27 ต.ค. 2020 เวลา 23:30 • สุขภาพ
โรคหลอกตัวเอง (Pathological Liar)
โรคหลอกตัวเอง Pathological Liar
โรคหลอกตัวเอง คืออะไร?
โรคหลอกตัวเอง มีจุดเริ่มต้นจาก การแต่งเรื่องตัวเอง เพื่อจะหนีจากความเป็นจริงที่ไม่อยากรับรู้ ก็มักจะสร้างเรื่องหลอกตัวเองซ้ำ ๆ จนเชื่อว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริง โดยผู้ป่วยจะโกหกโดยที่ไม่สนใจว่าเรื่องที่แต่งนั้นจะผิดหรือถูก
ทำไมถึงต้องหลอกตัวเอง?
• เพื่อต้องการที่จะให้คนอื่นชื่นชมเรา
• สร้างภาพลักษณ์
• อาจจะแค่สนุก
ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอกตัวเอง?
• ความขัดแย้งในครอบครัว
• ถูกกระทำชำเรา ถูกทำร้ายร่างกาย หรือบังคับขืนใจ
• ความผิดปกติทางประสาท เช่น ความพิการทางสมอง ความบกพร่องทางการเรียนรู้
• มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตัวเอง
• ลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมเลียนแบบ
• อาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวน เช่น บุคลิกภาพของอันธพาล โรคหลงตัวเอง
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผู้ป่วยอาจจะเกิดความรู้สึกผิดหลังจากถูกจับได้ว่าโกหก และจะทำให้ผู้ป่วยตกอยู่ในภาวะที่เครียด ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้าได้
อาการคนหลอกตัวเองเป็นเช่นไร?
• พูดไปยิ้มไป แต่เป็นยิ้มหลอก ๆ ที่สามารถจับสังเกตได้
• พูดด้วยสีหน้านิ่งเกินเหตุ ดูไม่เป็นธรรมชาติ
• หายใจถี่ และแรงขึ้น
• ยืนนิ่ง มีอาการเกร็งอย่างเห็นได้ชัด
• พูดติด ๆ ขัด ๆ เนื้อความซ้ำไปซ้ำมา
• ใช้มือแตะหรือจับที่ปากขณะที่พูด
• จับหรือแตะต้องอวัยวะบางส่วนของร่างกายขณะพูด
• อธิบายเรื่องยาว เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ
• กัดริมฝีปาก หรือเม้มปาก
• กะพริบตาถี่กว่าปกติ
1
รักษาอย่างไร?
• การพูดคุย
ผู้ใหญ่ควรพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก โดยอิงหลักเหตุและผล
• ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy)
จิตแพทย์จะหาเหตุผลในการหลอกตัวเองของผู้ป่วย แล้วค่อย ๆ แก้ปมนั้น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่โลกแห่งความจริง
• ยา
ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีความผิดปกติทางจิตอยู่ด้วย แพทย์จึงต้องจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการไม่มากก็น้อย
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา