15 ก.ย. 2020 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
คนสู้โรค! ประวัติศาสตร์การยับยั้งโรคระบาด คนสมัยก่อนมีวิธีรับมืออย่างไร
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ในอดีต เมื่อไม่มีวิธีรักษาโรคระบาดอย่างที่ได้ผลชะงักการหนีให้ห่างจากพื้นที่ระบาดหรือหนีจากคนที่ติดโรคจึงน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่นอกจากวิธีที่หนีไปให้ไกลแล้วก็ยังมีวิธีรับมือกับโรคระบาดวิธีอื่นๆ ตามที่ความรู้และความเข้าใจทางการแพทย์จะเอื้ออำนวย
1. ในอดีตเชื่อกันว่าความเจ็บป่วยเกิดจากอากาศที่ไม่ดีและกลิ่นเหม็น เมื่อปี ค.ศ. 1357 ที่ลอนดอนการปรับเงินผู้คนที่ทิ้งมูลสัตว์หรือของเสียจากสัตว์ที่มีกลิ่นเหม็นลงบนถนนเพื่อป้องกันการเกิดโรค
มีการใช้น้ำหอมหรือเครื่องหอมชนิดอื่นๆ เพื่อกลบกลิ่นเหม็น หัวขโมยสี่คนคิดค้นของเหลวที่ใส่ของกลิ่นแรงอย่างน้ำส้มสายชู สมุนไพร เครื่องเทศและกระเทียมเพื่อใช้ป้องกันโรคระบาดเพราะต้องการเข้าไปขโมยของในบ้านที่มีคนเสียชีวิตจากโรคระบาด เมื่อพวกเขาถูกจับได้ เขายอมเปิดเผยสูตรของเหลวกลิ่นแรงนี้เพื่อแลกกับการที่จะไม่โดนแขวนคอ
2. แพทย์ที่ต้องดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคระบาดจะสวมหน้ากากที่มีจะงอยปากยาว ซึ่งถือว่าเป็นของที่ล้ำสมัยในยุคนั้น ภายใต้หน้ากากนั้นแพทย์จะสวมใส่ผ้ากันเปื้อนเคลือบขี้ผึ้งเพื่อป้องกันของเหลวจากร่างกายผู้ป่วยกระเด็นมาติดเสื้อผ้า มีการสวมถุงมือหนังเพื่อเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยโดยตรง บริเวณจะงอยปากที่หน้ากากจะใส่สมุนไพรและเครื่องเทศเพื่อกรองอากาศที่หายใจเข้าไป แพทย์บางคนถึงกับอมกระเทียมไว้ในปากขณะออกตรวจเลยด้วย
WIKIPEDIA PD
3. เนื่องจากความเชื่อเรื่องอากาศที่มีผลต่อโรค เจ้าหน้าที่ของเมืองจะทำการจุดกองไฟเป็นจุดๆ กระจายทั่วเมืองเพื่อให้เกิดความร้อนและควันเพื่อไล่อากาศเสียออกไป
ในปี ค.ศ. 1665 ที่เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ในลอนดอนนายกเทศมนตรีของเมืองได้สั่งการให้ประชาชนในเมืองคอยจุดและเติมไฟทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลาสามวัน และผู้คนไม่ออกมาเดินถนนยกเว้นออกมาเติมฟืนและคอยดูกองไฟไม่ให้ไหม้บ้าน แต่มันก็ไม่ได้ผล มันไม่สามารถช่วยหยุดยั้งโรคระบาดได้
4. ช่วงที่เกิดโรคระบาดมีการกำจัดสุนัขและแมวเพราะเชื่อว่ามันนำโรคร้ายมา แต่นั่นยิ่งส่งผลร้ายหนักขึ้น เพราะสุนัขและแมวคอยช่วยจัดการกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคอย่างหนู เมื่อไม่มีสุนัขและแมวแล้วก็ยิ่งทำให้โรคระบาดได้ง่ายขึ้น
5. แพทย์ในยุคนั้นเชื่อว่าการถ่ายเลือดออกจากผู้ป่วยจะช่วยรักษาโรคระบาดได้ ดังนั้นจึงมีวิธีการถ่ายเลือดออกแบบการเจาะเลือดหรือการใช้ปลิงมาดูดเลือดด้วย
123RF
6. สิ่งที่ทำให้โรคระบาดแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในยุคกลางก็คือเรือ เพราะผู้คนต้องอยู่ในพื้นที่จำกัดที่ไม่ถูกสุขลักษณะกันอย่างใกล้ชิด เมื่อเรือเทียบท่าลูกเรือลงจากเรือก็ได้เวลาที่โรคระบาดจะแพร่กระจายไปยังเมืองท่าต่างๆ
ทางเมืองเวนิสได้สังเกตเห็นความสัมพันธ์ในเรื่องนี้จึงได้มีมาตรการขึ้นมารับมือในปี ค.ศ. 1448 โดยให้เรือที่มาถึงเมืองจะต้องหยุดและทอดสมอรออยู่กลางทะเลเป็นเวลา 40 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าเรือลำนี้ปลอดโรคก่อนจะให้เข้าจอดเทียบท่าได้ อาจจะเรียกได้ว่าเป็น 'state quarantine' ครั้งแรกๆ เลยก็ว่าได้
WIKIPEDIA PD
7. เมื่อปี ค.ศ. 1770 จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาแห่งออสเตรียได้จัดการให้มี “cordon sanitaire” หรือการจำกัดการเดินทางระหว่างอาณาจักรของพระองค์และอาณาจักรออตโตมัน โดยเชื่อว่าจะป้องกันไม่ให้แผ่นดินออสเตรียติดโรคระบาด
เขตแดนที่ห้ามผ่านนี้คงอยู่นานถึง 101 ปี มีระยะทางยาวกว่า 1,600 กิโลเมตร มีทหารคอยเฝ้าตลอดเส้นทาง ผู้คนและสิ่งของจะสามารถผ่านได้เฉพาะจุดที่กำหนดไว้เท่านั้น สิ่งของจะต้องถูกกันไว้เป็นเวลา 48 วันเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดเชื้อโรค
WIKIPEDIA PD
8. ในยุคกลางมีความเชื่อว่าพระเจ้าลงโทษให้เกิดโรคระบาดจากบาปของมนุษย์ดังนั้นผู้คนจึงเฆี่ยนตีตัวเองเพื่อเป็นการชำระบาป
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา