลาดขาลง (Put)
4
พูดง่ายๆ DW ก็คล้ายๆ Warrant ตัวหนึ่ง ที่จะมีราคาเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับราคาของหลักทรัพย์อ้างอิง (หรือเรียกว่าหุ้นแม่) นั่นเองค่ะ
⛳ ลักษณะสำคัญของ DW
📌 DW ถือเป็นหุ้นชนิดหนึ่ง ที่ราคาเคลื่อนไหวตามราคาของหุ้นอ้างอิง
📌 เป็นหลักทรัพย์ที่ซื้อขายได้บนกระดานตลาดหลักทรัพย์ เช่นเดียวกับหุ้น
📌 เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสการลงทุนเก็งกำไรในระยะสั้น หรือ เพื่อบริหารความเสี่ยง
⛳ DW มี 2 ประเภท คือ Call และ Put
👉 Call DW ( C ) จะวิ่งตามหุ้นแม่ ดังนั้น Call DW จะปรับตัวสูงขึ้นหากหุ้นแม่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
👉 Put DW P ) จะวิ่งสวนหุ้นแม่ ดังนั้น Put DW จะปรับตัวสูงขึ้นหากหุ้นแม่ปรับตัวลดลง
1
💥 สรุปคือ หากมองหุ้นแม่ขึ้น เทรด Call DW หากมองหุ้นแม่ลงเทรด Put DW ซึ่งทำให้ DW สามารถใช้เก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
⛳ รหัส DW ดูยังไง ?
UUUU : ชื่อย่อ 4 หลัก ของหลักทรัพย์อ้างอิง
XX : รหัสผู้ออก 2 หลัก (หมายเลขบริษัทสมาชิก SET)
C,P : ประเภทของ DW (C = Call, P = Put)
YY : ปี ค.ศ. 2 หลักสุดท้ายของวันซื้อขายสุดท้าย (Last trading month)
MM : เดือน 2 หลัก ของวันซื้อขายสุดท้าย (Last trading month)
A : รุ่น โดยเรียงจาก A-Z ตามรุ่นที่มี Last trading month เดียวกัน
ตัวอย่าง :
CPF01C2012A >> Call DW อ้างอิงหุ้น CPF ออกโดย บล.บัวหลวง ซื้อขายวันสุดท้ายเดือน ธ.ค. 2020 รุ่น A
⛳ ถ้าจะเลือกหุ้น DW ต้องดูอะไรบ้าง
📌 อายุคงเหลือของ DW เนื่องจากอายุของ DW มีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจ นักลงทุนควรเลือกให้เหมาะกับสไตล์การลงทุนของตัวเอง เช่น ถ้า DW มีอายุเหลือต่ำกว่า 1 เดือน ก็จะมีความเสี่ยงสูง จากการลดลงของมูลค่าทางเวลา แต่ถ้า DW มีอายุคงเหลือมากเกินไป ก็จะส่งให้อัตราทดต่ำไปด้วย ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับการเก็งกำไรระยะสั้น เป็นต้น
📌 อัตราทดของ DW โดย DW ที่มีอัตราทดสูง จะส่งผลให้ผลตอบแทนเป็นสัดส่วนที่มากกว่า แต่ถ้ามองผิดทาง ก็มีโอกาสขาดทุนได้มากกว่าเช่นเดียวกัน
1
⛳ แล้วทำไม DW ถึงน่าสนใจ ?
📌 มีอัตราทด กล่าวคือ DW ทำให้มีอัตราทดในการลงทุน จึงทำให้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงขึ้น หากคาดการณ์ทิศทาง
ราคาหุ้นแม่ได้ถูกต้อง เช่น Call DW ที่มีอัตราทด 5 เท่า เมื่อหุ้นอ้างอิงปรับตัวขึ้น 1% Call DW จะปรับตัวขึ้นประมาณ 5%
📌 ใช้เงินลงทุนไม่มาก ด้วยอัตราทดของ DW ทำให้นักลงทุนสามารถใช้เงินลงทุนน้อยลงได้ และการลงทุนขั้นต่ำในกระดานปกติคือ 100 หน่วย ดังนั้นหาก DW ราคา 1 บาท ด้วยเงิน 100 บาท ก็สามารถเริ่มต้นลงทุนใน DW ได้แล้ว
📌 สามารถเก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ปกติการลงทุนส่วนใหญ่จะลงทุนเมื่อหุ้นขึ้น แต่ DW สามารถเก็งกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง หากมองหุ้นแม่ขึ้น เทรด Call DW หากมองหุ้นแม่ลง ก็เทรด Put DW
📌 ความมั่นคงของหุ้นอ้างอิงค่อนข้างสูง เพราะ DW มีเฉพาะหุ้นในดัชนี SET100 ทำให้นักลงทุนมั่นใจได้อย่างหนึ่งว่าหุ้นที่จะเลือกลงทุนนั้นมีพื้นฐานดีและถูกคัดเลือกจากตลาดหลักทรัพย์มาแล้ว
📌 จำกัดการขาดทุนได้ เป็นเหมือนเป็นการซื้อขายราคาหุ้นในช่วงแคบๆ การขาดทุนจึงจำกัดอยู่แค่จำนวนเงิน DW ที่เราซื้อหรือขายเท่านั้น
📌 ใช้ได้ทั้งเพื่อการเก็งกำไรและบริหารความเสี่ยง เช่น หากเราถือหุ้น AOT ไว้และคาดว่าราคาหุ้นในอนาคตจะลดลง หากเราไม่อยากขายหุ้นแล้วมาซื้อกลับภายหลัง เพราะอาจกลัวปัญหาสภาพคล่องตอนจะซื้อคืน การเลือกซื้อ Put Warrant ก็ช่วยลดความเสี่ยงจากหุ้นขาลงได้ เนื่องจากถึงแม้หุ้นในพอร์ตเราจะมีมูลค่าลดลงจากการที่หุ้นตก แต่เราก็สามารถทำกำไรจาก Put Warrant ได้มาชดเชย
1
📌 ไม่ต้องเปิดบัญชีเพิ่ม การซื้อขาย DW เสมือนการซื้อขายหุ้นตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเปิดพอร์ตใหม่หรือลงนามในสัญญาเพิ่ม สามารถลงทุนได้จากพอร์ตหุ้นปกติได้เลย นอกจากนี้สามารถซื้อขายได้จากโบรกเกอร์ได้ทุกแห่ง
🚨 ความเสี่ยงของ DW
📌 ราคา DW จะผันผวนและเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิง หากคาดการณ์ทิศทางผิด อาจทำให้เกิดการขาดทุนได้สูงกว่า ดังนั้นการเทรด DW ต้องรู้จักควบคุมความเสี่ยง และหมั่นตรวจสอบสุขภาพการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
📌 มีค่าเสื่อมเวลาจากการถือครอง การถือ DW ข้ามวันจะมีค่าเสื่อมเวลาจากการถือครอง ดังนั้นนักลงทุนควรวางแผนให้ชัดเจนทุกครั้งก่อนลงทุนว่าจะถือครองเป็นเวลาเท่าใด
📌 DW มีอายุจำกัด โดยปกติ DW จะมีอายุประมาณ 4-6 เดือน เมื่อเวลาผ่านไป อายุคงเหลือของ DW จะลดลงเรื่อยๆ โดยหาก DW ที่มีอายุคงเหลือยิ่งสั้น ส่วนใหญ่จะมีระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย และที่สำคัญนักลงทุนควรขายคืน DW ก่อนวันซื้อขายวันสุดท้าย
1
📌 ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของ DW หน้าที่ของผู้ดูแลสภาพคล่องคือการวาง Bid-Offer ให้นักลงทุนสามารถซื้อขาย DW ที่ราคาที่สัมพันธ์กับราคาและปริมาณเสนอซื้อเสนอขายของหลักทรัพย์อ้างอิง ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนใน DW กับผู้ออกที่มีความน่าเชื่อถือ
........อย่าลืมนะคะ ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรทำความเข้าใจในสิ่งที่จะลงทุนอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อลดโอกาสการขาดทุน และเพิ่มโอกาสการได้กำไรที่มากกว่านะคะ 😉
ที่มา :
https://www.set.or.th/set/education/html.do?name=dw
https://www.thaiwarrant.com/th/knowledge/articlesdetail.asp?id=69
https://knowledge.bualuang.co.th/knowledge-base/dw/#:~:text=Derivative%20Warrants%20
(DW
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
Website :
https://accounting.bsv-th.com/
ขอบคุณทุกกำลังใจและการติดตามเช่นเคยนะคะ 🙏🙏😘😘
48 บันทึก
72
51
34
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
48
72
51
34
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย