18 ก.ย. 2020 เวลา 02:06 • ประวัติศาสตร์
พระพุทธเจ้า(Gautam Buddha)ตอนที่5(ตอนจบ)
จากตอนที่แล้วหลังจากผองเพื่อนของยสะได้เข้ามาบวชแล้วด้วยกัน60รูป พระองค์จึงส่งสาวกเหล่านี้ไปประกาศหลักคำสอนของพระองค์ทั่วแผ่นดิน
ทำให้มีผู้คนมานับถือพระพุทธศาสนากันมากเพิ่มขึ้น
1
ส่วนตัวพระองค์เองเดินทางไปอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรในเมืองราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดเมืองหนึ่ง การที่จะประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรอยู่ในราชคฤห์ซึ่งมีศาสนาและเจ้าลัทธิอื่นอยู่ก่อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงพุ่งเป้าหมายเทศนาพระธรรมให้กับอุรุเวลกัสสปะก่อน ซึ่งถือว่าเป็นอาจารย์ใหญ่ที่สุดของเจ้าลัทธิเล็กลัทธิน้อย แม้กระทั่งพระเจ้าพิมพิสาร(กษัตริย์แห่งมคธในสมัยนั้น)ยังให้ความเคารพนับถือ
1
การเผยแพร่ศาสนาในมคธ
ด้วยแผนนี้ของพระองค์ทำให้พระพุทธศาสนา สามารถประดิษฐานในเมืองราชคฤห์ได้สะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้น เพราะเมื่ออุรุเวลกัสสปะให้ความเคารพ เลื่อมใสนับถือพระองค์แล้ว เหล่าศิษยานุศิษย์ของอุรุเวลกัสสปะซึ่งรวมถึงพระเจ้าพิมพิสาร ก็ย่อมที่จะมานับถือพระองค์ตามอุรุเวลกัสสปะอย่างแน่นอน เหตุนี้จึงทำให้พระพุทธศาสนาสามารถที่จะเผยแผ่ยังเมืองราชคฤห์ได้ และยังทำให้การประกาศหลักคำสอนของพระพุทธองค์ทำได้ง่ายขึ้นและยังรวดเร็วไปทั่วแผ่นดินได้ง่าย เนื่องจากราชคฤห์เป็นศูนย์กลางการค้าขายและมีผู้คนเข้าออกเมืองมาก จึงทำให้คนที่เข้ามาเมืองนี้ได้รู้ข่าว ก็พากันไปบอกกล่าวกันปากต่อปากในเมืงของตัวเอง เมื่อผู้ที่ทราบข่าวก็จะมาหาพระพุทธองค์และมาศึกษาพระพุทธศาสนาต่อไป
พระองค์ก็ได้ประกาศหลักคำสอนของพระองค์โดยใช้วิธีการต่างๆในแนวๆนี้เรื่อยๆมา ซึ่ง ณ เวลานั้นพระพุทธศาสนาเรียกได้ว่าสั่นคลอนถึงรากเง้าของความเชื่ออันเก่าแก่นับพันปีที่มีมาตั้งแต่ยุคพระเวทกระทบในวงกว้าง และในช่วงเวลาเดียวกันนี้เองก็มีการกำเนิดศาสนาใหม่ขึ้นมา คือศาสนาเชนโดยมีศาสดาชื่อพระมหาวีระ(มีหลักคำสอนที่อยู่บนพื้นฐานเหตุและผลเช่นกัน) แต่ไม่ได้มีแรงกระแทกเท่าพระพุทธศาสนา
ต่อมาครั้งเมื่อพระพุทธเจ้าอายุได้79ปี ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพาน
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เดินทางไปยังบ้านของนายจุนทะ นายจุนทะ ได้นำสุกรมัททวะ มาถวาย พระพุทธองค์ก็สั่งให้เอาสุกรมัททวะมาถวายเฉพาะพระองค์ ส่วนที่เหลือให้เอาไปฝังทิ้ง เพราะนอกจากพระองค์แล้ว ไม่มีผู้ใดที่จะสามารถบริโภคแล้วย่อยได้ จากนั้นทรงรับสั่งให้ถวายภิกษุสงฆ์ด้วยอาหารอย่างอื่น
พระพุทธเจ้าเสวยอาหารมื้อสุดท้าย
หลังจากพระพุทธเจ้าทานอาหารแล้ว เกิดป่วยหนักด้วยโลหิตปักขันทิกาพาธ แต่ทรงมีสติสัมปชัญญะ อดกลั้นทุกขเวทนาเหล่านั้นไว้
แล้วเดินทางไปยังอัมพวันพักผ่อนสักพักพอบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยแล้ว จึงตรัสสั่งกับพระอานนท์(เป็นน้องชายสิทธัตถะ)ว่า
“ อานนท์ ต่อไปภายหน้า หากมีใครทำความร้อนใจให้เกิดแก่นายจุนทะว่า “ ที่พระพุทธเจ้าต้องเสด็จปรินิพพาน ก็เป็นเพราะบริโภคอาหารของท่าน” อานนท์ เธอจงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของนายจุนทะ โดยชี้แจงแก่เขาว่า บิณฑบาตที่มีผลเสมอกัน มีอานิสงส์เสมอกัน มีผลใหญ่กว่า มีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ นั้นมีอยู่ 2 คราว คือ บิณฑบาตที่บริโภคแล้ว ตรัสรู้หมายถึง บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายในวันตรัสรู้ และบิณฑบาตที่บริโภคแล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง บิณฑบาตที่นายจุนทะถวายในวันปรินิพพาน”
1
ประเด็นนี้เป็นที่สงสัยกันอย่างมากในเหล่าพุทธศาสนิกชนและบุคคลทั่วไปที่ได้ทราบ จึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันยังมีพระภิกษุบางท่านก็ยังไม่เข้าใจประเด็นนี้
แม้พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระอานนท์แล้ว มีพุทธดำรัสปรากฏในพระไตรปิฎกอย่างชัดเจน
การที่พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานในวันนั้น ก็เป็นไปตามพระพุทธกำหนด และก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จมาถึงบ้านของนายจุนทะ แล้วได้บริโภคสุกรมัทวะนั้น พระองค์ก็ทรงป่วยมาก่อนแล้ว แม้ในขณะที่บริโภคอาหารของนายจุนทะก็อยู่ในระหว่างป่วย
ดังนั้น ไม่ว่าจะทรงเสวยอะไรก็ตาม ก็จะต้องเสด็จดับขันธ์ในวันนั้น พระพุทธเจ้าจึงไม่ได้ทรงปรินิพพานเพราะเสวยสุกรมัททวะ ที่ถูกควรจะพูดเสียใหม่ว่า พระพุทธเจ้าเสวยสุกรมัททวะในวันปรินิพพาน
หลังจากนั้นเดินทางไปยังเมือง กุสินารา เมื่อเสด็จถึงสาลวันอันเป็นพระราชอุทยานของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา และพระองค์ทรงเทศธรรม แล้วบอกวิธีปฏิบัติกับพุทธสรีระ จากการถามของพระอานนท์ ซึ่งให้ปฏิบัติแบบเดียวกับพระเจ้าจักรพรรดิ(สามารถดูกรรมวิธีจากอินเทอร์เน็ตได้)
เมื่อเวลาปรินิพพานของพระพุทธเจ้าใกล้เข้ามา พระอานนท์ผู้ที่ยังเป็นเสขบุคคล จึงไม่อาจ หักห้ามความโศกเศร้าไว้ได้ ออกไปยืนร้องไห้รำพันถึงการที่ตนติดตามอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามานาน จนกระทั่งพระพุทธองค์จะปรินิพพานแล้ว ตนเองก็ยังไม่ได้บรรลุพระอรหันต์เสียที เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบว่า พระอานนท์ได้เศร้าโศกเสียใจอยู่ จึงรับสั่งให้เรียกพระอานนท์มา แล้วตรัสประทานโอวาทแก่พระอานนท์ไม่ให้เศร้าโศกว่า
“ ความพลัดพลาด จากของรักของชอบใจทั้งสิ้นย่อมมีเป็นธรรมดา สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา อานนท์ เธอได้เป็นอุปัฏฐากตถาคต ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุขไม่มีสอง หาประมาณมิได้มาช้านานเธอได้กระทำดีไว้แล้ว จงประกอบความเพียรเถิด เธอจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยพลัน”
 
แล้วได้ตรัสสรรเสริญพระอานนท์ว่าเป็นยอดพุทธอุปัฏฐาก เป็นพหูสูต มีสติรอบคอบ มีความเพียร มีปัญญารู้จักกาลเทศะ และเมื่อบุคคลใดได้เข้าใกล้พระอานนท์ ย่อมยินดีที่ได้เห็น ได้ฟังธรรม พอใจในธรรม และไม่อิ่มในธรรมที่พระอานนท์แสดง
แล้วยังกล่าวปัจฉิมโอวาท เป็นวาจาสุดท้ายก่อนปรินิพพานว่า ” สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด”
กุสินาราสถานที่ปรินิพานของพระพุทธเจ้า
หลังจากนี้พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย ทรงสงบนิ่ง(ทำปรินิพพานบริกรรมด้วยอนุบุพพวิหารหรือสมาบัติทั้ง 9 )แล้วได้ "เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน"ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของเหล่ากษัตริย์, สาวก และมหามวลชน เป็นการสิ้นสุดการเดินทางของชีวิตมหาบุรุษและได้ทิ้งหลักธรรมคำสอนอันล้ำค่าไว้ให้กับเหล่าเพื่อนมนุษย์ได้ศึกษาปฏิบัติต่อไป และเป็นการเริ่มพุทธศักราชนับจากนี้มา ในบทความหน้าจะอธิบายสมัยของราชวงศ์เมารยา แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าสวัสดีครับ
สถานที่ให้เพลิงสรีระพระพุทธเจ้า
อ้างอิง
คัมภีร์:พระไตรปิฎก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา