18 ต.ค. 2020 เวลา 16:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดวงจันทร์ของก็เราเคยมีสนามแม่เหล็ก และยังเคยทำหน้าที่ช่วยปกป้องบรรยากาศของโลกเราให้ดำรงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ได้
ด้วยการซ้อนทับกันของสนามแม่เหล็กเกิดเป็นเกราะกำบังสนามแม่เหล็กร่วม โลก-ดวงจันทร์
เมื่อนานมาแล้วทั้งโลกและดวงจันทร์นั้นต่างมีสนามแม่เหล็กของตัวเองและผนึกกำลังกันป้องกันรังสีพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ทำลายชั้นบรรยากาศ
โดยผลการศึกษานำโดย NASA เปิดเผยว่าเมื่อก่อนนั้นดวงจันทร์เคยมีสนามแม่เหล็ก และการสอดประสานกันของสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้ได้ช่วยป้องกันบรรยากาศโลกให้อยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ได้
ทั้งนี้หนึ่งในทฤษฎีการก่อกำเนิดดวงจันทร์ที่ยอมรับกันมากที่สุด (dominant theories) เชื่อว่าเกิดจากดาวเคราะห์ที่กำลังก่อตัวขนาดใกล้เคียงดาวอังคารชื่อ THEIA ได้พุ่งชนโลกอย่างรุนแรง ประมาณ 100 ล้านปีหลังการก่อนกำเนิดระบบสุริยะ
ส่งผลให้แกนการหมุนรอบตัวเองของโลกเอียงอย่างในปัจจุบัน รวมถึงทำให้การหมุนรอบตัวเองของโลกช้าลงจากวันละ 5 ชั่วโมงเป็น 24 ชั่วโมงในปัจจุบัน ส่วนเศษซากจากการชนได้รวมตัวกันกลายเป็นดวงจันทร์บริวารของโลกมาจนถึงปัจจุบันนี้
หนึ่งในทฤษฎีการก่อกำเนิดดวงจันทร์
ซึ่งดวงจันทร์ในยุคแรกนั้นก็เหมือนกับโลกของเราคือมีสนามแม่เหล็กและมีชั้นบรรยากาศ และได้โคจรใกล้กับโลกกว่าในปัจจุบันมาก (ดวงจันทร์ยังคงโคจรห่างออกจากโลกมากขึ้นปีละ 3.8 เซนติเมตร)
โดยในรายงานการศึกษาของ NASA ได้ใช้แบบจำลองในคอมพิวเตอร์เพื่อประเมินว่าสนามแม่เหล็กของโลกและดวงจันทร์เมื่อ 4,000 ล้านปีก่อนนั้นส่งอิทธิพลต่อกันอย่างไรบ้าง
สนามแม่เหล็กของดวงจันทร์ก็คล้ายกลับโลกของเราคือมีขั้วเหนือ-ใต้
ผลที่ได้นั้นพบว่าด้วยระยะทางและอิทธิพลของสนามแม่เหล็กโลกกับดวงจันทร์นั้นส่งผลให้เกิดการถ่ายโอนชั้นบรรยากาศระหว่างโลกและดวงจันทร์ในสมั้ยนั้นด้วย
โดยเกิดจากการที่ก๊าซในชั้นบรรยากาศขั้นนอกถูกอนุภาคหรือรังสีพลังงานสูงที่พุ่งผ่านเกราะสนามแม่เหล็กเข้าชนจนสูญเสียอิเล็กตรอนออกไปกลายสภาพเป็นไอออน
ซึ่งจะถูกเหนี่ยวนำโดยสนามแม่เหล็กของ โลก-ดวงจันทร์ ทำให้อนุภาคมีประจุเหล่านี้สามารถล่องลอยข้ามอวกาศระหว่างโลกไปยังดวงจันทร์ได้
เป็นคำอธิบายได้ว่าทำไมถึงมีการตรวจพบธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของบรรยากาศโลกในตัวอย่างดินที่นำกลับมาจากดวงจันทร์ด้วย
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการซ้อนทับกันของสนามแม่เหล็กของโลกและดวงจันทร์นี้น่าจะอยู่ในช่วง 4,000 ถึง 3,500 ล้านปีก่อน
สนามแม่เหล็กของดวงจันทร์อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่อราว 3,500 ล้านปีก่อน
โดยนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าในช่วง 3,500 ล้านปีก่อนดวงจันทร์เคยมีสนามแม่เหล็กที่เข้มข้นกว่าสนามแม่เหล็กโลกในปัจจุบันเสียอีก
ก่อนที่สนามแม่เหล็กของดวงจันทร์นั้นจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถส่งอิทธิพลในการเป็นเกราะกำบังสนามแม่เหล็กร่วม โลก-ดวงจันทร์ได้อีกต่อไป
ดวงจันทร์นั้นมีความสำคัญกับโลกและทุกชีวิตบนโลกมากกว่าที่เราเคยเข้าใจ
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าดวงจันทร์ในช่วงแรกน่าจะมีส่วนประกอบคล้ายโลก คือมีแกนเป็นชั้นของเหลวและแกนโลหะแข็ง
แต่เมื่อดวงจันทร์ที่เย็นตัวลงเร็วกว่าโลกทำให้มันสูญเสียสนามแม่เหล็กไปอย่างรวดเร็วในช่วง 3,200 ล้านปีก่อน ก่อนที่จะไร้สนามแม่เหล็กในช่วง 1,500 ล้านปีก่อน
เมื่อไร้ซึ่งสนามแม่เหล็ก ลมสุริยะก็ได้เป่าเอาบรรยากาศของดวงจันทร์หลุดลอกออกไปจนไม่มีอะไรเหลืออย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สนามแม่เหล็กโลก เกราะกำบังรังสีที่ปกป้องทุกชีวิตบนดาวเคราะห์สีฟ้าดวงนี้
ทั้งนี้ NASA มีแผนจะนำตัวอย่างดินจากดวงจันทร์ในบริเวณขั้วโลกใต้กลับมายังโลกเพื่อทำการวิเคราะห์และยืนยันผลการศึกษานี้ผ่านภารกิจในโครงการ Artemis ในอีก 4 ปีข้างหน้า
ก็รอดูผลการศึกษากันต่อไป น่าจะช่วยให้เราได้เข้าใจประวัติศาสตร์ของโลกและดวงจันทร์มากยิ่งขึ้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา