13 ก.ย. 2020 เวลา 01:15 • บันเทิง
ประวัติความเป็นมาของรำวงย้อนยุค
"รำวงย้อนยุค" เป็นการแสดงที่มีวิวัฒนาการมาจาก รำโทน เป็นการรำและร้องของชาวบ้าน ซึ่งจะมีผู้รำทั้งชาย และหญิง รำกันเป็นคู่ ๆ รอบ ครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้ หรือไม่ก็รำกันเป็นวงกลม
โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ลักษณะการรำ และร้องเป็นไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนกำหนดไว้ คงเป็นการรำ และร้องง่ายๆ
มุ่งเน้นที่ความสนุกสนานรื่นเริงเป็นสำคัญ เช่น เพลงช่อมาลี เพลงยวนยาเหล เพลงหล่อจิงนะดารา เพลงตามองตา เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด..
ด้วยเหตุที่การรำชนิดนี้มีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ จึงเรียกการแสดงชุดนี้ว่า รำโทน... ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2487
ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการละเล่นรื่นเริงประจำชาติ ..
และเห็นว่าคนไทยนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ถ้าปรับปรุงการเล่นรำโทนให้เป็นระเบียบทั้งเพลงร้องลีลาท่ารำ และการแต่งกาย
จึงทำให้การเล่นรำโทนเป็นที่น่านิยมมากยิ่งขึ้น... จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรปรับปรุงรำโทนเสียใหม่ให้เป็นรำวงย้อนยุคมาตรฐาน ..
มีการแต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลงและนำท่ารำจากแม่บทมากำหนดเป็นท่ารำเฉพาะแต่ละเพลงอย่างเป็นแบบแผน ..
เช่น จังหวะรำวง ลุมบ้า ตลุง อ๊อฟบิด แทงโก้ โกลละช่า ม้าย่อง คองก้า ทวิส บีกิน สามช่า โซน โดยได้นำมาใช้ละเล่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน ..
ข้อมูลบางส่วนจากกระทรวงวัฒนธรรม
zaba x2

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา