17 ต.ค. 2020 เวลา 11:10 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
EP3 สำนึกเรื่องความยุติธรรมของเราอาจล้าสมัย
(21 บทเรียนฯ ส่วนที่ 4)
เรามาแตะๆเรื่องการเมืองกันสักนิด ลองใช้โอกาสถอยมาดูภาพใหญ่ของเรื่องราวที่เกิดขึ้นในฐานะผู้เฝ้าดูโดยไม่ตัดสินและไม่แบ่งฝ่ายกันสัก 1 บทความนะครับ
▪️การประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมามีความยุติธรรมหรือเปล่า?
คำตอบของคำถามนี้ก็คงขึ้นกับว่ามันออกมาจากปากใครถูกมั๊ยครับ
ผมนึกถึงเนื้อหาส่วนนี้ของหนังสือ 21 บทเรียนฯ, เรื่องเกี่ยวกับว่า ความเข้าใจและการตอบสนองของเราที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมนั้น มันดูเหมือนจะยังไม่ได้รับพัฒนาตัวเองออกมามากนัก นับตั้งแต่ครั้งสมัยเรายังอาศัยอยู่ในถ้ำ
▪️ลองดูการยกตัวอย่างน่าคิดจากหนังสือดูนะครับ
ถ้าสมมุติคุณเข้าป่าไปเก็บเห็ดมาได้เต็มตะกร้า การที่ผมแข็งแรงกว่าทำให้ผมสามารถแย่งชิงเห็ดทั้งหมดมาเป็นของผมเองได้ไหม?
และถ้าสมมุติว่าคุณกับผมเข้าป่าไปล่าสัตว์ด้วยกัน ผมฆ่ากวางได้ตัวหนึ่ง ส่วนคุณจับอะไรไม่ได้เลย ผมควรจะแบ่งกวางตัวนั้นให้คุณไหม?
สำนึกแห่งความยุติธรรมที่เรามีมาตั้งแต่โบราณ มันบอกว่า
ผมไม่ควรไปแย่งเห็ดที่คุณเก็บได้ ยิ่งเมื่อผมแข็งแรงกว่าผมควรไปเก็บเห็ดเองสิ
หรือ เมื่อเราไปล่าสัตว์ด้วยกัน กวางที่ผมฆ่าได้ ก็ควรเป็นสมบัติที่มาแบ่งด้วยกัน
ใช่แล้วครับในสมัยโบราณการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นไม่ได้เป็นกลุ่มใหญ่มาก โฮโมเซเปี้ยนมีทำการเลือกหัวหน้าเผ่าสำหรับการตัดสินเรื่องความยุติธรรม และมันไม่ได้ซับซ้อนมากนักเกินไปกว่าที่จะเข้าใจและยอมรับกันได้
สมัยนั่นเราจึงสามารถคาดหวังความยุติธรรมกันได้แบบเรียบง่าย
แต่
ถ้าผมบอกว่าเห็ดที่ผมแย่งมานั้นเป็นไปเพื่อไปเลี้ยงคนป่วย หิวโซหลายชีวิตในหมู่บ้านล่ะ
หรือที่ผมฆ่ากวาง เพราะมันเป็นคำสั่งของหัวหน้าเผ่าของผมและผมต้องเอาผลงานไปมอบให้แก่นายของผม ผมจึงแบ่งให้คุณไม่ได้ล่ะ
อืม...มันเริ่มซับซ้อนขึ้นมาแล้วจริงไหมครับ
เรายังสามารถคาดหวังความยุติธรรมเหมือนเมื่อครั้งอยู่ในเผ่าเล็กๆได้อยู่หรือ ?
ปัจจุบันนี้ หากมองเผินๆ มนุษย์เราดูเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากนัก นับตั้งแต่บรรพบุรุษของเราเดินทางออกจากทุ่งสะวันน่าในแอฟริกา
แต่ปัญหาคือเราอยู่รวมกันเป็นกลุ่มที่ใหญ่มากขึ้น, scale ของเราไม่ใช่แค่ชนเผ่าไม่กี่สิบกี่ร้อยคนในพื้นที่ไม่กี่ตารางกิโลเมตรอีกต่อไปแล้ว
ประเทศไทยปัจจุบัน น่าจะมีประชากรมากถึง 70ล้านคน การคาดหวัง และการตอบสนองเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรมนั่นมันสลับซับซ้อนมากกว่าแค่เรื่องการแบ่งเห็ด หรือ เนื้อกวางมากนัก
บางทีมันมากจนถึงระดับที่สมองของเราปัจจุบันไม่สามารถทำความเข้าใจกับมันได้จริงๆ
▪️ธรรมชาติของโฮโมเซเปี้ยนเมื่อไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่สลับซับซ้อนมากเกินไปได้แล้ว ก็จะตอบสนองกับเรื่องนั่นๆด้วย Patern ไม่กี่อย่าง
อย่างในกรณีที่เกิดขึ้นกับบ้านเราในช่วงนี้ มีอยู่ 2 อย่างใหญ่ๆ(ซึ่งเป็นไปเหมือนกับที่หนังสือ 21บทเรียนฯ ว่าเอาไว้)
1. เราย่อปัญหาให้เล็กลงด้วยการแบ่งคน 70ล้านคนเป็น 2กลุ่มง่ายๆ เหมือนเราได้รับมรดกตกทอดความคิดนี้อยู่ใน DNA เลย
กลุ่มแรกคือ”กลุ่มเรา” อีกกลุ่มคือ "ไม่ใช่กลุ่มเรา"
เราจะเห็นทั้งการโพสต์แสดงความสะใจจากการที่ฝ่ายของเราได้รับความได้เปรียบ หรือ การติด hashtag เพื่อรวมกลุ่มคนที่เห็นตรงกันเรามาคุยกับเรา
เราติดการตอบสนองปัญหาความยุติธรรมนี้ด้วยการแบ่งเป็น 2กลุ่มอยู่ดี
การแบ่งข้างมันง่ายกว่าการที่จะรับฟังความเห็นที่เรารังเกียจ
2. เรา "สร้างเรื่องราว ความเชื่อ" โดยผูกโยงเรื่องราว ผลักใสฝ่ายตรงข้ามเป็นอธรรม สร้างผู้นำที่เป็นตัวแทนของเราขึ้นมา การทำตามคำสั่งผู้นำของเรา ถือเป็นหน้าที่และเราคิดว่ามันเป็นข้ออ้างที่ดีพอที่จะใช้ในการทำร้ายฝ่ายที่ “ไม่ใช่กลุ่มเรา”
และเราก็แอบเชียร์ให้ผู้นำของเราเป็นฝ่ายชนะ เพราะเราคิดว่าเราจะได้รับประโยชน์บางอย่างจากผู้นำ
เหมือนในอดีตกาลที่ผู้นำเราไปล่าสัตว์สำเร็จ และนำกลับมาให้เราย่างกินเป็นมื้อค่ำ
▪️ความยุติธรรมยุคปัจจุบัน
การใช้กฏหมาย ดูเหมือนใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียมกับปัญหาที่มีขนาดเล็ก มีความขัดแย้ง 2- 30 คนเท่านั้น หาก คู่กรณีมี scale ใหญ่ขึ้น ความสลับซับซ้อน ยิ่งทวีสูงขึ้น
เราอาจตัดสินเรื่องราวจากตัวบทกฏหมายเป็นบรรทัดๆเป๊ะๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะสามารถสร้างการยอมรับทางความคิดได้หมดจรด
หากมันไม่ได้รับการยอมรับทางความคิด ความรู้สึก อยุติธรรมจึงยังคงฝังลึกยิ่งขึ่นไปอีก
กฏกติกาสร้างจากผู้มีอำนาจ แต่เมื่อไหร่จ่าฝูงไม่สามารถโน้มน้าวสมาขิกในถ้ำให้ยอมรับ ความขัดแย้งทางความคิดจะยังคงคุกกรุ่นรอเชื้อไฟถูกเติมต่อไป
▪️ท้ายนี้
ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นแค่ปัญหาเดิมๆ ที่ถูกเขียนขึ้นใหม่ และเราแทบจะไม่ได้เรียนรู้ที่จะปรับมุมมองเรื่องความยุติธรรม และการตอบสนองกับปัญหาด้วยกันใหม่เลย
เราจึงยังแบ่งเขา เแบ่งเราอยู่ดี และจ่าฝูงผู้มีพละกำลังมักจะทำให้สมาชิกในถ้ำต้องเจ็บปวด
เครื่องมือที่เรามีเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ยังมีจำกัด การบังคับใช้กฏหมาย เป็นทางเลือกไม่ต่างจากเมื่อครั้งผู้นำเผ่าของเราตัดสินใจใช้กำลังกับสมาชิกในถ้ำที่ไม่ยอมแบ่งเห็ดให้แก่คนอื่น
การหันหน้าเข้ามายอมรับความคิดกันและกันเป็นเหมือนเรื่องแปลกใหม่ที่ต้องรอการวิวัฒนาการไปด้วยกันอีกสักระยะใหญ่
ผมหวังว่าในอนาคตอันไม่ไกลนัก เราอาจจะวิวัฒนาการตัวเองได้ถึงระดับที่สามารถยอมรับฟังความเห็นที่แตกต่างได้อย่างเป็นเรื่องสนุก จริงจังปนขบขัน
และที่สำคัญ
DNAความต้องการ การใช้กำลังจะต้องอ่อนแอลงจน การใช้กำลังทำร้ายกันเป็นเรื่องที่เราตกใจกันว่าเราเคยทำมันมาก่อนในอดีตด้วยหรือ
เมื่อถึงวันนั้น...
ฝ่ายเราอาจเป็นโฮเมเซเปี้ยนทั้งหมดและฝ่ายเขาคือหุ่นยนต์AI ก็เป็นได้
คิดว่างั้นหรือเปล่าครับ?
ขอบคุณที่อ่านครับ
อ้างอิง
21บทเรียนสำหรับศตวรรษที่21
โฆษณา