23 ต.ค. 2020 เวลา 15:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
EP4 จะออนไลน์หรือออฟไลน์ (21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่21, ส่วนที่2)
กรณี Twitter ระบุมีการระงับการใช้งาน 926บัญชีที่เชื่อว่าเป็นเครือข่ายปฏิบัติการ "ไอโอ" ของกองทัพบกมันสร้างความสับสนให้แก่คนที่ใช้เวลาออฟไลน์เป็น
ส่วนใหญ่(อย่างผม)มากว่า ชุมขนออนไลน์มีน้ำหนักสำคัญมากพอที่กองทัพหรือรัฐบาล
จะต้องทุ่มทรัพยากรเข้าไปดูแลบริหารจัดการกระนั้นหรือ
แล้วอะไรทำให้ชุมชนออฟไลน์ เติบโตมาสำคัญได้แบบนี้ ต่อไปเราจะเป็นอย่างไร
926 บัญชีทวิตเตอร์ที่ถูกระงับการใช้งานโดยมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่ามาจากกองทัพบกไทย
หน้าที่ 133 ของหนังสื 21บทเรียนฯมีการกล่าวถึงมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเอาไว้ว่า
จริงๆแล้ว CEO ผู้นี้มีวิสัยทัศน์ที่ต้องการจะเชื่อมต่อความสัมพันธ์ของมนุษย์เข้าด้วยกัน โดยเขาให้ข้อมูลว่า หลายสิบปีที่ผ่านมาความเป็นชุมชนของเรานั้นมี
ขนาดเล็กลดลงเหลือแค่ 1 ใน 4 ของอดีต ซึ่งหากดูรอบตัวผมเองก็คิดว่าจริง
เดี๋ยวนี้ครอบครัวไม่ได้ใหญ่ไม่ได้ใกล้ชิดกันเหมือนก่อน
▪️ว่าแต่ว่าทำไมเดี๋ยวนี้ชุมชนออนไลน์มันถึงเติบโตล่ะ
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก, CEO Facebook เคยอธิบายเอาไว้ในแถลงการณ์เมื่อ
16 กุมภาพันธ์ 2017 ว่า "ชุมชนออนไลน์ช่วยโอบอุ้มชุมชนออฟไลน์ด้วย"
ผู้อ่านเห็นด้วยกับคุณ มาร์กหรือเปล่าครับ เราอาจจะเห็นด้วยบ้างเพราะ
facebook Twitter นั้นไม่ใช่หรือที่ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันกับเพื่อนที่
อยู่ห่างไกลกันได้อยู่นี่นา
แต่ว่า คุณ Yuval เจ้าของหนังสือ 21 บทเรียนฯ ก็ยังเห็นแย้งว่า ในหลายกรณี ชุมชนออนไลน์นั้นมีการขยายตัวขึ้นมาจากการหดตัวของชุมชนออฟไลน์
เรื่องนี้ช่างเหมือนไก่ กับ ไข่เสียจริงๆ ผมเองไม่แน่จะว่าจะอธิบายสิ่งที่ตัวเองคิดอย่างไรดี แต่การมีชุมชนออนไลน์พวก facebook, Instragram นั้นมันทำให้เราเติมช่อง
ว่างในส่วนที่ชุมชนออฟไลน์ทำไม่ได้ เช่นผมอาจได้รับรู้ว่าเพื่อนคนหนึ่งเข้า
โรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดจากการโพสต์ Facebook ของเขา และนั่นทำให้ผมเริ่มต้น
ส่ง LINE ไปคุย หรือ โทรคุยกันเพื่อรับรู้สารทุกข์สุขดิบ กรณีนี้หากไม่มีออนไลน์
ผมอาจไม่มีโอกาสรู้ข่าวของเพื่อนเลย ดังนั้นอย่างน้อยๆ การมีชุมชนออนไลน์ก็น่าจะมีประโยชน์สิน่า แต่ก็ใช่แหละ เมื่อเพื่อนใน facebook มีปริมาณมาก เราก็ไม่ได้อ่าน status ของเพื่อนทุกคนหรอก ผู้อ่านคิดว่าเราติดตามเพื่อนใน facebook จริงๆแล้วกี่คนกันครับ สำหรับผม อืม...ไม่น่าเกิน 20 คนนะ... เอ๊ะ หรือ น้อยกว่านั้น?
แต่อย่างว่า ไม่ว่าเรื่องอะไรก็มักจะมีข้อจำกัด ถูกต้องไหมครับ?
▪️ข้อจำกัดของความสัมพันธ์แบบออฟไลน์ และ ออนไลน์
เราลองมาดูนิยามของสองคำนี้สำหรับ ดร.Yuval กันก่อนนิดนึงนะครับ
ความสัมพันธ์แบบออฟไลน์
มันหมายถึงการที่เราต้องมีการปฏิสัมพันธ์กันทางกายภาพ อย่างกรณีของเพื่อนผมที่ยกตัวอย่างไป จริงอยู่แม้ผมสามารถถามไถ่สารทุกข์สุกดิบผ่าน LINE หรือ พูดคุย
ทางโทรศัพท์ แต่คงไม่สามารถทำให้เพื่อนผมรู้สึกดีได้เท่ากับการไปเยี่ยมถึง
โรงพยาบาล ได้เห็นอาการ ได้จับไหล่หยอกล้อตามประสาเพื่อนสนิท
 
ข้อจำกัดสำหรับความสัมพันธ์แบบออฟไลน์สำหรับโฮโมเซเปี้ยนก็คือ
"โดยเฉลี่ยแล้วไม่น่าจะสามารถรู้จักสนิทชิดเชื้อกับคนอื่นได้มากไปกว่า 150คน"
ผู้อ่านนึกถึงกรณีไหนบ้างครับที่เราเคยมีความรู้จักสนิทชิดเชื้อกับคนอื่นได้ถึง 150
คน มันแทบไม่น่าจะเป็นไปได้เลยด้วยซ้ำสำหรับผมที่เกิดและโตในตัวเมือง
ความสัมพันธ์แบบออนไลน์
เป็นการสื่อสารแบบไม่มีภาษากาย (แม้ว่าจะมีอิโมจิก็ตามนะ) จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นการสื่อสารทางเดียวมากกว่าออฟไลน์ และมีโอกาสทำร้ายความรู้สึกผู้รับข้อมูลได้
มากกว่าการสื่อสารแบบออฟไลน์
ถ้าเรื่องนี้เห็นได้ชัดใน Facebook Twitter เลย ผู้คนมีแนวโน้มโฟสต์ขอความแสดงจุดยืนทางการเมื่อง ติชมร้านกาแฟ แชร์ประสบการเที่ยวสวยๆ โดยที่ไม่มีโอกาสจะรู้ว่าผู้อ่านนั้นอยู่ในสถานะการณ์ที่พร้อมสำหรับเรื่องที่เราโพสต์หรือไม่
ครับผมเคยทานข้าวไป ไถ Facebook ไป แล้ว เจอบางข้อความเรื่องการเมืองทำให้ทานข้าวต่อแทบไม่ได้เลยครับ จริงอยู่แม้ว่าพยายามจะเปิดใจ และคนที่โพสต์นั้นก็เป็นเพื่อนที่เรียนมาด้วยกันก่อนจะมีพรรคการเมืองเหล่านั้นเสียอีก
แม้แต่ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเอง ยังเห็นด้วยกับเรื่องนี้และชี้ให้เห็นประเด็นอย่าง
ชัดเจนว่า
"การแสดงให้ผู้คนเห็นบทความจากคนที่มีมุมมองตรงกันข้าม ที่จริงแล้วกลับจะยิ่ง
เพิ่มความเป็นขั้วให้มากขึ้น โดยการตีกรอบมุมมองความเห็นอื่นๆ ว่าเป็น
สิ่งแปลกปลอม"
▪️การเชื่อมระหว่างออฟไลน์กับออนไลน์เป็นไปได้หรือไม่
เมื่อไม่กี่ปีมานี้มีเกมชื่อว่าโปเกมอนโก ที่ทำให้ผู้คนสามารถออนไลน์ได้ในขณะอยู่
ในออฟไลน์ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ มันเป็นเหมือนปรากฏการณ์แรกๆเลยที่เริ่มมี
การหลอมรวม สองชุมชนเข้าด้วยกันได้ยิ่งหากเราสามารถเล่นเกมส์นี้ได้ด้วยแว่นตาอัจฉริยะ เช่น google glass ล่ะก็มันจะดูเนียนตาสุดๆ
ทั้งเกมส์และแว่น googleสองอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่คุณ Yuval ให้ความเห็นเอาไว้ในหนังสือ21ฯ ว่าต่างก็ถูกออกแบบมาเพื่อขจัดความแตกต่างระหว่างออนไลน์กับออฟ
ไลน์ นั่นหมายความว่าการผนวกรวมกันของทั้งคู่นั้นมีความเป็นไปได้
เกมส์โปเกมอน โก, ตามจับโปเกมอนในโลกออนไลน์ โดยต้องอยู่ในโลกออฟไลน์ด้วย
แว่นตาอัจฉริยะ ทำให้สามารถออนไลน์ได้ระหว่างอยู่ในโลกออฟไลน์
แต่การรวมออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกันจะสามารถทำให้ความเป็นชุมชนของมนุษย์ที่ลดลง 1 ใน 4 กลับไปเพิ่มขึ้นได้จริงหรือ
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้เทคโนโลยี่ออนไลน์เหล่านี้ยิ่งทำให้เกิดช่องว่างไม่เพียงแต่ชุมชนหรอครอบครัว มันยังสร้างช่องว่างระหว่างร่างกายและจิตใจของเราเองด้วย
เรื่องนี้พบเห็นได้ไม่ยาก
ลองเดินไปร้านอาหารแล้วสังเกตุพฤติกรรมผู้คนในร้านดูก็ได้ครับ เราจะเห็นการใช้โทรศัพท์มือถือเข้าสู่โลกออนไลน์มากไปกว่าการให้ ความสำคัญกับคนออฟไลน์
ตรงข้างหน้าเรา เราสูญเสียความใส่ใจคนรอบข้าง รสชาติอาหารที่เราได้รับประทาน เราสนใจสิ่งที่เกิดขึ้นใน instragram ระหว่างเรากำลังทานข้าว
▪️ส่งท้าย
อ่านถึงตรงนี้ผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรครับ เป็นไปได้หรือไม่ที่ในอนาคตโลกออนไลน์จะสำคัญมากขึ้นจนถึงขั้นที่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆสามารถนำมันมาผนวกเข้ากันกับโลกชีวิตจริงของเรา เราคงสามารถประชุมทางไกลเห็นหน้าเห็นตากันเสมือนว่าคนที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งนั่งอยู่ตรงหน้าเราจริงๆ
ถ้าเป็นอย่างนั้นได้จริงๆ จะสามารถลดข้อจำกัดเรื่องภาษากายไปได้เยอะเลยทีเดียว มนุษย์ใช้วิทยาศาสตร์สร้างทุกความเจริญก้าวหน้าเพื่อแก้ปัญหา แต่ทุกๆการแก้ปัญหาก็อาจนำไปสู่ความท้าทายอันใหม่ คุณ Yuval ให้ความเห็นท้ายบทเอาไว้ว่า
"ต่อไป เราอาจจะคิดถึงวันคืนเก่าๆที่แสนดี เมื่อครั้งออนไลน์ยังแยกออกจากออฟไลน์อยู่"ก็เป็นได้
ขอบคุณที่อ่านครับ
โฆษณา