Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ThaiFranchiseCenter
•
ติดตาม
5 ต.ค. 2020 เวลา 08:18 • หนังสือ
#รีวิวหนังสือ ทะยาน คิดแบบ Startup ทำอย่างเอสเอ็มอี มีระบบแบบมหาชน
1
หนังสือเล่มนี้ ถอดประสบการณ์ของ "พิชเยนทร์" นับแต่วันเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งเขาไม่ได้ใช้เงินเลยสักบาท แต่ใช้วิธีคิดอย่างสตาร์ทอัพสร้างธุรกิจเล็ก ๆ ของตัวเองขึ้นมา เรียนผิดเรียนถูกแล้วค่อย ๆ สร้างการเติบโต
ผู้เขียน พิชเยนทร์ พงษ์ภักดี (โธมัส)
"สตาร์ทอัพ" เป็นเรื่องของวิธีคิดในการเริ่มต้นธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งหากใครจับจุดสำคัญนี้ได้ ก็จะมีแนวทางสู่ความสำเร็จได้ไม่ยากนัก เฉกเช่น "พิชเยนทร์ หงษ์ภักดี" ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ "anitech" อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบรนด์ดังของไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจจากการทำชิปเซตในห้องเล็ก ๆ ของอพาร์ตเมนต์เก่าในปารีส จุดเริ่มความสำเร็จของเขามาจากวิธีคิดล้วน ๆ วิธีคิดแบบสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจที่สร้างการเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
"ทะยาน คิดแบบ Startup ทำอย่างเอสเอ็มอี มีระบบแบบมหาชน" เล่มนี้ จึงได้ถอดประสบการณ์ของ "พิชเยนทร์" นับแต่วันเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งเขาไม่ได้ใช้งินเลยสักบาท แต่ใช้วิธีคิดอย่างสตาร์ทอัพสร้างธุรกิจเล็ก ๆ ของตัวเองขึ้นมา เรียนผิดเรียนถูกแล้ว ค่อย ๆ สร้างการเติบโตให้ธุรกิจของตัวเองด้วยการลงมือทำอย่างเอสเอ็มอี พร้อม ๆ กับการให้ความสำคัญกับการลงระบบ
โดยมีเป้าหมายสู่การเป็นมหาชน เรื่องราวของเขามีทั้งตัวอย่างของความสำเร็จ และความล้มเหลว ซึ่งจะเป็นทางลัดให้ใครหลายคนประสบความสำเร็จได้โดยไม่ต้องเดินหลงทาง และนี่คือคุณค่าของหนังสือเล่มนี้ที่เราอยากให้คุณลองเปิดอ่าน แล้วคุณจะรู้ว่า...คุณเองก็ทำได้!
Chapter 1 สร้างธุรกิจด้วยวิธีคิด อย่าง Startup
Startup (สตาร์ทอัพ) ใช้คน เวลา และทรัพยากรน้อยประสบความสำเร็จเร็วกว่า ธุรกิจทั่วไปอาจใช้เวลา 20 ปี สตาร์ทอัพใช้เวลาแค่ 5-10 ปี
- ใช้เวลาให้น้อย
- ใช้เครื่องทุ่นแรงให้เป็น
- สร้างแพลตฟอร์มขึ้นมา
- ช่วยเร่งธุรกิจให้โตเร็ว
- เมื่อล้มแล้วต้องรีบลุกให้ไว
สิ่งสำคัญที่สตาร์ทอัพต้องมี หัวใจสำคัญที่ทำให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จได้
- ความได้เปรียนทางการแข่งขัน
- วิธีคิด ทำน้อยได้มาก
- ล้มให้เร็ว ลุกให้ไว
Chapter 2 สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ด้วยวิธีทำอย่างเอสเอ็มอี
ทำธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตไม่ใช่แค่ต้องทำให้เกิดผลกำไรแต่ต้องบริหารกระแสเงินสดด้วย ซึ่งสำคัญกว่ากำไรที่จะเกิดขึ้นด้วย
ให้แบ่งเงินสดออกเป็น 3 ส่วน
- Cash Flow From Operations เงินสดที่ได้จากการขาย
- Cash Flow From Finance เงินสดจากกิจกรรมทางการเงิน
1
- Cash Flow From Equity เงินสดจากการเพิ่มทุนของเจ้าของ
แหล่งเงินทุน กับเงินกู้นอกระบบ ที่ต้องระวัง เพราะมีความเสี่ยงสูง ต้นทุนสูง กำไรแทบไม่เหลือ เพราะถ้าทำธุรกิจ เมื่อรับออร์เดอร์มาแล้วต้นทุนสูงแค่ไหน ก็ต้องทำเพื่อรักษาคอนเน็กชันกับลูกค้าไว้
การตลาดต้นทุนต่ำ แต่สร้างความยั่งยืนให้กับแบรนด์ คิดและทำอย่างเป็นระบบ ทำให้สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด
- กลยุทธ์การตั้งราคา Price
- ช่องทางจำหน่าย Place
- ส่งเสริมการขาย Promotion
แตกแบรนด์ เพื่อดิสรัปต์ตัวเอง ทำให้ลูกค้ายอมรับแบรนด์ใหม่กำหนดกลุ่มลูกค้าที่เหมาะกับสินค้า
ฮันนีมูนพีเรียด กับการตลาดแบบฉวยโอกาส ช่วงเวลาที่สินค้าขายดี เพราะมีอยู่เจ้าเดียว ให้ตระหนักถึงวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ต้องเตรียมหาวิธีป้องกัน หรือ ลู่ทางใหม่ๆ
Chapter 3 สร้างระบบให้เป็นมหาชน เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน
กลยุทธ์หลังบ้านนำหน้าบ้าน ระบบที่ดีเป็นกลไกลสำคัญในธุรกิจสร้างรูปแบบธุรกิจ สร้างระบบบัญชี เช่น ERP เป็นการบริหารการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเน้นการเชื่อมโยงการทำงานทั้งหมดของบริษัทในทุกๆด้าน
การบริหารจัดการสินค้า ความเร็วในการรู้ต้นทุนสำคัญมากทันที่ที่สินค้าเข้ามาใหม่ ต้องรู้แล้วว่าต้นทุนใหม่เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
เมื่อจะลงระบบ ERP ต้องบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรให้สำเร็จ
Workflow ดูเหมือนง่าย แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิดตัวระบบปรับเปลี่ยนไปตามระยะเวลาพนักงานต้องช่วยกันเขียนสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในระบบ
บุคลากร คือ หัวใจหลักที่สำคัญที่สุดต้องเลือกคนที่รักและศรัทธาในอาชีพดีกว่า คนแบบนี้จะรักในงานที่ตัวเองทำ
thaifranchisecenter.com
#รีวิวหนังสือ ทะยาน คิดแบบ Startup ทำอย่างเอสเอ็มอี มีระบบแบบมหาชน , บทความเอสเอ
#รีวิวหนังสือ ทะยาน คิดแบบ Startup ทำอย่างเอสเอ็มอี มีระบบแบบมหาชน , บทความเอสเอ็มอี , การตลาด บริหารธุรกิจ , รีวิวหนังสือ สปอยหนัง by ThaiFranchiseCenter.com
5 บันทึก
6
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
#รีวิวหนังสือ
5
6
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย