11 ก.ย. 2020 เวลา 00:00 • ประวัติศาสตร์
พระพุทธเจ้า(Gautam Buddha)ตอนที่4
จากตอนที่แล้วหลังจากเจ้าชายสิทธัตถะได้ประทับนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์แล้ว หลังจากนั้นเจ้าชายอธิฐานด้วยจิตใจอันแน่วแน่ว่า"แม้เลือดในร่างกายจะแห้งเหลือแต่ หนัง เอ็นหุ้มกระดูก็ตามหากยังไม่ได้บรรลุพระธรรมอันประเสริฐสูงสุดนั้น เราจะไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์แห่งนี้"
พระพุทธเจ้าใต้ต้นศรีมหาโพธิ์
ณ บัดนั้น เจ้าชายสิทธัตถะได้ชัยชนะเหนือจิตชั่ว ร้ายได้ตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ทันได้ลับขอบฟ้า
จากนั้นพระองค์ก็ได้กำหนดจิตให้เข้าสู่สมาธิทรงรำลึกถึงความทุกข์แห่งการ เวียนว่าย ตาย เกิดที่วนเวียนเกี่ยวเนื่องกันไปไม่ยอมสิ้นสุด จนจิตเป็นสมาธิในเวลาเย็นก็เกิดปัญญาหยั่งรู้ถึงชาติที่เคยเกิดมาก่อน
พอเวลาได้เลยไปถึงค่อนคืนแล้วก็ทรงเกิด ปัญญา หยั่งรู้การเกิด การตายของเหล่าสัตว์ทั้งหลาย
พอถึงเวลาใกล้รุ่งเช้าก็เกิดปัญญาหยั่งรู้ถึงธรรมที่มีความดับแล้วซึ่งกิเลส ทุกอย่างในตอนนี้ จิตของพระองค์ได้พ้นจาก กิเลสในสันดานที่เกิดจากความใคร่ (กามาสวะ) กิเลสที่หมักหมมอยู่ในกมลสันดานทำให้อยากเกิด อยากมี อยากเป็นอยู่ตลอดเวลา (ภวาสวะ) และ กิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดานทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง ( อวิชชาสวะ) คือพ้นแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวงบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น"พระพุทธเจ้า" แล้ว
1
ซึ่ง ณ ตอนนั้น เป็นตอนเช้ามืดของวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระการ
ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา อยู่ในรัฐพิหาร(Bihar) ของอินเดีย
ต้นศรีมหาโพธิ์ในปัจจุบันที่เจ้าชายสิทธัตถะใช้ประทับเพื่อการตรัสรู้ในอดีต ได้รับการซ่อมแซมและค้ำยัน
bodhgaya (พุทธคยา)
การตรัสรู้ของพระองค์ ถือได้ว่าเป็นการเกิดครั้งที่สองของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นการเกิดที่หาได้โดยยาก เป็นการเกิดที่สมบูรณ์พร้อมด้วยอริยผล รู้แจ้งซึ่งสรรพกิเลสทั้งปวง หลุดพ้นจากบ่วงแห่งมาร คือ ทุกข์และสุขทั้งปวงได้หมดสิ้น
ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็น "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า"(ตั้งส่วนนี้เป็นต้นไปจะขอเรียกเจ้าชายสิทธัตถะว่าพระพุทธเจ้า)แปลว่า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง (ผู้ไม่ได้รับบัญชาจากใคร ผู้ไม่ได้รับโองการจากพระผู้สร้าง หรือเทพเทวดาองค์ไหน)
เป็นการ "รู้แจ้งโลกทั้งปวง" ที่เจ้าชายสิทธัตถะในฐานะมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งพึงกระทำได้ และทุกคนมีสิทธิ์ที่จะ "รู้" เหมือนที่พระองค์ทรงรู้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้น จึงทำให้มีผู้เรียกพระธรรมวินัยหรือคำสั่งสอนของพระองค์ว่า "พระพุทธศาสนา" แปลว่า "ศาสนาของผู้รู้แจ้ง - ศาสนาของผู้ (ปฏิบัติเพื่อ) หลุดพ้นจากกิเลสทั้งมวล"
หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงทบทวนพระธรรมที่ได้ค้นพบเป็นเวลา7สัปดาห์
พบว่าธรรมที่พระองค์บรรลุนั้นสุขุมลุ่มลึกเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เพราะเป็นธรรมที่สงบ ประณีต ละเอียด เป็นวิสัยของบัณฑิตเท่านั้นที่จะพึงรู้แจ้ง ถ้าจะแสดงธรรม กับเหล่าสัตว์อื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม เป็นการเหนื่อยเปล่า
พระพุทธเจ้า จึงคิดหาผู้ที่สมควรจะได้รับพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระองค์ได้นึกถึงอาฬารดาบส และอุททกดาบสผู้เป็นบัณฑิตที่จะรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็วพลัน เมื่อตรวจดูอีก ทรงทราบว่าทั้ง2ได้เสียชีวิตไปแล้ว หลังจากนั้นจึงทรงระลึกถึงพวกปัญจวัคคีย์และได้ตกลงที่จะแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์เป็นกลุ่มแรก
ปฐมเทศนา
ในรุ่งเช้าต่อมา พระองค์ก็เดินทางไปยังป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งเป็นสถานที่อาศัยอยู่ของพวกปัญจวัคคีย์ เมื่อปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์แล้ว ไม่ได้ให้การต้อนรับ เนื่องจากยังผิดหวังกับพระองค์ที่เลิกการทำทุกกรกิริยา แต่ด้วยบุญบารมีที่เคยสร้างด้วยกันมากับพระพุทธเจ้า จึงทำให้ปัญจวัคคีย์ทำการดูแลต้อนรับอย่างดี ยอมเชื่อฟังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกอย่าง
จากนั้นพระองค์จึงได้แสดงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ มีชื่อว่า “ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” (สามารถหาอ่านได้ในคัมภีร์พระไตรปิฏก) ซึ่งการแสดงพระธรรมเทศนาในครั้งนี้ ทำให้โกณฑัญญะพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นโสดาปัตติมรรค ต่อมาทรงแสดง “ อนัตตลักขณสูตร”7 จนทำให้ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
1
ในเวลาต่อมา มีกุลบุตรเศรษฐี ชื่อว่า ยสะ ซึ่งอาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่ประทับของพระพุทธเจ้า เกิดความเบื่อหน่ายในการครองเรือน จึงเดินมายังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา8 แก่ยสะ จากนั้นก็แสดงอริยสัจ 4 เมื่อจบพระธรรมเทศนายสะได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
1
การที่ยสะเข้ามาบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นผลดีกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่าง มาก เพราะพระยสะมีสหายมาก เมื่อท่านเข้ามาบวชแล้ว สหายเหล่านั้นก็ได้พากันบวชตามเข้ามา อีกเป็น จำนวนมาก
ทำให้มีพระสาวกเพิ่มมากขึ้น เป็นกำลังในการประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่กระจายได้มากขึ้นด้วย เมื่อมีจำนวนของพระสาวกมากถึง 60 รูป ซึ่งพอที่จะเป็นกำลังในการเผยแผ่พระศาสนาเพื่อ ประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย พระพุทธองค์จึงได้ส่งพระสาวกออกไปประกาศศาสนายังที่ต่างๆ
ในตอนหน้าจะอธิบายถึงการเผยแพร่หลักคำสอนพระองค์ทั่วทั้งแผ่นดิน ไปจนถึงการดับขันธปรินิพพานของพระองค์ แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้าสวัสดีครับ
อ้างอิง
คัมภีร์:พระไตรปิฎก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา