Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Healthy Hub
•
ติดตาม
9 ก.ย. 2020 เวลา 09:14 • สุขภาพ
ใครชอบกินเค็ม ฟังทางนี้ !!
ถ้าจะพูดถึงเรื่องรสชาติของอาหาร ใครๆก็อยากทานอาหารอร่อย รสชาติเด็ดๆ แต่คนเราจะมีความชอบแตกต่างกัน รสชาติอาหารก็เช่นกัน บางคนชอบเปรี้ยว บางคนชอบหวาน บางคนชอบเผ็ด บางคนชอบทานจืดๆ บางคนชอบเค็ม แต่ขอบอกว่าใครที่ชอบทานเค็ม ต้องระวัง
เพราะคนที่ชอบทานเค็ม จะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพในภายหลังได้ เช่น โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต นอกเหนือจากนี้แล้วโทษจากการกินเค็มมาก ยังทำให้เกิดโรคหอบหืดชนิดรุนแรงขึ้นได้ ทั้งยังเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะไมเกรน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน รวมถึงโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้มากขึ้นอีกด้วยนะคะ
🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒🍒
⭐ มาดูกันว่า คุณชอบกินเค็มไหม ? ⭐
1. ชอบกินน้ำจิ้ม ซอสต่างๆ
1
มีหลายคนชอบกินน้ำจิ้ม ซอสต่างๆ เช่น เวลาทานต้องราดน้ำจิ้มเยอะๆ ซอสเยอะๆ ซึ่งอาหารบางอย่างก็มีโซเดียมมากอยู่แล้ว แต่หากคุณราดน้ำจิ้มหรือซอส เพิ่มเข้าไปอีก ยิ่งทำให้โซเดียมเพิ่มมากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นเป็นไปได้อย่าทานเยอะ ควรทานแต่พอดีนะคะ
2. ชอบซดน้ำยำและน้ำส้มตำ
ใครสาวกปลาร้า หรือน้ำยำ ต้องระวังนะคะ แซ่บแต่แฝงภัยร้ายนะคะ บอกไว้ก่อน ซึ่งยำกับส้มตำนี่บอกเลยว่าเป็นอาหารสุดโปรดของคนจำนวนมากเลยทีเดียว ยิ่งมาแบบครบรส เปรี้ยว หวาน เผ็ด เค็ม โดนใจจัด ซดน้ำหมดจาน แค่อย่าลืมนะคะโซเดียมเข้าไปด้วยเป็นจำนวนมาก
1
ซึ่งน้ำยำหรือส้มตำ มีการเติมผงปรุงรสเยอะ และไม่ค่อยเพิ่มรสชาติ จึงทำให้ต้องเติมเครื่องปรุงอื่นๆเข้าไปเพิ่มอีก รวมถึงปลาร้าก็โซเดียมสูงอยู่แล้วเช่นกันลงไปด้วย ก็ยิ่งได้รับโซเดียมมากเกินไปใหญ่
3. ชอบปรุงรสอาหารเพิ่ม
จะบอกว่า น้ำปลา ปลาร้า พริกแกง และกะปิ 4 อย่างนี้เป็นเครื่องปรุงที้มีโซเดียมสูงอยู่แล้ว หากนำไปปรุงอาหารและมีการเติมรสชาติเพิ่มเติมเข้าไปอีกในภายหลัง ก็ยิ่งเพิ่มเติมโซเดียมเข้าไปเพิ่มอีกด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น ควรระมัดระวัง ปรุงรสอาหารกันแต่พอดีนะคะ
4. ชอบกินอาหารสำเร็จรูป
ปลากระป๋อง มาม่า ขนมกรุบกรอบ ผลไม้กระป๋อง ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ มีการเติมเกลือและสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมอยู่ในปริมาณที่สูงมากๆ ในปัจจุบันคนชอบทานอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น เพราะสะดวกสบาย และรวดเร็ว แต่จงคำนึงถึงสุขภาพร่างกายกันด้วยนะคะ ทานอต่พอดีอย่าทานเป็นประจำซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณในภายหลังได้ค่ะ
5. ชอบปรุงรสด้วย ผงชูรส
มีหลายบ้านที่ชอบปรุงรสด้วยผงชูรส จริงไหมคะ ? เพราะบางคนบอกว่าปรุงรสด้วยผงชูรสแล้วมันอร่อย เลยทำให้หลายๆบ้านขาดไม่ได้เลย แต่ในผงชูรสมีปริมาณของโซเดียมสูงมากๆ แม้จะไม่มีรสชาติเค็มก็ตาม รวมไปถึงอาหารสำเร็จรูปต่างๆตามท้องตลาดก็มักจะมีส่วนผสมของ ผงชูรส กันทั้งสิ้น อร่อยแต่มีโทษ โปรดระวังกันด้วยนะคะ
1
6. ชอบกินขนมต่างๆ ที่มีการใช้ผงฟู ( Baking powder หรือ Baking soda ) เช่น พวกขนมเค้ก คุ๊กกี้ แพนเค้ก ต่างๆ ถึงแม้ขนมเหล่านี้จะไม่มีรสชาติเค็ม แต่ใช่ว่าจะไม่มีโซเดียมสูงนะคะ เพราะในผงฟูที่นำมาทำขนมเหล่านี้มีส่วนผสมของโซเดียมอยู่เป็นจำนวนมาก ( โซเดียมคาร์บอเนต ) รวมไปถึงพวกแป้งสำเร็จรูปก็มีส่วนผสมของโซเดียมเป็นจำนวนมากเช่นกัน เพราะฉะนั้น ของกินบางชนิดอาจจะไม่ได้รวเค็มแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโซเดียมนะคะ
1
7. ชอบปรุงก่อนแล้วชิมทีหลัง
อาหารส่วนใหญ่มักจะปรุงมาก่อนแล้วทั้งนั้น แต่คนส่วนใหญ่ชอบปรุงเพิ่มเติมก่อนแล้วค่อยชิมทีหลัง ไม่ว่าจะเป็นการเติมน้ำปลา น้ำตาล ซอสต่างๆ สิ่งเหล่านี้มีปริมาณของโซเดียมสูงอยู่แล้วทั้งสิ้น หากคุณเติมเพิ่มเข้าไปอีกยิ่งเพิ่มปริมาณโซเดียมในอาหารมากยิ่งขึ้น
8. ชอบกินน้ำซุป
ในน้ำซุปส่วนใหญ่ก็มีการปรุงรสมาเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะผงปรุงรส หรือเครื่องปรุงอื่นๆ ซึ่งมีหลายๆคนชอบน้ำซุปที่เข้มข้นเพราะยิ่งทำให้เกิดรสชาติที่ถูกปาก แล้วซดจนหมดถ้วย ซึ่งในน้ำซุปเหล่านี้มีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง หากใครชอบซดน้ำซุปล่ะก็ พยายามทานแต่พอดีนะคะ อย่าซดมากจนเกินไป เพราะอาจจะนำโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปค่ะ
9. ชอบกินอาหารรสจัด
หลายๆคนชอบกินอาหารรสจัด บางคนทำอาหารรสจัดอยู่แล้ว หรือสั่งรสจัดอยู่แล้ว แต่ปรุงเพิ่มอีกภายหลัง อันนี้ต้องระวังมากกว่าอย่าองื่นเลยนะคะ เพราะอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน ครบเครื่อง มักจะมีส่วนผสมของเครื่องปรุงมาเยอะอยู่แล้ว ซึ่งเครื่องปรุงเหล่านี้ แต่ละอย่างก็มีโซเดียมในปริมาณสูง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดกันด้วยนะคะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ วิธีลดพฤติกรรมการกินเค็มและถนอมไต ⭐
https://pin.it/1uT9puu
1. ชิมรสชาติอาหารทุกครั้ง ก่อนที่จะปรุงอะไรเพิ่มลงไป เพื่อลดการได้รับความเค็มมากจนเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการ
2. ลดการทานน้ำจิ้มลงหรือจิ้มเพียงเล็กน้อย ก็จะช่วยลดการรับโซเดียมลงไปได้อย่างมาก
3. ลองหันมาทำอาหารเองบ้างนะคะ จะช่วยลดการรับปริมาณโซเดียมลงไปได้ ที่สำคัญคือต้องคุมการปรุงรสชาติอาหารให้ได้ด้วยนะคะ อย่าตามใจปาก
4. ลดการซดน้ำซุปต่างๆ ลง เน้นรับประทานเฉพาะเส้นและเครื่องเคียง ก็สามารถช่วยลดปริมาณโซเดียมที่จะได้รับในแต่ละวันลงไปได้เยอะเลยค่ะ
5. ลดความถี่ในการกินอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด เช่น ปลาร้า กะปิ หรือหากต้องกิน ก็ให้ลดการปรุงรสส่วนอื่นลง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณโซเดียมได้เช่นกันค่ะ
6. บอกพ่อค้าแม่ค้าให้ลดการเติมผงชูรส ลดเค็มหรือทำอาหารให้มีรสเค็มน้อยๆ ก็สามารถช่วยลดโซเดียมลงได้ หรือถ้าเป็นไปได้ไม่ใส่เลยยิ่งดีค่ะ
3
7. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อวัน ไม่มากไม่น้อยจรเกินไป สำหรับคนปกตินะคะ อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน แต่ถ้าหากเป็นผู้ป่วยไตเสื่อมแล้วดื่มเยอะมากเกินไปก็ไม่ดีเพราะไตไม่แข็งแรงค่ะ
1
8. ลดการทานอาหารที่มีรสจัดและโซเดียมสูง เพราะหากทานมากเกินไปส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณได้แน่นอนในภายหลัง หากอยากสุขภาพไตดีก็พยายามลดปริมาณโซเดียมลงนะคะ
1
9. ออกกำลังกายเพื่อขับเหงื่อ อันนี้ก็ช่วยได้ค่ะ ออกกำลังกายอะไรก็ได้แล้วแต่ความชอบและความถนัดของแต่ละคนเลย ขอเพียงแค่ให้มีเหงื่อออกก็ช่วยขับเกลือและโซเดียมออกมากับเหงื่อได้แล้วค่ะ และยังช้วยให้ไตทำงานได้ดีด้วยนะคะ ดังนั้นมาออกกำลังกายกันเถอะค่ะ
🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓🍓
ร่างกายของมนุษย์มีโซเดียมอยู่ในของเหลวของร่างกายอย่างเลือด ปัสสาวะ และเหงื่อประมาณ 250 กรัม ซึ่งปริมาณโซเดียมที่คุณจำเป็นต้องทานนั้นไม่ควรเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าเราไม่ควรทานเกลือเกินวันละ 5 กรัม หรือเทียบเท่าประมาณ 1 ช้อนชา
สำหรับใครที่ชอบกินอาหารเค็มจะเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณเกลือเกินไป ซึ่งคือการไม่ได้สัดส่วนของเกลือและน้ำในร่างกายส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับความดันโลหิต ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้การได้รับโซเดียมสูงในระยะยาวยังเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะกระดูกผุ และโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชอบรับประทานเค็มอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากเริ่มจากทีละขั้นตอนช้าๆเพื่อให้ร่างกายได้ปรับเปลี่ยนและเกิดความเคยชินจะทำให้ได้ผลในระยะยาวที่ดีกว่า
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
อ้างอิง
https://www.curejoy.com/content/why-do-i-crave-salty-foods/
🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷🌷
9 บันทึก
61
45
33
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Food and Health ( อาหารและสุขภาพ)
9
61
45
33
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย