Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Stay with Math
•
ติดตาม
12 พ.ย. 2020 เวลา 12:00 • การศึกษา
เลขยกกำลัง (ตอนที่ 7)
คราวที่แล้วเราคุยกันถึง การเขียนจำนวนที่มีค่ามากๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ วันนี้เราจะมาคุยกันต่อเรื่องการตรวจสอบความถูกต้องของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ครับ
ตรวจสอบความถูกต้องของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
หลังจากเราได้สัญกรณ์วิทยาศาสตร์แล้ว ตรวจสอบว่า:-
• ส่วนที่เป็น “หลัก” (Digits) ต้องมีค่า 1 ≤ “หลัก” < 10 อ่านว่า “หลักมีค่ามากกว่า
หรือ เท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 10 ซึ่งจากตัวอย่างในรูปด้านบน 1 ≤ “4.5” < 10 ถูกต้อง
• เลขยกกำลังต้องเท่ากับจำนวนครั้งที่เลื่อนจุดเช่น 4.5 X 10^3 ที่เราเลื่อนจุด 3 ครั้ง
แสดงว่าถูกต้อง
ในกรณีที่ จำนวนเดิมเป็นทศนิยม เลขยกกำลังต้องเป็นจำนวนลบเช่น 0.0045 เป็น
ทศนิยม มีการเลื่อนจุด 3 ครั้ง เลขยกกำลังต้องเท่ากับจำนวนที่เลื่อนคือ 3
นอกจากนี้ ยังต้องเป็นจำนวนลบเพราะจำนวนก่อนการเลื่อนจุดเป็นทศนิยม
ดังนั้นจำนวนยกกำลังต้องเป็นจำนวนลบด้วย
ในที่นี้ 0.0045 = 4.5^(-3) ดังภาพด้านบน
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ มีประโยชน์เมื่อเราต้องเขียนตัวเลขขนาดใหญ่มากหรือน้อยมาก
ลองดูตัวอย่างครับ
ตัวอย่างการนำสัญกรณ์วิทยาศาสตร์มาใช้งาน
เราเห็นได้ว่า สัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ (รวมทั้งด้านวิศวกรรมศาสตร์) มีการเขียนอยู่ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นหลัก (Digits) คือส่วนที่เป็นจำนวนเต็ม อาจรวมทศนิยมก็ได้ กับอีกส่วนหนึ่งคือ ส่วนที่เป็นกำลังของ 10
สัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์มี 2 ส่วนคือ หลักและกำลังของ 10
คราวหน้าเราจะมาคุยกันเรื่องสัญกรณ์ทางวิศวกรรมในวันที่ 14 พ.ย. 2563 เวลา 19.00 น. ครับ
1 บันทึก
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คณิตศาสตร์ ม.ต้น
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย