Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
11 พ.ย. 2020 เวลา 13:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
IPO คืออะไร ทำไมนักลงทุนต้องทำความเข้าใจ
สำหรับมือใหม่ที่เริ่มหัดลงทุนในหุ้นนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเจอกับคำศัพท์แปลกๆ ที่ไม่รู้ว่าคืออะไร แต่คำพวกนี้กลับเป็นสิ่งที่นักลงทุนในหุ้นจะต้องรู้จัก ดังนั้นหากใครที่ยังไม่เคยลงทุนในตลาดหุ้นมาก่อน เราลองมาทำความรู้จักกับคำนี้ " IPO " ที่จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการลงทุนได้มากขึ้นค่ะ
1
⛳ IPO หรือ Initial Public Offering
หมายถึง การออกและเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ซึ่งที่เห็นทั่วไปจะเป็นหุ้นของบริษัทที่ออกใหม่แต่บางครั้งเราก็อาจเห็นกองทุนที่เปิดใหม่ก็เรียกกันว่า IPO เช่นกัน แต่ในที่นี้เราจะเน้นถึงหุ้นของบริษัทที่ออกและเสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกค่ะ
⛳ ประเภทของ IPO แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
📌 ประเภทแรก คือ IPO ที่ออกและเสนอขายในประเทศ (Domestic IPO) ส่วนนี้จะมีเรื่องการขออนุญาตและยื่นแบบคำขอและแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวนการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ Filing) กับ สำนักงาน กลต. และจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์
1
📌 ประเภทที่ 2 คือ IPO ที่ออกและเสนอขายในประเทศและต่างประเทศด้วย (International Offering) คือนอกจากจะดำเนินการกับสำนักงานกลต. ไทยและตลาดหลักทรัพย์ไทยแล้ว ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย
⛳ วัตถุประสงค์ของการ IPO ของบริษัท
การนำหุ้น IPO ออกมาเสนอขายนี้ ก็เพื่อผลประโยชน์ของบริษัทเอง ซึ่งได้แก่
📌 การเพิ่มช่องทางการระดมทุนของบริษัท ซึ่งก็คือการ IPO ในตลาดหุ้น โดยบริษัทจะนำเสนอขายหุ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม หรืออาจเรียกว่าเป็นการระดมทุนด้วยวิธีขายหุ้น ซึ่งดีกว่าการกู้ยืมเงินจากธนาคารที่ต้องเสียดอกเบี้ยนั่นเองค่ะ
📌 สร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพิ่มชื่อเสียงให้กับบริษัท เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะที่บริษัทได้ผ่านการพิจารณาจาก สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทที่มีผลการดำเนินงานที่ดี และมีฐานะมั่นคงในระดับหนึ่ง รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส
📌 ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงทางธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น เป็นแรงจูงใจให้เกิดความสนใจในการเข้าร่วมลงทุนจากกลุ่มธุรกิจทั้งในประเทศ และต่างประเทศ การมีแนวร่วม พันธมิตรทางธุรกิจที่สามารถเกื้อกูลระหว่างกันทั้งในด้านการตลาด การผลิต เทคโนโลยี การเงิน และบุคลากร ย่อมส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน
📌 สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินปันผล ในกรณีที่บริษัท เข้าไปถือหุ้นในบริษัทอื่น เงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทอื่นดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ (แต่เงินที่ได้รับดังกล่าวต้องเป็นเงินที่ได้รับจากหุ้นหรือหน่วยลงทุนที่ถือไว้ไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อน และหลังวันที่ได้รับเงินปันผล)
⛳ นักลงทุนจะได้อะไรจากการ IPO
สิ่งที่นักลงทุนจะได้ ก็คือเงินปันผลเหมือนกับหุ้นอื่นทั่วไป และเสริมสร้างสภาพคล่องให้กับผู้ถือหุ้น เนื่องจากสามารถขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ทันที อีกทั้งกำไรที่ได้จากการขายหุ้น ยังได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย
⛳ สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อหุ้น IPO ได้แก่
📌 เรื่องการเงิน และธุรกิจที่ทำตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
📌 มีใครเป็นผู้บริหาร มีใครถือหุ้นหลักในบริษัทบ้าง
📌 ราคาหุ้นที่นำออกมาขายราคาเท่าไหร่
📌 วัตถุประสงค์ของการระดมทุนจะเอาไปใช้ในด้านไหน
📌 ดูผลตอบแทนที่จะได้รับด้วยว่าคุ้มหรือเสี่ยงแค่ไหน
2
💦.....คนส่วนใหญ่จะคิดว่าหุ้น IPO จะเป็นหุ้นที่จะมีมูลค่าสูงในอนาคต คิดว่าราคาจะต้องดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะบริษัทเอาเงินไปหมุนเวียนในธุรกิจ แต่หาใช่ว่าจะเป็นแบบนั้นเสมอไป หุ้น IPO บางครั้งก็มีความเสี่ยงที่จะมีมูลค่าลดลงได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถการบริหารงานของบริษัทด้วย
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้นใหม่หรือหุ้นที่มีอยู่แล้วในตลาดหลักทรัพย์ ความเสี่ยงในการลงทุนก็ย่อมมีเหมือนกัน ดังนั้นใครที่เป็นมือใหม่ อย่าเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อทันทีที่เห็นการเปิดตลาดวันแรก เพื่อความระมัดระวังก่อนซื้อก็ต้องทำความรู้จักกับบริษัทที่เปิดตัวซื้อขายหุ้นวันแรกให้ดีเสียก่อน
ที่มา :
https://www.set.or.th/th/products/listing2/listing_set_p6.html
https://www.efinancethai.com/MoneyStrategist/MoneyStrategistMain.aspx?id=anorVVM5WWR5L3c9
https://blog.sbito.co.th/1036
https://www.settrade.com/brokerpage/IPO/StaticPage/Education/ipo_investor_t.html
1
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
Website :
https://accounting.bsv-th.com/
ขอบคุณทุกกำลังใจและการติดตามนะคะ 🙏🙏😘😘
37 บันทึก
63
196
20
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
37
63
196
20
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย