Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอสายดาร์ก
•
ติดตาม
27 ก.ย. 2020 เวลา 23:35 • ความคิดเห็น
วันนี้ ลุงคนไข้คนนึง ได้เสียชีวิตลง อยากมาเล่าเรื่องราวที่ได้ดูแลแกมา ตั้งแต่กพ.63
คุณลุงอายุ 84 ปี
1
ภาพความดัน หัวใจ เท้า ที่ดูว่าบวมหรือไม่ ที่ลูกส่งมาให้ดูวันละ 2 รอบ
ลุงแกเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น ตีบชนิดต้องผ่าตัด, มีไตวายเรื้อรัง ขั้นสุดท้าย (แต่ลุงไม่ต้องการล้างไต), ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
3
ก่อนหน้าเข้าไปดูแล ลุงเข้าออกรพ.เกือบทุกเดือน ด้วยอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และมีน้ำท่วมปอด
1
มารพ.ทีนึงก็จะนอน ER 2-3 วัน (นอนบนเตียงเข็นคนไข้ เมื่อยๆ) แล้วก็ admit ขึ้น ward บ้าง หอผู้ป่วยหนัก บ้าง
3
(นอน ER หลายวัน เพราะไม่มีเตียง admit)ทุกครั้งก็จะได้ยาขับปัสสาวะ และ ยาละลายลิ่มเลือด (Heparin) แต่ละครั้ง แกจะโดนเจาะเลือด อย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง
นอน drip ยา 5 วัน ก็โดนประมาณ 20 ครั้ง
(ซึ่งจริงๆเกิน เพราะบางครั้งโดนหลายที)
4
จนเดือนกพ. ก็มีคนคอนเซ้าต์ team ดูแลผู่ป่วยประคับประคองให้ไปดูที่ ccu (หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ)
2
ตอนนั้นลุงเหนื่อยนิดหน่อย กำลังให้ยาขับปัสสาวะ แล้วฉีด insulin คุมน้ำตาลอยู่ แต่ลุงรู้ตัวดีมากๆ
ได้ทำ family meeting คุยกับ ลุง และลูก 3 คน
ได้แนวทางการดูแล เน้นที่ comfort หรือเน้นที่สบายที่สุดที่ทำได้ ไม่เน้นว่าต้องอยู่นานที่สุด
2
เพราะลุงไม่ต้องการล้างไต ไม่ต้องการสวนหัวใจ ไม่ต้องการผ่าตัด และที่สำคัญ ลุงไม่อยากมารพ.บ่อยๆ ไม่ชอบโดนเจาะเลือด และไม่อยากมานอน ER แล้ว
1
ลุงไม่เหลืออะไรคั่งค้างใจแล้ว
ไม่กลัวตาย แต่กลัวทรมาน
2
เป็นโจทย์ที่ยากพอควร เพราะอย่างที่รู้กัน โรคนี้คาดเดาอะไรได้ยาก บางวันไม่มีอาการอะไรก็สบายดี บางวันที่อาการเยอะ ก็จะเหนื่อยทั้งวัน
2
คำถามที่จะโดนถามเสมอเลย คือ "ลุงจะอยู่อีกนานเท่าไหร่"
ซึ่งหมอเอง ตอบยากมาก เพราะโรคกลุ่มนี้ เดายากกว่าโรคมะเร็งเยอะ
จึงได้แต่ตอบว่า "อาจจะเป็นสัปดาห์ หรือหลายๆเดือน) ดังนั้น มันนานพอให้ลุงได้ทำอะไรที่อยากทำได้
3
ตอนนั้นจึงให้ลูกๆ พาลุงไปที่ๆลุงอยากไป
ลุงได้ไปอยู่พัทยา เพราะลุงชอบทะเล แรกๆ ก็ช่วยปรับยาต่างๆ เน้นสุขสบาย
ลุงมีอาการเจ็บหน้าอก ลูกๆก็จะปรึกษามา ใหัอมใต้ลิ้นบ้าง ปรับยาบ้าง ให้กินมอฟีนบดอาการปวด บ้าง
3
ขอบคุณ COVID ที่ทำให้ลูกๆได้อยู่กับลุงมากขึ้น
ลุงได้กินอาหารที่ชอบบ่อยๆ ได้ออกไปเดินทะเลบ่อยๆ
2
บางวันเหนื่อยเยอะ บวมเยอะ ก็ปรับยากันไป
2
ตั้งแต้ กพ ถึง สค. ลุงเข้ารพ. 1 ครั้ง ด้วยเรื่องท้องผูก (จากเดิมที่เข้าทุกเดือน)
2
เดือนกย. (อาทิตย์ที่แล้ว) ลุงเป็นเส้นเลือดในสมองตีบเข้ารพ.เอกชนที่พัทยา แต่โชคดีมากๆ ทีีอาการกลับคืนมาจนเกือบปกติ เดินได้ คุยได้เหมือนเดิม
3
ลูกๆทุกคน และลุงกังวลมาก เพราะเส้นเลือดสมองตีบ มันมีโอกาศเป็นซ้ำได้อีก
3
เพราะทุกคนไม่อยากให้ลุงต้องเป็น คนไข้ติดเตียง ไม่อยากให้ลุงเป็นคนที่สื่อสารไม่ได้
1
หมอได้แต่บอกว่า ถ้าเราป้องกันทุกทางแล้ว มันจะยังเกิดซ้ำ ก็สุดที่จะทำอะไรได้จริงๆ
(หลายคน ถ้าเลือกได้ อาจจะเลือกตายดีกว่าเป็น stroke ติดเตียง)
1
หลังจากกลับบ้านก็ยังทานได้ ยังด่าลูกๆได้ คุยเล่นได้ เหนื่อยกว่าเดิม ขาบวมมากขึ้น ก็ปรับยากันอยู่ทุกวัน
เมื่อวานตอนเที่ยง ลุงเจ็บหน้าอกมากกว่าทุกครั้งที่เป็นมา อมยาก็แล้ว กินมอฟีนก็แล้ว แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น (โรคหัวใจน่าจะกำเริบรุนแรง)
3
ต้องเพิ่มมอฟีนขึ้น ค่อยๆปรับขึ้น แต่ก็บอกลูกๆว่า จริงๆครั้งนี้ก็ต้องไปรพ. ถ้าเราเลือกจะไม่ไปรพ. ก็คงได้แต่ปรับมอฟีนขึ้นไปเรื่อยๆนะคะ
และนั่นแปลว่าลุงอาจจะซึมลง และเสียชีวิตในที่สุด
3
ซึ่งลูกๆก็เข้าใจ และเลือกไม่พาลุงไปรพ.
หกโมงวันนี้ ลุงได้หลับอย่างสงบ ท่ามกลางลูกๆทุกคน ลุงไม่โดนเจาะเลือดแล้ว ไม่ต้องเหนื่อย ต้องเจ็บหน้าอกอีกแล้ว
1
ใจหายมาก เพราะดูความดัน ดูออกซิเจน ดูขาลุง วันละ 2 รอบ มา 7 เดือน
ขอให้คุณลุงไปสู่สุคติ หลับให้สบาย
ลุงได้ตายอยากมีศักดิ์ศรีที่สุด
มีศักดิ์ศรี อาจจะไม่ได้แปลว่า ตายแบบใช้เครื่องมือแพทย์ หรือเทคโนโลยีเต็มที่
แต่ศักดิ์ศรีคือ ตายแบบสงบ ไม่ปวด ไม่เจ็บ และไม่มีใครมาทำในสิ่งที่ลุงไม่ปรารถนา
10
แพทย์บางคน อาจจะไม่เห็นด้วยกับการดูแบบนี้
อาจคิดว่า ผ่าตัดเปลี่ยนเส้นไป แล้วก็ล้างไต น่าจะอยู่ได้นานกว่านี้...
5
บางครอบครัวอาจจะไม่เห็นด้วย คิดว่าลูกไม่ดูแลพ่อแม่ ไม่พาไปรพ.
3
...แต่นี่คือ "autonomy" หรือ การเคารพในตัวตนของคนไข้ ในความประสงค์ของคนไข้
เพราะหมอเองได้อธิบายทุกๆอย่างกับลุงและลูกจนเข้าใจ
ลุงและลูกตัดสินใจแบบนี้
6
และขอชื่นชมลูกๆคุณลุง ที่เคารพในความต้องการของลุง และดูแลให้ลุงมีช่วงสุดท้ายที่ดีที่สุดในมุมมองของหมอ
3
มันไม่ง่ายเลย ที่ลูกๆทุกคน จะต้องมาดูแลพ่อ จนเสียชีวิตที่บ้านตามที่พ่อต้องการ ต้องใช้ความรัก ความกล้าหาญ ความเข้มแข็ง ความเอาใจใส่อย่างสูง ถึงจะทำได้
3
เพราะจริงๆแล้ว หลายครั้ง "การไม่ทำ ยากกว่าการทำ"
4
107 บันทึก
950
101
283
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
แชร์ประสบการณ์คนไข้
107
950
101
283
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย