19 ก.ย. 2020 เวลา 00:41 • สุขภาพ
ความปวด
ในบทความครั้งก่อน เราได้ทราบความในใจของบรรดาหมอที่ตอบแบบสอบถามแล้ว สิ่งที่สะดุดใจผมมากที่สุด คือ ความปวด แม้แต่คนที่เป็นผู้ให้การรักษาเองยังกลัว แสดงว่าเราไม่เคยชนะมันเลย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
ความจริงสุขภาพมี 2 ด้าน คือ การรักษาและการป้องกัน ซึ่งต่างกันมาก เพราะการรักษาจะช้ากว่าโรค 1 ก้าวเสมอ แต่การป้องกันต้องนำหน้าโรค 1 ก้าว วิธีป้องกันจึงต้องมีฐานความรู้ที่ลึกและเข้าใจการเกิดโรคมากกว่าการรักษา แต่การรักษาจะเข้าใจวิธีทำงานมากกว่า ความรู้ทั้ง2ด้านดูเผินๆอาจคล้ายกัน และมีขั้นตอนที่เกี่ยวพันกัน แต่จริงๆแล้วไม่เหมือนกันเลย
ปัจจุบันเราเน้นการตรวจสุขภาพเหมือนเป็นการป้องกัน ทั้งๆที่จริงคือการรักษาที่เริ่มเร็วขึ้นเท่านั้น อิทธิพลแนวคิดแบบนี้ถูกเริ่มมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่18 แล้ว โดย Germ theory ของหลุยส์ ปลาสเตอร์ ซึ่งมองหาแต่สิ่งที่มาทำให้เกิดโรค ซึ่งเหมาะสำหรับโรคที่เกิดจากสาเหตุภายนอกเท่านั้น เช่น กินสารพิษ ถูกงูกัดฯลฯ
แม้แต่โรคการติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคที่เป็นสิ่งภายนอกมาโจมตีเรา ตามความคิดของ Antoine Bechamp (1816 – 1908) กลับเห็นว่าต้นเหตุโรคเกิดจากร่างกายเราป่วยก่อนมากกว่า “Germs seek their natural habitat – diseased tissue – rather than being the cause of diseased tissue.” - Antoine Béchamp
ในช่วงโควิด 19 เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำ Terrian Theory ของ Antoine Béchamp กลับมาเป็นที่สนใจอีก เพราะเชื้อไวรัสเลือกคนที่อ่อนแอ มีโรคเรื้อรัง และคนสูงวัย โดยปล่อยให้คนแข็งแรงเป็นคนแพร่เชื้อแต่ไม่เกิดโรค การเกิดโรคจึงไม่ได้เริ่มที่ไวรัส แต่เริ่มจากร่างกายป่วยหรือเสื่อมก่อน
วกมาเข้าเรื่องที่อยากนำเสนอให้คนที่สนใจลองอ่านดู เรื่องนั้น คือ ความปวด ซึ่งเป็นเรื่องที่เกือบทุกคนไม่ชอบ ทั้งๆที่มันช่วยปกป้องร่างกายให้เรามาตลอด ต้องอธิบายก่อนถึงเข้าใจ ความปวดเป็นภาษาร่างกายที่จะคุยกับเจ้าของ(ร่างกาย)เท่านั้น คนอื่นจะไม่ได้ยิน ไม่รับรู้ คนที่ปวดจึงต้องบรรยายให้คนอื่นรู้ว่าปวดรุนแรงอย่างใด ปัจจุบันมีการกำหนดตัวเลขเพื่อใช้แทนระดับการปวด 10 คือปวดมากสุด ส่วน 1คือปวดน้อยมาก
 
หน้าที่ของความปวดเป็นระบบเตือนภัย ซึ่งมีประโยชน์มากแต่คนไม่ยอมรับ ลองคิดดูถ้าไม่ปวด เราเดินไปเหยียบถ่านติดไฟร้อนๆ มันจะเผาเข้าไปจนเท้าไหม้ เซลล์ตาย และเสียเท้าในที่สุด ความปวดทำให้เราชักเท้าหนี จึงรอดจากอันตรายมาได้
สมัยนี้ คนป่วยส่วนมากที่มารักษาด้วยเรื่องปวด เมื่อไม่ประสบความสำเร็จมักหันไปหาการรักษาทางเลือก ฝังเข็ม โยคะ ฯลฯ ซึ่งมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เพราะเอาชนะความปวดได้ดีกว่า คนเลยหันไปศรัทธาทางนี้แทน แต่คนที่อยู่ในวงจรปวดเรื้อรังจะรู้ดีว่า มีคนที่ผิดหวังจากการรักษาทางเลือกก็มีไม่น้อยเช่นกัน สุดท้าย คนที่ไม่หายจนทนทรมานไม่ได้ก็หนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย
ความก้าวหน้าเรื่องความปวด ทำให้เราเริ่มเข้าใจความปวดอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Neuropathic pain ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่า ความปวดที่เกิดจากระบบประสาทป่วยเสียเอง ในอดีต มีคนป่วยที่ต้องสูญเสียแขนขาไป เมื่อรอดชีวิตมาได้กลับรู้สึกปวดที่แขนขาที่ถูกตัดไปแล้ว(Phantom pain ) คนกลุ่มนี้มักถูกสรุปว่าเกิดจากจิตตกใกล้เสียสติ เพราะไปปวดตรงอวัยวะที่ไม่มีแล้วได้อย่างไร ต่อมา ความรู้ที่เจริญขึ้นจึงเข้าใจ เพราะปลายเส้นประสาทที่ถูกตัดแต่ยังถูกกระตุ้น จึงทำให้รู้สึกปวดได้ โดยสมองจะแปลว่ามาจากแขน ทั้งๆที่ถูกตัดไปแล้ว
ในโรคกระดูกเสื่อมก็มีอาการปวดเรื้อรังแบบนี้ได้ ซึ่งเริ่มจากกระดูกสันหลัง โดยข้อต่อกระดูกที่ไม่แข็งแรงจะขยับได้มากขึ้น จึงไปกด ดึงรั้งไขสันหลังด้วยแรงจากการขยับตัว กระตุ้นให้ปวดรุนแรงและปวดเรื้อรังได้ ความเชื่อนี้ พวกจัดกระดูก (Ciropractor) เคยต่อสู้มานานในประวัติศาสตร์ เคยถูกล้อเลียน บ้างถึงขั้นถูกจับติดคุกฐานหลอกลวงมาแล้ว การรักษาแบบจัดกระดูกจะไปทำให้แรงที่รบกวนไขสันหลังลดน้อยลง อาการปวดจึงดีขึ้นได้ แต่ก็ไม่เคยทำให้คนป่วยหายขาดได้เลย เพราะการจัดกระดูกทำให้คนอื่นทำไม่ได้ เจ้าของกระดูกต้องทำเองและต้องทำนานพอในแต่ละวัน รายละเอียดหาอ่านได้ในหนังสือแนวนี้
สรุปให้สั้น เส้นประสาทระบบความรู้สึกที่อยู่ในไขสันหลัง ถ้าถูกกระตุ้นจะทำให้ปวดได้ แต่ไขสันหลังอยู่ในกระดูก การกระตุ้นจึงต้องเอาชนะความแกร่งของกระดูก คือเกิดแรงที่ต้องทำให้กระดูกสันหลังขยับได้ก่อน ขณะที่การรักษาการปวดในทางการแพทย์ ยังคงใช้ยาซึ่งไม่มีทางป้องกันแรงที่เป็นต้นเหตุได้เลย
การแก้ไขจึงต้องไปแก้ที่ท่าทางหรือทำให้กระดูกสันหลังตั้งตรงตามธรรมชาติก่อน ซึ่งพูดง่ายแต่ทำยาก เพราะคนป่วยมากๆมักอยู่ในท่านอน การดูแลทำให้หลังกับคอตรง ทำได้ยากถ้าไม่เข้าใจวิธีแก้
การนอนต้องให้ตัวตรงเหมือนยืนตรง
ถ้าเข้าใจกฎที่ธรรมชาติสร้างมา การปวด คือสัญญาณเตือนภัย ถ้าการปวดยังไม่หายแต่กลับรุนแรงขึ้นเรื่อย ในตอนวาระสุดท้ายของชีวิต ก็แปลว่ายังมีอันตรายหรือมีภัยอยู่ แล้วรุนแรงขึ้นด้วย แต่อันตรายนั้นเกิดที่ไขสันหลังไม่ใช่ที่อวัยวะ ถ้าเราเข้าใจและเอาชนะการปวดได้ เราก็ชนะโรคได้ด้วย เพราะการปวดที่เป็นภาษาร่างกายกำลังทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งจนนาทีสุดท้าย เพื่อบอกเราว่าในกระดูกสันหลังมีระบบที่สำคัญสุดของชีวิต(อยู่ในไขสันหลัง) นั่นคือระบบพลังงานสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ ถ้าเรายังปกป้องหรือแก้ไขไม่ได้ ก็ทำให้ชีวิตถึงตายได้ แล้วสุดท้าย ถ้าไม่มีการแก้ไข ความปวดก็จบลงพร้อมกับพลังชีวิตที่หมดไปด้วย
โฆษณา