14 ก.ย. 2020 เวลา 01:13 • ธุรกิจ
Resilience Mindset
ทัศนคติแบบไหน ที่พาพนักงานและองค์กรลงเหว
📍Resilience Mindset เป็นแนวคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นและกล่าวถึงมากในช่วงหลัง Covid-19 ที่หลายหน่วยงานประสบปัญหาอันเกิดจากทัศนคติแบบเดิมๆ แนวคิดนี้จึงเป็นเรื่องของการฟื้นฟู เพื่อให้องค์กรเดินหน้าต่อไปได้ โดยมีการนำประเด็นเรื่องของทัศนคติในการทำงานแบบเดิมๆ มาพัฒนาและปรับปรุงใหม่ เพื่อก้าวต่อไปด้วยกัน
1.ทะเลาะกับลูกค้าแล้วได้อะไร ? : ทัศนคติของผู้บริหารมีผลต่อพนักงานและความรู้สึกของลูกค้ารวมถึงบุคคลต่างๆ ในสังคม หากต้องการอยู่รอด คิดบวกไว้ก่อน สิ่งสำคัญคือลูกค้า
2.เถียงกับนาย สุดท้ายใครชนะ : การเอาชนะหัวหน้า อาจได้แค่สะใจ ศิลปะการสื่อสารนับว่ามีประโยชน์มาก ควรใช้เทคนิคการสื่อสารให้เป็น โดยเฉพาะกับหัวหน้า เลือกจังหวะที่เหมาะสมว่าเมื่อไหร่ควรลดหรือถอย
3.พกตัวตนมาเต็มอัตราศึก : แยกชีวิตทำงานกับชีวิตส่วนตัวไม่ออก หัวหน้าต้อง Feedback ลูกน้องที่มีพฤติกรรมแบบนี้ โดยเฉพาะการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมการทำงาน หากปรับไม่ได้ก็ไม่ควรโปรโมทหรือโยกย้ายให้ไปสร้างป
4.ห้องประชุมนะคะ ไม่ใช่ลานประหาร : ลดการขยี้ให้ตายคาห้องประชุม การประชุมที่ดีควรอยู่ในวาระ ไม่ควรเอาเรื่องอารมณ์และความรู้สึกไม่พอใจเข้ามาเกี่ยวข้อง
5.ผลประโยชน์ตัวเองต้องมาก่อน : ใช้ทุกอย่างตามสิทธิเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่การเสียสละเพื่อองค์กรบ้าง จะเป็นการฟื้นฟูองค์กรให้พ้นวิกฤตได้เร็วขึ้น คนที่ช่วยเหลือองค์กรในยามวิกฤต แม้ไม่ได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ แต่ความภูมิใจจะอยู่ตลอดไป
6.จับผิดกันจนเป็นนิสัยถาวร : องค์กรควรเร่งให้เกิดวัฒนธรรมการชื่นชมมากกว่าการจับผิดเล็กๆ น้อยๆ ให้ความสำคัญกับคนที่คิดบวก เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี (Role Model)
7.Social แบบไม่รักษาน้ำใจ : หลายคนไม่รู้ตัวว่าคำพูดหรือการสื่อสารแต่ละเรื่องสร้างรอยแผลให้กับผู้ฟังอย่างมากมาย รวมถึงการ Line การแชร์หรือโพส ข้อความต่างๆ ทาง Social ดังนั้นหัวหน้าต้องคอย Monitor ใช้ Quick Feedback ทันที เพื่อแก้ไขพฤติกรรมเหล่านี้ หรืออาจจะต้องลงโทษหากผิดระเบียบหรือผิดกฎหมาย เพราะอาจเข้าข่ายเรื่องการหมิ่นประมาท หรือ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์
8.ผลงานดี แต่ EQ ต่ำ : ก่อนแต่งตั้งเป็นหัวหน้าควรมีการวัด EQ ที่ชัดเจน ว่าเหมาะสมหรือไม่ หรือใช้การประเมินแบบ 360 องศา เพื่อมองให้รอบด้าน ถึงทำงานเก่งแต่ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ทุกอย่างก็พัง
ชอบไม่ชอบมาแชร์ ไอเดีย กันดูนะครับ
โฆษณา