Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Healthy Hub
•
ติดตาม
23 ต.ค. 2020 เวลา 10:54 • สุขภาพ
⭐ ใครนอนไม่หลับ หลับยาก ฟังทางนี้ !! ⭐
3
ใครที่มีอาการนอนไม่หลับบ้างคะ ? ฟางว่ามีหลายๆคนแน่เลยที่นอนไม่ค่อยหลับ คนที่ฟางรู้จักคนนึงก็เข้าข่ายนอนหลับยากเช่นกัน 55+ เลยทำให้ฟางนึกขึ้นได้ว่าน่าจะเขียนเรื่องนี้
อาการนอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ พักผ่อนไม่เพียงพอ กลายเป็นปัญหาใหญ่ของใครหลายๆคนเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุ อาจมาจากโรคเรื้อรังบางโรค เช่น โรคภูมิแพ้ หอบหืด ความดันโลหิตสูง และปัญหาทางด้านจิตใจ ความเครียดความกังวลต่างๆ
ซึ่งแน่นอนค่ะว่ามันกระทบต่อการใช้ชีวิตของคุณแน่นอน คุณจะรู้สึกอ่อนเพลียในระหว่างวัน และเป็นสาเหตุให้มีปัญหาในการทำงานได้ ซึ่งพบถึง 1/3 ของประชากรที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ และมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2 ต่อ 1 เลยนะคะและพบบ่อยขึ้นตามอายุค่ะ ทีนี้เรามาทำความรู้จักโรคนอนไม่หลับกันค่ะว่ามันเป็นยังไงกันแน่ !!
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คือ โรคที่มีความผิดปกติในวงจรการหลับ โดยสามารถแบ่งเป็นชนิดของการนอนไม่หลับ 3 ชนิดใหญ่คือ
🌟 ชนิดที่ 1 หลับยาก : จะมีอาการหลับได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมงค่ะ
🌟 ชนิดที่ 2 หลับไม่ทน : มักตื่นกลางดึก เช่น หัวค่ำอาจพอหลับได้ แต่ไม่นานก็จะตื่น ในบางคนอาจตื่นแล้วกลับหลับอีกไม่ได้เลยค่ะ
1
🌟 ชนิดที่ 3 หลับๆตื่นๆ : จะมีอาการลักษณะ รู้สึกคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน เพียงแต่เคลิ้ม ๆ ไปเป็นพัก ๆ เท่านั้นค่ะ
1
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
นอกจากนี้ถ้าแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรคก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
⭐ Adjustment insomnia (โรคการนอนไม่หลับจากการปรับตัว) ซึ่งผู้ป่วยมักเป็นฉับพลันตามหลังสถานการณ์ค่ะ เช่น ความเครียด, การเจ็บป่วย, ปัญหาวิตกกังวล, สถานที่นอนหรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเมื่อปัจจัยที่กล่าวมาหายไปอาการนอนไม่หลับก็มักกลับมาปกติค่ะ
⭐ Chronic insomnia (โรคการนอนไม่หลับเรื้อรัง) ผู้ป่วยจะมีภาวะนอนไม่หลับอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์และเป็นมาอย่างน้อย 3 เดือนค่ะ
และผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับอาจจะมีอาการเพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีหลายข้อรวมกันก็ได้นะคะ และแน่นอนเมื่อมีอาการนอนไม่หลับในช่วงตอนกลางคืนนั้นก็จะส่งผลกระทบในตอนกลางวันทำให้รู้สึกคุณรู้สึกอ่อนแรง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ ง่วงซึม เป็นต้นค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะนอนไม่หลับ ⭐
1. อ่อนเพลีย
2.ไม่สามารถมีสมาธิกับการทำงาน, ความจำเปลี่ยนแปลง
3. ความสามารถในการทำงานลดลง
4. อารมณ์หงุดหงิดกระสับกระส่าย
5. ง่วงนอนเวลากลางวัน
6. ขาดพลังในการใช้ชีวิตอ่อนเพลีย
7. การเกิดอุบัติเหตุ
8. กังวลเกี่ยวกับปัญหาการนอนที่เกิดขึ้น
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ ⭐
🌼 ปัญหาจากสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ สว่างเกินไป เสียงรบกวนจากการจราจร โทรทัศน์ พื้นที่นอนแคบเกินไปหรือกว้างเกินไป หรือการนอนต่างที่ ทำให้หลับยาก ได้ค่ะ
1
🌼 ปัญหาจากร่างกาย เช่น อาการเจ็บป่วย ปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัว เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจ มีอาการไอ ค่ะ
🌼 ปัญหาจากจิตใจ เช่น ความเครียด อาการวิตกกังวล แรงกดดัน หรือมีอาการซึมเศร้าและท้อแท้ หมดกำลังใจ หมดหวังในการใช้ชีวิต คิดว่าตัวเองไร้ค่า ยึดติดและอยู่กับตัวเองมากเกินไป การทำงานที่ไม่ได้ตามที่ตนเองหวังไว้ค่ะ
🌼 นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อาจว่งผลให้เกิดภาวะนอนไม่หลับได้ค่ะ เช่นการดื่มแอลกอ ฮอล์ คาเฟอีนในกาแฟ บุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิดนั้นอาจส่งผลเกี่ยวกับการนอนหลับได้ หรือท้องว่าง ทำให้เกิดอาการอึดอัด หิวขึ้นมาในช่วงดึก หรืออิ่มมากเกินไป จนทำให้มีอาการแน่นท้องกลางดึก จนนอนไม่หลับ รวมไปถึงหน้าที่การงานบางประเภท เช่น งานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่สม่ำเสมอ ( Shif work ) เช่น พยาบาล ยาม พนักงานโรงงานเป็นต้นค่ะ
1
🌼 การใช้ยาหรือสารบางอย่างค่ะ เช่นยาแก้หวัด, ยากลุ่ม psudoepheridrine,ยาลดน้ำหนัก,ยาแก้หอบหืด, ยาต้านซึมเศร้า, ยากลุ่ม methylphenidate นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน,นิโคตินและแอลกอออล์ก็มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับได้ด้วยค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ การรักษาอาการนอนไม่หลับ ⭐
วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุอาการนอนไม่หลับของแต่ละบุคคลค่ะ ซึ่งต้องแยกให้ได้เสียก่อนว่ามาจากสาเหตุใด หากเกิดจากอุปนิสัยการนอน แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้อง แต่ถ้าเกิดจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ โรคประสาทตื่นตัวผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาร่วมด้วยได้ค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
https://pin.it/2Q7EFis
⭐ นอนไม่หลับแบบไหน ถึงควรจะพบจิตแพทย์ ⭐
มีใครบ้างที่นอนหลับไม่สนิท หรือนอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน หากเป็นแบบนี้จะส่งผลต่ออารมณ์ สมาธิ ความจำ เกิดภาวะเครียด กดดัน รู้สึกเป็นกังวล รบกวนจิตใจของคุณ มีผลกระทบต่ออารมณ์และประสิทธิภาพในการทำงาน คุณควรปรึกษาแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยด้วยการสอบถามประวัติความเจ็บป่วย อุปนิสัยการนอน ปัญหาที่ทำให้เกิดความกังวลใจ ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับต่อไปค่ะ อย่าปล่อยไว้นะคะ ควรรีบปรึกษาแพทย์ค่ะ
1
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ การป้องกันอาการนอนไม่หลับ ⭐
1. คุณเข้านอนให้เป็นเวลาปรับพฤติกรรมการนอนที่ไม่เป็นเวลา ไม่งีบหลับระหว่างวัน ไม่กดดันตัวเองให้นอนหลับ เพราะอาจส่งผลให้ตัวเองเกิดความวิตกกังวลได้ค่ะ
2. ดื่มน้ำอุ่นๆ ก่อนนอน พยายามผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้ประสาทตื่นตัวหลังมื้อเที่ยง เช่น กาแฟ หรือชา และสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้คุณหลับยากมากยิ่งขึ้นค่ะ
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักช่วงก่อนนอน การออกกำลังอาจจะช่วยให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้น แต่ช่วงเวลาที่คุณออกกำลังกายนั้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการนอนได้ด้วยเช่นกัน เพราะหากออกกำลังกายในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม จะทำให้คุณนอนหลับได้ยากขึ้นไปอีกค่ะ
2
4. พยายามหลับให้ได้ด้วยตัวเอง หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับนะคะ
5. คุณควรผ่อนคลายร่างกาย ด้วยการอาบน้ำอุ่น หรือได้รับการนวด หรือใช้กลิ่มน้ำหอมบำบัดหรือดนตรีเบาๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย จะช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้นค่ะ ลองดูนะคะ
6. คุณควรหลีกเลี่ยงการทำงานเครียด ดูหนังตื่นเต้น หรืออ่านหนังสือนิยายสนุกจนวางไม่ลงก่อนนอน เพราะจะทำให้ใจเราไปคิดเรื่องพวกนั้นได้ค่ะ จะหลับยากนะคะแบบนี้
7. จัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะกับการนอน เช่น เงียบสงบ เย็นสบาย มืด อากาศถ่ายเทได้ดี คุณภาพของที่นอน หมอนสูงไปไหม ? ต่ำไปไหม ? เหมาะกับสรีระและลักษณะการนอนของตัวเองรึป่าวด้วยนะคะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
1
การรักษาภาวะนอนไม่หลับโดยการใช้ยาประกอบไปด้วยยากลุ่มต่างๆดังต่อไปนี้
https://pin.it/2Q7EFis
💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊
1. Benzodiazepine
กลุ่มยาดังกล่าวเป็นกลุ่มยาที่ใช้บ่อยในเวชปฏิบัติ ถ้าแบ่งคร่าวๆ จะเเบ่งเป็นกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นและออกฤทธิ์ยาวค่ะ สำหรับกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้น ได้แก่ lorazepan, triazolam ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่นอนหลับยากในช่วงแรก (initial insomnia) แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยากลุ่มนี้ที่ออกฤทธิ์เร็วเช่น Alprazolam, Midazolam
** อาจเกิดการขาดยาได้ง่าย จึงถอนยาออกได้ยาก โอกาสติดยาสูง จึงต้องระมัดระวังในการใช้ยาอย่างมากค่ะ ** สำหรับ กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์นานเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลับไม่สนิทระหว่างคืนหรือตื่นเร็วกว่าปกติ เช่น clonazepam, diazepam เป็นต้นค่ะ
สำหรับผลข้างเคียงของยากลุ่มดังกล่าวได้แก่ การกดประสาททำให้บางทีมีอาการง่วงต่อเนื่องกลางวัน, กระบวนการคิดและตัดสินใจลดลง, การศูนย์เสียความจำแบบไปข้างหน้า (anterograde amnesia), ภาวะสับสน, ละเมอ, เดินเซ เป็นต้น การใช้ยาในผู้สูงอายุอาจลดขนาดและต้องระวังผลข้างเคียงอย่าง **สิ่งสำคัญการรับประทานยากลุ่มนี้ต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์มีโอกาสเกิดการดื้อยาได้นะคะ และเกิดอาการขาดยาได้เมื่อหยุดการใช้ยาค่ะ **
1
💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊
2. Non- Benzodiazepine เช่น Zolpidem เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์เร็ว ดูดซึมได้ดี อย่างไรก็ตามอาจต้องระวังผลข้างเคียงเช่น ง่วงซึม,มึนศีรษะ หรือ ละเมอ ค่ะ
💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊
3. ยาต้านซึมเศร้า เช่น Trazodone , Mirtazapine ซึ่งยาดังกล่าวนอกจากมีผลเรื่องการปรับอารมณ์ แล้วยังมีกลไกการออกฤทธ์ช่วยการหลับด้วยค่ะ
💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊💊
1
4. ยากลุ่ม melatonin เป็นสารที่สังเคราะห์ภายในร่างกายมีบทบาทช่วยให้เกิดการนอนหลับ ปัจจุบันมีการผลิตยาที่อยู่ในรูปเมลาโทนินภายนอกร่างกายใช้เพื่อช่วยการนอนหลับค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
ปัญหาการนอนไม่หลับ อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ แน่นอนว่าจะส่งผลเสียกับร่างกาย เราควรจัดการวางแผนเรื่องเวลาเราให้ดี งานคืองาน เวลาพักผ่อนก็ต้องพัก การที่เราหักโหมจนไม่มีเวลาได้นอน นั้นเป็นเพราะว่าคุณไม่สามารถจัดการเรื่องเวลาของคุณให้ลงตัวได้ ถ้าคุณต้องนอนดึกแล้วตื่นเช้า การทำงานวันต่อไปก็จะไม่ค่อยดีรวมทั้งสุขภาพก็ไม่ดีไปด้วย เพราะฉะนั้นคุณควรดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ 😊
1
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ อ้างอิง ⭐
https://www.webmd.com/sleep-disorders/insomnia-symptoms-and-causes
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/symptoms-causes/syc-20355167
https://www.sleepfoundation.org/insomnia
https://www.sleepfoundation.org/insomnia/what-causes-insomnia
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
31 บันทึก
42
39
41
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Food and Health ( อาหารและสุขภาพ)
31
42
39
41
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย