21 ก.ย. 2020 เวลา 04:20 • ความคิดเห็น
5 ขั้นตอนแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ช่วงนี้ความขัดแย้งในสังคม กำลังตั้งเค้า หลายคนคอยลุ้นว่าจะ “จุดติด” หรือไม่
เมื่อเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา ก็มีการชุมนุมให้ได้ลุ้นระทึกกัน พอหอมปากหอมคอ
ความขัดแย้งทำนองนี้ จะแก้ปัญหาอย่างไร
วันนี้มีแนวทางในการจัดการกับความขัดแย้ง มาฝาก
1. ค้นหาต้นตอของความขัดแย้งให้เจอ (Define the source of conflict) - อย่า เริ่มต้นแก้ปัญหาด้วยการตั้งสมมติฐานว่าคู่กรณีโดนล้างสมอง ถูกปลุกปั่น มีคนชัก ใยอยู่เบื้องหลัง ฯลฯ เพราะการตั้งโจทย์แบบนี้ มีแต่จะทำให้ความขัดแย้ง ทวีความรุนแรงขึ้น ทำใจให้เป็นกลาง มองสถานการณ์ด้วยมุมมองที่หลากหลาย ทำความ เข้าใจสถานการณ์ความขัดแย้ง จากมุมของคู่กรณีด้วย เพื่อค้นหาแรงจูงใจที่แท้จริง
2. มองให้ลึกกว่าสถานการณ์ที่เห็นอยู่ (Look beyond the incident) - ความขัด แย้งที่เกิดขึ้น อาจเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ที่มีวาระแอบแฝง (Hidden Agenda) อย่าดู เพียงแต่ว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วพยายามแก้ปัญหานั้น เพราะนั่นอาจเป็นเพียงอาการ (Symptom) ของปัญหาก็ได้
3. เรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อหาทางออก (Request solutions) - การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ไม่มีอะไรดีไปกว่าการหันหน้าเข้าคุยกัน บางทีการพูดคุยระหว่างคู่กรณี เพียง 2 ฝ่าย อาจไม่ประสบความสำเร็จ ลองพิจารณาหาคนกลางมาช่วยไกล่เกลี่ย อย่าดึงดันแก้ปัญหาที่พยายามแก้มานาน ด้วยวิธีการเดิมๆ ซึ่งไม่ได้ผล
4. หาข้อสรุปที่ทั้ง 2 ฝ่ายพอรับได้ (Identify solutions both disputants can support) - บางทีทางออกในการแก้ปัญหาอาจไม่ได้มาจากแนวทางของเธอหรือแนวทางของฉัน แต่มาจากทางเลือกที่ 3 (3rd Alternative) ที่ไม่ใช่ของใครสักคน แต่เป็นทางออกที่ทุกๆ คนรับได้
5. บันทึกข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร (Agreement) - เมื่อหาทางออกที่ทุกฝ่าย เห็นพ้องต้องกันได้แล้ว ต้องบันทึกไว้ให้ชัดเจน เพราะเมื่อเวลาผ่านไป อาจมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนใจ เนื่องจากหลังจบการเจรจาแล้ว มักมีกองหนุนคอยมาพูดทำนองไม่เห็นด้วยกับข้อตกลง จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความขัดแย้งรอบใหม่ขึ้นอีกครั้ง
ลองปรับใช้ดูนะครับ
อย่าลืมกดติดตาม LINE OA : Leadership Hacks (https://is.gd/qB4UgH) สำหรับข่าวสารและอาหารสมองดีๆ
โฆษณา