25 ต.ค. 2020 เวลา 00:00 • ประวัติศาสตร์
#3 The Brain Club : History
ระเบิดฮาวายโบราณ การช่วยชีวิตคนจากไฟลาวา
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบซากระเบิดโบราณจำนวน 2 ลูก ที่ทางทิศเหนือของภูเขาไฟเมานาโลอา บนเกาะฮาวาย ซึ่งระเบิดดังกล่าวถูกค้นพบโดยนักเดินป่าชื่อว่า คาวีก้า สิงสัน ( Kawika Singson )
โดยในภายหลังทางหอสังเกตการณ์ภูเขาไฟแห่งฮาวาย ( HVO) ได้แจ้งข้อมูลให้เราทราบว่า ระเบิดดังกล่าวเป็นเศษซากของปฎิบัติการทิ้งระเบิดเพื่อเบี่ยงเบนเส้นทางการไหลของลาวา !
2
การไหลของลาวาของภูเขาไฟเมานาโลอา
ย้อนกลับไปในปี 1935 เพียงแค่ 2 วันหลังจากการฉลองเทศกาลคริสต์มาส ภูเขาไฟเมานาโลอา เกิดระเบิดขึ้น ส่งผลให้มีลาวาจำนวนมากไหลตรงไปยังเมืองไฮโล ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกาะฮาวาย ดังนั้นในสภาวะฉุกเฉินเช่นนี้จึงเกิดปฏิบัติการครั้งสำคัญเพื่อช่วยหลือชีวิตผู้คน
โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ทำการส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดเพื่อเบี่ยงเบนเส้นทางการไหลของลาวาไม่ให้ไหลเข้าหาเมืองไฮโล
โดยซากระเบิดทั้งสองลูกที่พบนั้น เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของระเบิดทั้งหมด 40 ลูกที่ได้ทิ้งลงในเหตุการณ์ครั้งนั้น
ทาง HVO แจ้งว่าระเบิดดังกล่าวคือ
" ระเบิดพอยน์เตอร์ " ซึ่งมีขนาดเล็กและมีประจุเพียงเล็กน้อย โดยมีทั้งหมด 20 ลูก ใช้เพื่อการเล็งนำร่องและกำหนดเป้าหมายให้ระเบิดแสวงเครื่อง MKI อีกจำนวน 20 ลูก ซึ่งแต่ละลูกบรรจุ TNT หนัก 355 ปอนด์ ( ราวๆ 161 กิโลกรัม )
การไหลของลาวาของภูเขาไฟเมานาโลอา
แนวคิดของปฏิบัติการครั้งนี้เริ่มมากจาก โทมัส เจคการ์ ( Thomas Jaggar ) นักภูเขาไฟวิทยาของ HVO
ในการประทุครั้งนั้น ลาวาจำนวนมากไหลเข้าหาเมืองไฮโลในอัตรา 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) ต่อวัน ในไม่ช้าคาดว่าลาวาจะไหลลงสู่แม่น้ำ Wailuku แม่น้ำสำคัญของชาวเมืองไฮโล
ในช่วงสองปีก่อนหน้านี้ โทมัส เคยมีแนวคิดเรื่องการใช้วัตถุระเบิดเพื่อเปลี่ยนเส้นทางการไหลของลาวา โดยในตอนแรกเขาวางแผนจะใช้รถบรรทุกขนระเบิดเข้าไปในพื้นที่ใกล้ๆ ช่องทางไหลของลาวา แต่เพื่อนของเขาชื่อ กุยโด ไจโคเมทติ ( Guido Giacometti ) ซึ่งเป็นนักเคมี ได้เสนอวิธีใช้เครื่องบินของกองทัพในการทิ้งระเบิด ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัยกว่า
โทมัสจึงได้ร่วมมือกับทหารอากาศในกองทัพสหรัฐฯ นำเครื่องบินทิ้งระเบิดสองชั้นแบบ B-3 และ B-4 จำนวน 10 ลำ ได้บรรทุกระเบิด 40 ลูกไปยังพื้นที่เป้าหมายสองจุดในแนวเส้นทางการไหลของลาวา และทิ้งระเบิดลงตามจุดต่างๆ โดยโทมัสหวังว่า การทิ้งระเบิดจะช่วยสร้างช่องระบายลาวาใหม่ ให้มีทิศทางการไหลออกจากเมืองและแม่น้ำ
การเปลี่ยนเส้นทางลาวาด้วยวิธีดังกล่าว ก็ยังมีประเด็นให้ถกเถียงกันอย่างมาก โดยมีความกังวลว่า การที่มนุษย์เข้าไปยุ่งกับกระบวนการธรรมชาติของภูเขาไฟ จะส่งผลกระทบหรือไม่
แต่อย่างไรก็ตามภายหลังการทิ้งระเบิด การไหลของลาวาก็ช้าลงและการปะทุก็หยุดลงในวันที่ 2 มกราคมปีถัดมา ทำให้ชาวเมืองไฮโลรอดจากภัยธรรมชาติครั้งนี้ได้ โดยโทมัสเชื่อว่าปฏิบัติการที่เขาทำคือปัจจัยสำคัญ โดยเขากล่าวว่า
" การไหลของลาวาจะไม่หยุดลงอย่างรวดเร็วแบบนี้ ถ้าหากเราไม่ทิ้งระเบิด "
และต่อมาในปี 1939 โทมัสได้มีโอกาสกลับเข้าไปเยี่ยมชมสถานที่ที่ผ่านการทิ้งระเบิดนั้นอีกครั้ง โดยเขาบอกว่าระเบิดได้ทำลายอุโมงค์ลาวาทำให้ลาวาเกิดปะทุขึ้นมาในอากาศทำให้มันเย็นลงได้เร็วขึ้น
การไหลของลาวาของภูเขาไฟเมานาโลอา
แต่มีข้อถกเถียงตามมาว่า ปฏิบัติการในครั้งนั้น
ได้ผลจริงหรือไม่ ?
ในกายหลังได้มีการตรวจสอบพื้นของสถานที่ทิ้งระเบิดในปี 1970 ไม่พบหลักฐานว่าระเบิด ส่งผลให้เกิดการหยุดไหลของลาวาแต่อย่างใด นักวิทยาศาสตร์ของ HVO ได้สรุปว่าการทิ้งระเบิดในครั้งนั้น บังเอิญเกิดขึ้นในช่วงที่การไหลของลาวาเริ่มลดลงเองตามธรรมชาติพอดี ดังนั้นการทิ้งระเบิดในปี 1935 นั้นเป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ในตอนนั้นคิดไปเองว่ามันช่วยหยุดลาวาได้
แต่อย่างไรก็ตามในมุมมองของผม ปฏิบัติการในครั้งนั้นถึงแม้จะเป็นเรื่องบังเอิญไมไ่ด้มีผลช่วยอะไรมาก แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นั้นก็ยังถือเป็นปฏิบัติการที่น่ายกย่องมากๆ เนื่องจากเป็นความต้องการอันแรงกล้าที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกจำนวนมากบนเกาะฮาวายให้อยู่รอดปลอดภัย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา