26 ต.ค. 2020 เวลา 10:40 • สุขภาพ
คราบไขมัน อันตรายถึงตาย
ยาดำในนักกีฬา คราบไขมัน อันตรายถึงชีวิต
สัปดาห์นี้ ผมได้ยินข่าว คนเสียชีวิต และเกือบเสียชีวิตจากการออกกำลังไป 3 คน
คนนึงเป็นนักวิ่ง ตามทีปรากฏในข่าว
คนนึงเป็นนักวิ่งมาราธอน 10 กว่าสนาม ไปเดินขึ้นเขา แล้วมีอาการเหนื่อย นอนพักระหว่างทางแล้วเสียชีวิต
คนนึงเป็น ผู้ชม เข้าไปเชียร์มวย แล้ว ล้มหมดสติ แต่ไม่เสียชีวิต
ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกาย เป็น Mode นึง ที่ทำให้คนมีโรคหัวใจซ่อน เสียชีวิต แต่แม้ว่าไม่ได้ออกกำลังกาย คนกลุ่มมีโรคซ่อนก็ยังเสียชีวิตได้อยู่ดี จากการ ออกแรงหนัก หรือการทำงานของหัวใจหนักกว่าปกติ จากอะไรก็ตาม เช่น เพศสัมพันธ์ เดินขึ้นทางชัน เดินขึ้นบันได ตกใจ มีเหตุให้ออกแรงมากกว่าปกติ
คนที่เป็นนักกีฬา แข็งแรง จบมาราธอน ก็ยังเกิดได้
กลไกการเสียชีวิตจากหัวใจขาดเลือดฉับพลัน มี 2 แบบ ที่พบกันบ่อย
1 มีเส้นเลือดตีบอยู่แล้ว พอออกกำลังมากขึ้น ทำให้ เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ กับการที่หัวใจต้อง ทำงานหนักมากขึ้น ต้องใช้ออกซิเจนมากขึ้น จึงเกิดการเจ็บหน้าอก หัวใจขาดเลือดฉับพลัน ทำให้เสียชีวิตได้
2 เส้นเลือดยังไม่ตีบ แต่มีคราบไขมันสะสมในหลอดเลือด ( Plaque) วันดีคืนร้าย เมื่อออกกำลังหนักขึ้น ความดันในเส้นเลือดหัวใจสูงขึ้น ก็มีโอกาสทำให้คราบไขมัน ที่หนาๆ และไม่ Stable( หลุดง่าย ) หลุดออกมา จากเส้นเลือด กลไกของร่างกายเข้าใจว่าร่างกายเกิดแผลในหลอดเลือด ก็ไปสร้าง ก้อนเลือด เกร็ดเลือดไปอุดที่เส้นเลือด เกิดหัวใจขาดเลือดฉับพลัน นำไปสู่หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรงและเสียชีวิต
ความเสี่ยงในการเกิดคราบไขมันในหลอดเลือด ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี เบาหวาน ความดันสูง อ้วน ประวัติโรคหัวใจขาดเลือดในครอบครับ อายุที่มากขึ้น
ปัญหาที่ถกเถียงกันมาตลอดในด้านของแพทย์
นักกีฬาเกิน 35 ต้องตรวจอะไรบ้าง ล่าสุดเรามี Guideline ข้อแนะนำการตรวจทางนักกีฬาออกมาชัดเจน เมื่อต้นปี ESC 2020 คำว่า Guideline จะยึดถือ สิ่งที่ควรทำ เหมาะสมในการหาโรค ค่อนข้างแม่นยำ ผลบวกลวงน้อย ( ตรวจผิดปกติแต่ไม่มีโรค) ผลลบลวงน้อย (ตรวจปกติแต่จริงๆมีโรค) และไม่เป็นการตรวจที่เกินความจำเป็น
การตรวจเดินสายพาน ให้ความสำคัญลดลงในตัว Guideline เพราะ มีผลบวกลวง และผลลบลวงได้เยอะกว่า วิธี CTA
การตรวจ CTA ( CT หลอดเลือดแบบฉีดสี)
เป็นการตรวจที่ให้ความสำคัญมากขึ้น แนะนำให้ทำมากขึ้น ก่อนที่จะไปฉีดสีเลย ( CAG สวนหัวใจ) แต่นักกีฬาต้องโดน Contrast สารที่ใช้ฉีดสี ( Iodine ) ซึ่งมีโอกาสแพ้รุนแรงมากสุด คือเสียชีวิตได้ ถึงพบน้อยมากแต่พบได้ สามารถตรวจได้ทั้งกลุ่ม 1 และ 2 ของหัวใจขาดเลือด
ภาพรวม คือ CTA – ชัวส์ กว่า EST เห็นภาพ เห็นการตีบเส้นเลือด เห็นคราบไขมัน แต่ต้องโดน Contrast
EST เดินสายพาน
เกิดผลบวกลวง ผลลบลวงได้ แต่ดู ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะขณะออกกำลังกายได้ และไม่ต้องโดน Contast ในโรคหลอดเลือด แบบ 2 คือเส้นไม่ตีบ มีแต่คราบไขมัน จะตรวจไม่พบความผิดปกติ ส่วนแบบ 1 มีเส้นตีบ จะตรวจได้ แต่ไม่ 100 % ถ้าเดินไม่ถึง ความหนักของหัวใจ หรือเส้นตีบไม่มาก หรือ บางครั้งมีจริงก็อาจตรวจไม่เจอได้เหมือนกัน ( False Negative )
อีกวิธีคือการทำ CT Calcium Score
คือการทำ CT แบบไม่ฉีดสี ดูค่าแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ข้อดีคือ ไม่โดน Contrast บอก คราบไขมัน แคลเซียมได้ แต่ไปต่อไม่สุด ถ้าพบผลแคลเซียมสูงๆ ต้องตรวจ CTA อยู่ดี เหมาะกับ case ที่คิดถึงโรคน้อย คนที่มี ความเสี่ยงโรคหัวใจน้อย ถ้า ผลปกติ เชื่อได้ว่าน่าจะปกติจริง
มุมมองของนักกีฬา ตัดเรื่อง Cost Effectiveness ออก ( ความคุ้มค่าในการตรวจกับเงินที่จ่ายไปในภาพรวมของประเทศ)
กลัวเสียชีวิตฉับพลัน ขณะออกกำลังกาย อยากตรวจให้รู้เลยว่ามีโอกาสเกิดไหม แต่ไม่อยากสวนหัวใจ
ผมมองเป็น 2 กลุ่มความต้องการ
1 กลุ่ม สาย Performance ที่ต้องการ การออกกำลังที่ตรงจุดจากการตรวจ CPET กลุ่มนี้การ Monitor EKG คลื่นหัวใจ ขณะตรวจ ยังได้ประโยชน์ ทั้งในแง่การแปรผล การตรวจหัวใจขาดเลือด และในแง่ของหัวใจเต้นผิดจังหวะ จากการออกกำลังกาย
จากการตรวจนักกีฬา ของ Health Performance Team ประมาณ 700 เคส ตรวจพบ หัวใจขาดเลือด 4 เคส และหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรง 2 เคส ไม่ไม่รุนแรง แต่ต้องตรวจเพิ่มเติมอีก 2 เคส
2 กลุ่มที่ไม่ต้องการ Zone ในการซ้อม อยากแค่คัดกรองโรคเพียงอย่างเดียว ให้ดูตาม Guideline คำแนะนำของแพทย์ ตามความเสี่ยงของแต่ละคนได้เลย ว่ามีความจำเป็นต้องตรวจ CTA หรือไม่
แต่ถ้ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าเกณฑ์ในการเสี่ยง แต่อยากรู้จริงๆ ว่าเส้นเลือดมีปัญหาไหม เส้นเลือดมีคราบไขมันรึยัง ซึ่งกลุ่มนี้มีเยอะ การตรวจ CT Calcium Score สามารถบอกได้ ว่าหลอดเลือดมีคราบไขมันรึยังและไม่มีข้อแทรกซ้อนในการตรวจ
#เมื่อตรวจเจอคราบไขมันในหลอดเลือด เจอแคลเซียมในหลอดเลือด แต่ไม่มีเส้นเลือดตีบต้องทำยังไง
CT Calcium , CTA บอกได้ว่า มีคราบไขมันมาก หรือน้อย แต่ไม่สามารถบอกได้โดยตรงว่าคราบไขมันเราหลุดได้ง่าย ( Vulnarable ) หรือหลุดยาก การตรวจพบคราบไขมันในหลอดเลือด ไม่ได้บ่งบอกว่าห้ามออกกำลังกาย ไม่ได้บ่งบอกว่าห้ามแข่งกีฬา แต่บ่งบอกว่า คุณต้องเปลี่ยน Life Style ตัวเองในการใช้ชีวิต บ่งบอกว่า คุณต้องออกกำลังอย่างเหมาะสม บ่งบอกว่า คุณต้องเริ่มกินยาไขมัน อย่าไปฟังบทความต่อต้าน Statin (ยาไขมัน) จนเสียโอกาสในการรักษา เพราะยา Statin นอกจากลดไขมันในเลือดแล้ว ยังทำให้คราบไขมันไม่หลุดง่ายด้วย
สรุปสุดท้าย
1 ไขมันในหลอดเลือดคือยาดำของนักกีฬา อย่าปล่อยปะ ละเลย กินยาเมื่อมีข้อบ่งชี้ อย่านึกว่าออกกำลังแล้วไขมันลด
2 แม้เส้นเลือดไม่ตีบก็เสียชีวิตจากหัวใจขาดเลือดได้ ถ้ามีคราบไขมันในหลอดเลือด
3 การตรวจโรคหัวใจขาดเลือด ที่ไม่ใช่สวนหัวใจ ไม่มีคำว่า 100 % รู้จักคำว่า False Positive , False Negative
4 การตรวจ ที่ง่าย สะดวก ความเสี่ยงน้อย ต้องยอมรับว่ามี False Positive , False Negative สูงกว่า
5 EST เดินสายพาน ตรวจคราบไขมันไม่ได้ ยังพอตรวจเส้นเลือดหัวใจตีบได้ และตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะขณะออกกำลังได้
6 CT Calcium Score , CTA มีบทบาทมากขึ้น ในการคัดกรองนักกีฬา
7 อายุ 35 ปีขึ้นไปแล้ว แข่งกีฬา ตรวจคลื่นหัวใจ แบบพัก สักครั้งนึง
หมอแอร์
โฆษณา