Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
15 ก.ย. 2020 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
แพทย์แผนสยอง! เรื่องจริงสุดโหดของการผ่าตัดในยุควิคตอเรียน ทุกขั้นตอนมีแต่ความอันตราย
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เราไม่รู้ว่าตัวเองนั้นโชคดีขนาดไหนที่ได้เกิดมาในยุคปัจจุบัน จนกระทั่งเรามองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การแพทย์ในยุควิคตอเรียน ในการผ่าตัดมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงจนน่ากลัว แม้คนที่สุขภาพดีที่สุดก็ไม่สามารถเอาชีวิตรอดมาได้ นี่คือเรื่องราวของการผ่าตัดสุดโหดในยุควิคตอเรียนที่จะทำให้เรารู้สึกซาบซึ้งกับความก้าวหน้าทางการแพทย์
1. การผ่าตัดโดยไม่มียาสลบนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในยุควิคตอเรียน ในปี ค.ศ. 1847 คลอโรฟอร์มเพิ่งจะถูกนำเข้ามาในอังกฤษและใช้เป็นยาสลบถึง 50 ปี เซอร์เจมส์ ซิมป์สันเป็นบุคคลแรกที่ได้ทดลองการใช้คลอโรฟอร์มหลังจากที่สลบเหมือดในห้องทานข้าว เขาก็ได้รู้ว่าสารระเหยตัวนี้จะเป็นประโยชน์ถ้านำไปใช้อย่างเหมาะสม เขาจึงได้พัฒนาหน้ากากโปะคลอโรฟอร์มวางบนหน้าของคนไข้ หลังจากนั้นไม่กี่นาทีคนไข้ก็จะสลบและสามารถทำการผ่าตัดได้
WIKIPEDIA CC KEVIN KING
2. การผ่าตัดในยุควิคตอเรียนจะมีการเสียเลือดอย่างมาก เหล็กที่ถูกเผาไฟจนร้อนจัดจะถูกนำมาจี้เพื่อห้ามเลือด
3. การผ่าตัดในยุควิคตอเรียนเป็นเรื่องที่อันตรายจนถึงชีวิต อัตราการเสียชีวิตที่สูงนั้นไม่ได้เกิดขึ้นที่ห้องผ่าตัดแต่มันเกิดจากการติดเชื้อหลังผ่าตัด นักประวัติศาสตร์การแพทย์ ลินด์เซย์ ฟิทซ์ฮาร์ริส (Lindsey Fitzharris) ได้เขียนไว้ว่า “ศัลยแพทย์ไม่เคยล้างเครื่องมือหรือล้างมือเลย โต๊ะผ่าตัดก็แทบจะไม่ได้ล้างทำความสะอาด ห้องผ่าตัดกลายเป็นลานประหารของผู้ป่วยเพราะจะเกิดการติดเชื้อหลังจากผ่าตัดจนเสียชีวิต บางครั้งก็เกิดขึ้นภายในไม่กี่วันหรือเป็นเดือน”
โจเซฟ ลิสเตอร์ (WIKIPEDIA PD)
แพทย์ในอดีตเชื่อว่าหนองที่เกิดหลังจากการผ่าตัดเป็นสัญญาการฟื้นตัวที่ดีแทนที่จะเป็นลางมรณะที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เรื่องราวเหล่านี้ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งนายแพทย์ โจเซฟ ลิสเตอร์ ได้บุกเบิกมาตรฐานการทำให้ห้องผ่าตัดปลอดเชื้อรวมไปถึงมาตรฐานความสะอาดในการผ่าตัด จนส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตหลังผ่าตัดลดลง
4
และก่อนหน้าที่จะมีการปฏิวัติมาตรฐานความสะอาดในการผ่าตัด การสวมใส่ผ้ากันเปื้อนที่เต็มไปเลือดนั้นเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจ พวกเขาจะใส่มันซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่ว่าจะอยู่ในห้องผ่าตัดหรือเข้าไปรับชมการผ่าตัด ผ้ากันเปื้อนนี้จะมีเลือดแห้งกรังและเศษเนื้อติดอยู่
1
4. ครั้งหนึ่งช่างตัดผมเคยถูกเกณฑ์ให้ทำหน้าที่ศัลยแพทย์ให้กับทหารที่บาดเจ็บในสงครามไครเมียโดยที่ไม่มีการฝึกฝนหรือความรู้ทางการแพทย์และยังถอนฟันได้ที่ร้านทำผมอีกด้วย คนไข้ในสมัยนั้นเลือกที่จะทำฟันหรือผ่าตัดเล็กๆ กับช่างตัดผมเสียมากกว่า เพราะพวกเขามีเครื่องมือที่คมกว่าในโรงพยาบาล
WIKIPEDIA PD
5. การตัดอวัยวะอย่างแขนหรือขาจะทิ้งลงในลังขี้เลื่อยที่วางอยู่ข้างเตียงผ่าตัด โดยที่ไม่มียาสลบหรือยาชา ดังนั้นยิ่งการผ่าตัดจบเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งดี นายแพทย์โรเบิร์ต ลิสตัน เป็นหนึ่งในศัลยแพทย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในเวลานั้น เขาขึ้นชื่อเรื่องความเร็วในการผ่าตัด โดยเฉลี่ยแล้วคนไข้ของเขา 10 คน จะเสียชีวิตเพียง 1 คน ซึ่งนับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในขณะที่ศัลยแพทย์ท่านอื่นจะเสียคนไข้ไป 4 ใน 10 คน เขาประสบความสำเร็จขนาดที่คนไข้จะมาตั้งคิวรอที่หน้าห้องผ่าตัดเพื่อหวังว่าจะได้รับการรักษาจากเขาบ้าง
2
6. โรงพยาบาลนั้นเป็นสถานที่ของผู้ที่ยากจนเท่านั้น เพราะผู้ที่มีฐานะร่ำรวยหรือชนชั้นสูง แพทย์จะเป็นผู้เดินทางไปทำการรักษาให้ถึงเตียง
123RF
ผู้ที่ยากจนจะต้องรอการประเมินจากเจ้าหน้าที่รัฐ (ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์) ว่าจะได้รับการรักษาหรือไม่ซึ่งมักจะลงเอยด้วยการแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ “รักษาไม่ได้” สำหรับโรคติดต่อ และ “เป็นบ้า” สำหรับผู้ป่วยทางจิตเวช โดยในปี ค.ศ. 1752 โรงพยาบาลเซนต์โทมัสในกรุงลอนดอนมีกฎไม่ให้ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเดิมนอนโรงพยาบาล
7. ห้องผ่าตัดไม่ใช่สถานที่ที่เงียบสงบและเป็นส่วนตัว จะมีผู้คนเข้ามารับชมการผ่าตัดหลายต่อหลายคน ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่สะอาดและมีการแลกเปลี่ยนเชื้อโรคโดยไม่จำเป็น
1
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
12 บันทึก
36
1
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติศาสตร์ I
12
36
1
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย