27 ต.ค. 2020 เวลา 01:45 • ธุรกิจ
รู้ใหมว่าทำไมนายจ้างชอบทดลองงาน 119 วัน
ลองดูอัตราการจ่ายค่าชดเชย (เมื่อเลิกจ้าง) คิดดังนี้
- ทำงานครบ ๑๒๐ วันแต่ไม่ครบ ๑ ปี จ่ายค่าชดเชย ๓๐ วัน
-ทำงานครบ ๑ ปี แต่ไม่ครบ ๓ ปี จ่ายค่าชดเชย ๙๐ วัน
-ทำงานครบ ๓ ปี แต่ไม่ครบ ๖ ปี จ่ายค่าชดเชย ๑๘๐ วัน
-ทำงานครบ ๖ ปี แต่ไม่ครบ ๑๐ ปี จ่ายค่าชดเชย ๒๔๐ วัน
-ทำงานครบ ๑๐ ปีแต่ไม่ครบ ๒๐ ปี จ่ายค่าชดเชย ๓๐๐ วัน
- ทำงานครบ ๒๐ ปีขึ้นไป จ่ายค่าชดเชย ๔๐๐ วัน
จะเห็นว่าหากนายจ้างทดลองงาน ๑๑๙ วัน และหากนายจ้างเลิกจ้างในวันที่ ๑๑๙ ก็จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
และคำถามที่มักจะถามกันบ่อยมากว่าลูกจ้างทดลองงานจะมีสิทธิอะไรบ้าง คำตอบคือ มีสิทธิเหมือนลูกจ้างอื่นทุกประการ เว้นแต่วันหยุดพักผ่อนประจำปี
ถาม มีสิทธิลาป่วยได้ใหม
ตอบ เข้าวันแรกก็มีสิทธิลาป่วยได้เลย กฎหมายคุ้มครองเท่ากันหมด
ถาม ลาป่วยช่วงทดลองงาน นายจ้างจะไม่เอาไปประกอบพิจารณาการทดลองงานเหรอ
ตอบ นายจ้างเอาไปพิจารณาได้ เพื่อความเป็นธรรมนายจ้างเองก็คงต้องการคนที่ทำงานมีประสิทธิภาพมาร่วมงาน
ถาม ทดลองงาน 119 วันจะได้ค่าอะไรบ้าง
ตอบ หากไม่ผ่านการทดลองงาน นายจ้างจะแจ้งให้ออกในวันที่ 119 ก็จริง แต่จะมีการแจ้งก่อนอย่างน้อย 1 รอบการจ่ายค่าจ้าง แต่ถ้านายจ้างไม่แจ้ง คือพอครบวันที่ 119 ก็ให้ออกเลย เช่นนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ถาม ลูกจ้างทดลองงานมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาหรือไม่
ตอบ ขอยืนยันคำตอบเดิม ลูกจ้างทดลองงานมีสิทธิเหมือนลูกจ้างอื่นทุกประการ จึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
เว้นแต่ นายจ้างไม่ได้สั่งงาน แต่ลูกจ้างต้องการแสดงให้นายจ้างเห็นถึงความทุ่มเทในการทำงาน หรือทำงานยังไม่เสร็จ จึงอาสาทำงานต่อไปเองโดยนายจ้างไม่ได้สั่ง เช่นนี้ ย่อมไม่ใช่การทำงานล่วงเวลา
ถาม ระหว่างการทดลองงานหากได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่
ตอบ ได้รับ เพราะกฎหมายคุ้มครองเหมือนลูกจ้างทั่วไป
ถาม นายจ้างทดลองงานรอบแรก 119 วัน แต่ไม่ผ่าน จึงทดลองงานอีก 119 วัน เช่นนี้ จะได้รับค่าชดเชยหรือไม่
ตอบ ได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา 118 ด้านบน เพราะกฎหมายให้นำระยะเวลาทุกช่วงมารวมกันเพื่อคำนวณการจ่ายค่าชดเชย
1
โฆษณา