Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad International
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
5 ต.ค. 2020 เวลา 15:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำความรู้จัก "โรคไวรัสตับอักเสบซี" ที่ทำให้สามนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปีนี้
ไวรัสตับอักเสบซี เป็นโรคที่พบได้บ่อยพอควร โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะไม่ทราบมาก่อนว่ามีเชื้อนี้อยู่ในร่างกาย จะทราบได้ก็ต่อเมื่อไปตรวจร่างกายแล้วพบค่าการอักเสบของตับผิดปกติ และตรวจเลือดพบการติดเชื้อ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
เชื้อไวรัสตับอักเสบซีเมื่อเข้าไปในร่างกายจะแบ่งตัวและอาศัยอยู่ในตับ ระยะแรกทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมักจะมีอาการไม่มาก ทำให้ผู้รับเชื้อไม่ทราบว่ามีตับอักเสบ โดยประมาณเกือบ 8% ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีการติดเชื้อเรื้อรังและตามมาด้วยตับอักเสบแบบเรื้อรังแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ค่อยมีอาการชัดเจน ผ่านไปประมาณ 10-30 ปีจึงเข้าสู่ระยะตับแข็ง
1
และอีกสิบปีต่อมาจึงถึงระยะท้ายของโรคตับแข็ง เมื่อมีโรคตับแข็งเกิดขึ้นจะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ประมาณ 1-3% ต่อปี (ใน 100 คนที่เป็นโรคตับแข็งจากไวรัสซี ถ้าติดตามไป 1 ปีจะมี 3 คนเป็นมะเร็งตับ)
ไวรัสตับอักเสบซีแบ่งออกเป็น 6 ชนิด
ในประเทศไทยพบชนิดที่ 1 และ 3 พอๆ กัน คือชนิดละ 40%
รองลงไปจะเป็นชนิดที่ 2
ส่วนชนิดที่ 4, 5 และ 6 นั้นพบน้อย
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจว่าไวรัสตับอักเสบซีที่เป็นนั้นเป็นชนิดอะไร เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคต่อไป เนื่องจากการรักษาไวรัสแต่ละชนิดมีความยากง่ายแตกต่างกัน
2
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีและควรได้รับการทดสอบหาเชื้อ
ผู้ที่เคยได้รับเลือดและสารเลือดก่อนปี พ.ศ.2535 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะก่อนปี พ.ศ.2535
ผู้ที่มีการฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือด ถึงแม้ว่าทดลองใช้เพียงครั้งเดียว
ผู้ป่วยโรคเอดส์
ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ผู้ที่มีผลเลือดการทำงานของตับพบการอักเสบ
ผู้ที่ติดยาเสพติดใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจากการทำฟัน
ผู้ที่สำส่อนทางเพศหรือรักร่วมเพศ
ผู้ที่มีการสักตามตัว การใช้เข็มที่ติดเชื้อโรคสักผิวหนัง เจาะหู ฝังเข็ม
ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกเข็มตำจากผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
การใช้ของส่วนตัวที่เปื้อนเลือดร่วมกัน เช่น มีดโกน หรือกรรไกรตัดเล็บ
1
ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (ติดได้แต่พบน้อย)
การวินิจฉัย
ตับอักเสบเฉียบพลัน: วินิจฉัยโดยการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบ และตรวจพบ anti-HCV หรือนับปริมาณไวรัสในเลือด บางรายที่ตรวจไม่เจอในระยะแรกอาจต้องตรวจซ้ำอีก 2-8 สัปดาห์
ตับอักเสบเรื้อรัง: วินิจฉัยจากการพบการอักเสบของตับมากกว่า 6 เดือนร่วมกับการตรวจพบไวรัสในกระแสเลือด
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี
โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัสจะมีอาการคล้ายๆ กัน คือ ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง บวม มีน้ำในช่องท้อง ปวดชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ ตับม้ามโต
การที่จะแยกว่าเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดใดนั้น ต้องใช้วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการจึงจะทราบ
youtube.com
ไวรัสตับอักเสบ ซี อาการและการรักษา | โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพ
อนิเมชันแสดงผลกระทบของ โรคไวรัสตัวอักเสบ C ข้อมูลเพิ่มเติม: http://goo.gl/NpAU3L 📌 Facebook : http://bit.ly/2Qh1wzy 📌 Line : http://bit.ly/2q05DW9…
การรักษาไวรัสตับอักเสบซี
ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีบางรายเมื่อตรวจเลือดพบค่าการอักเสบของตับ แพทย์จะนัดตรวจเลือดอีกครั้ง 6-12 เดือน
แต่เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีไม่ควรเจาะเลือดก่อนอายุ 12 เดือนเนื่องจากเชื้อจากแม่ยังไม่หมด แนะนำให้ตรวจ anti-HCV เมื่อเด็กมีอายุ 18 เดือนขึ้นไป
ทั้งนี้การรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี แพทย์จะพิจารณาตามภาวะของโรคและโรคร่วมต่างๆ ที่ผู้ป่วยเป็น
วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด
ห้ามใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน
ห้ามใช้อุปกรณ์ในการสักร่วมกัน
ใช้ถุงยางอนามัยหากมีเพศสัมพันธ์หลายคน
การปฏิบัติตัวเมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
ดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ทำจิตใจให้สบาย อย่าวิตกกังวลหรือมีความเครียดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาการเจ็บป่วยของตนเอง
ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ บี
พักผ่อนให้เต็มที่ ไม่ควรทำงานหนักถ้ามีอาการอ่อนเพลียมาก
งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดอย่างเด็ดขาด
งดรับประทานยาที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น ยาลดไข้และยาแก้ปวดพาราเซตามอล สมุนไพร
รับประทานอาหารที่เหมาะสม
ออกกำลังกายเบาๆ ยกเว้นการออกกำลังกายชนิดที่ต้องหักโหมหรือตรากตรำทำงานหนัก
ไม่ควรบริจาคเลือด อวัยวะ หรือน้ำอสุจิ
หลีกเลี่ยงการใช้แปรงสีฟันและของมีคมร่วมกับผู้อื่น
หยุดการใช้ยาเสพติด
ตรวจเลือดเป็นระยะๆ (ทุก 3-6 เดือน) ตามที่แพทย์นัด เพื่อเฝ้าดูการดำเนินของโรค
อ่านเพิ่มเติม
bumrungrad.com
ไวรัสตับอักเสบซี - อาการและการรักษา - ระบบทางเดินอาหาร | บำรุงราษฎร์
ไวรัสตับอักเสบซี โดยทั่วไปผู้ป่วยมักจะไม่ทราบมาก่อนว่ามีเชื้อนี้อยู่ในร่างกาย จะทราบได้ก็ต่อเมื่อไปตรวจร่างกายแล้วพบค่าการอักเสบของตับผิดปกติ
7 บันทึก
19
1
27
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคภัย...ใกล้ตัว
7
19
1
27
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย