Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Le Siam
•
ติดตาม
21 ก.ย. 2020 เวลา 10:15 • ประวัติศาสตร์
สนามหลวง
จากพื้นที่ที่ไม่ใช่ใครก็ใช้ได้ … สู่พื้นที่ที่ใครๆก็อยากจะใช้
สำหรับ “สนามหลวง” ในอดีตเป็นเพียงพื้นที่เล็กๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าเจ้าค่ะ ก่อนเวียนคืนพื้นที่ส่วนของวังหน้าที่ได้มีการยกเลิกบางส่วนไปแล้ว ขยายให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างที่เราเห็นๆกันในปัจจุบันนี้
ในอดีตก่อนที่บริเวณนี้จะมาเป็นสนามหลวงนั้น เคยเป็นที่นาหลวงมาก่อน ซึ่งโดยทั่วไปเราจะเรียกกันว่า “ทุ่งพระเมรุ” เจ้าค่ะ เพราะเนื่องจากโดยส่วนใหญ่ใช้เป็นพื้นที่หลักในการใช้ตั้งเป็นสถานที่สำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ และทำนาหลวงเป็นหลักนั้นเอง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองสยามนั้นบริบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหาร มากมายเพราะถึงกับมีไร่นาไปจนใกล้ ๆ กับพระบรมมหาราชวังกันเลยนั้นเองเจ้าค่ะ
ครั้นเมื่อต่อมาใน พ.ศ. 2398 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” ซึ่งเป็นนามที่จะอวมงคลให้เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศความตอนหนึ่งว่า “ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’”
สนามหลวง …
จากพื้นที่ที่ไม่ใช่ใครก็ใช้ได้
เป็นที่ทราบกันอยู่แก่ใจเจ้าค่ะว่า “สนามหลวง” นั้นไม่ได้เป็นของประชาชนมาตั้งแต่เริ่มแรกของการตั้งราชธานีแล้ว เพราะบริเวณนี้นั้น เป็นพื้นที่ท้องนาที่เอาไว้สำหรับปลูกข้าวหลวง และประกอบพระราชพิธีต่างๆ ในส่วนพระมหากษัตริย์เท่านั้น ซึ่งหากเราจะพูดกันด้วยภาษาง่ายๆก็คือ เป็นที่ส่วนบุคคลที่ไม่ใช่ใครก็ใช้ได้นั้นแหละเจ้าค่ะ ซึ่งในที่นี้ฉันจะขอยกตัวอย่างว่าบริเวณนี้ทำไมถึง ไม่ใช่ที่ที่ใครๆก็จะใช้ได้นะเออ ...
1. เป็นนาหลวง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำนาหลวง ที่สนามหลวง เพื่อแสดงและให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศว่า เมืองสยามนั้นบริบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหารยิ่งนัก เพราะมีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวังกันเลยทีเดียว
2. เป็นทุ่งพระเมรุ
ใช้ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดมาตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้นมา
3. เป็นสถานที่สำหรับประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เป็นพิธีหลวงทางพราหมณ์ที่มีมาแต่โบราณ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาและหว่านเมล็ดข้าวเป็นหมายแสดงว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีโบราณนี้ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2479 และได้ว่างเว้นไปนานถึง 23 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ
4. ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมและจัดซุ้มมงคล
ใช้พื้นที่บริเวณสนามหลวง และบริเวณถนนราชดำเนิน เพื่อจัดกิจกรรมและจัดซุ่มถวายการต้อนรับแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5เนื่องในโอกาสที่เสด็จนิวัตพระนครจากการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2
1
เป็นต้น
ที่สำคัญ : “สนามหลวง” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติเมื่อ พ.ศ. 2520 โดยกรมศิลปากรเป็นสถานที่ที่สงวนไว้สำหรับประกอบพระราชพิธีเท่านั้น ซึ่งหากพบผู้ฝ่าฝืนหรือบุกรุกจะมีโทษจำคุก 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 1 ล้านบาทนะจ๊ะ
สนามหลวง …
สู่พื้นที่ที่ใครๆก็อยากจะใช้
จากสนามหลวงที่เป็นที่ส่วนบุคคล โดยใช้ได้เฉพาะส่วนพระมหากษัตริย์ ด้วยทรงเล็งเห็นถึงความสุขของประชาชนจึงได้ทรงอนุญาตให้ได้ใช้สนามหลวงกันในการจัดกิจกรรมและผักผ่อนหย่อนใจได้ … แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะหยามใจว่า “สนามหลวง” นั้นเป็นของประชาชน ซึ่งในที่นี้ฉันจะขอยกตัวอย่างพื้นที่หลวงแห่งนี้ …สู่พื้นที่ที่ใครๆก็อยากจะใช้เจ้าค่ะ
1. ตลาดนัดสนามหลวง
ทรงพระกรุณาอนุญาตให้จัดกิจกรรมตลาดนัดสนามหลวง โดยเปิดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งกรุงเทพมหานครได้เตรียมใช้พื้นที่สนามหลวงจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงได้ปิดตลาดนัดสนามหลวงตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา แล้วย้ายตลาดนัดมายังสวนจุตจักรที่เปิดค้าขายกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
1
2. แข่งว่าวสนามหลวง
ในสมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2111) พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนสามารถเล่นว่าวได้ที่ท้องสนาม หลวง ต่อมาในรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ได้ทรง ฟื้นฟูกีฬาว่าวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยทรงจัดแข่งขันกีฬาว่าว ระหว่างจุฬา-ปักเป้าประจำปีขึ้นมาและดำเนินมาถึงปัจจุบัน โดย จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนเมษายน โดยการแข่งขันจะเริ่มเวลาประมาณ 16.45-17.30 น.
3. ประกอบพิธีถวายเพลิงศพสามัญชน
รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้สนามหลวงในการประกอบพิธีถวายเพลิงศพสามัญชน “วีรชน 14 ตุลาคม” ในปี พ.ศ.2517 ซึ่งถือว่าเป็นอีกครั้งหนึ่งที่มีการอวมงคลของสามัญชนได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้สนามหลวงในการประกอบพิธีได้
เป็นต้น
ข้อสำคัญ : ปัจจุบันทางกรุงเทพมหานครอนุญาตให้ประชาชนเข้าไปใช้พื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และสันทนาการตามปกติได้ ซึ่งสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้ ระหว่างเวลา 05.00-22.00 น. แต่ห้ามนำสินค้าเข้าไปจำหน่าย จอดรถหรืออาศัยเป็นที่หลับนอนและงดใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเป็นที่ชุมนุมหรือจัดกิจกรรมทางการเมืองในทุกกรณี ฝ่าฝืนมีความผิดตามกฎหมาย
หาจะถามหาหรือทวงคืนสนามหลวง ลองคิดให้ดีๆเจ้าค่ะว่า แท้จริงแล้วสนามหลวงนั้นเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของใครกันแน่….
หากจะพูดว่า “สนามหลวง” เป็นของประชาชนคนไทยทั้งประเทศโดยไม่ใช่พื้นที่ของคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องนั้นก็เห็นจะไม่ผิดอะไรมากนัก เพราะในปัจจุบันมันคือโบราณสถาน อันเป็นสมบัติของชาติ ที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแลดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีกฎหมายควบคุม ปกป้องและป้องกันเอาไว้
แต่นั้นก็เป็นคำตอบที่ถูกเพียงส่วนเดียวเจ้าค่ะ เพราะโดยชอบธรรมแล้วมันก็เป็นของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
Le Siam
“สยาม … ที่คุณต้องรู้”
เขียนและเรียบเรียงโดย : Le Siam
อ้างอิง
1. ท้องสนามหลวง, วิกีพิเดีย
2. ปิดตำนาน "สนามหลวง" ห้ามใช้ปราศรัย-ชุมนุมทางการเมือง (อีกต่อไป) !! จากมติชน
3. silpa-mag “ซุ้มช้าง” สูงเท่าตึก 7 ชั้น สร้างรับเสด็จ ร.5 ทำจากอะไร?, วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2563
1 บันทึก
39
43
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ราชอาณาจักรไทย
1
39
43
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย