10 ก.ย. 2020 เวลา 02:45 • สุขภาพ
‘มะเร็งเต้านม’ ครองแชมป์อันดับ 1 คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลก
คุณผู้หญิงอย่ามองข้ามมะเร็งเต้านม เพราะในระยะเริ่มต้น อาจเป็นภัยเงียบ ที่ไม่แสดงอาการให้คุณรู้ โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2018 พบว่า ในทุก ๆ หนึ่งชั่วโมง จะมีหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 2.2 คน หรือเฉลี่ยมากถึง 53 คน/วัน
หากเราตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี มากกว่า 80% แต่หากตรวจพบในระยะรุนแรง จะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี ราว 10-40% จึงแนะนำคุณผู้หญิง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงวัย 40 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram) ร่วมกับการทำอัลตราซาวน์ เพราะสามารถตรวจเจอได้แม้จุดหินปูน และก้อนที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งการคลำด้วยมืออาจไม่สามารถตรวจพบได้ และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 20%
รู้จักมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก็พบมะเร็งเต้านมได้เช่นกันแต่ไม่บ่อยนัก โดยประมาณ 90% ของมะเร็งเต้านมเกิดจากต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม จึงมีโอกาสมากที่จะพบการเกิดมะเร็งในเต้านมทั้งสองข้าง ทั้งในระยะแรกและหลังจากการตรวจวินิจฉัย อย่างไรก็ดี การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม
- อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
- มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม โดยผู้ป่วยที่เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นที่ข้างหนึ่งมีความเสี่ยง 3-4 เท่าในการที่จะเกิดก้อนมะเร็งขึ้นที่เต้านมอีกข้าง
- มีประวัติการเป็นมะเร็งรังไข่ เนื่องจากการเป็นมะเร็งรังไข่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสฮอร์โมน จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
- การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และการมีประวัติมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ ในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย
- การสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางเพศ โดยพบว่าการสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
- ลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับรังสีในปริมาณสูง
อาการมะเร็งเต้านม
บางครั้งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม อาจไม่มีอาการของมะเร็งเต้านม หรือบางครั้งอาการผิดปกติที่เป็นอาจไม่ใช่โรคมะเร็งก็ได้ ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
มีก้อนหนาๆ ในเต้านมหรือใต้แขน
บริเวณหัวนมบุ๋ม มีน้ำเหลือง หรือมีแผล
เต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
มีอาการปวดบริเวณเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านม
การรักษามะเร็งเต้านมจะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
อายุและสุขภาพของผู้ป่วย
ตัวรับฮอร์โมนของมะเร็ง
ภาวะก่อนหรือหลังหมดประจำเดือน
ปัจจัยที่บ่งบอกความรุนแรงของเนื้องอก เช่น ยีน HER2
ตรวจก่อน ชัวร์กว่า! ซื้อแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม คลิก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา