7 พ.ย. 2020 เวลา 16:22 • ประวัติศาสตร์
"เลค วาเลซา (Lech Walesa) ผู้นำโปแลนด์พ้นอุ้งมือคอมมิวนิสต์"
สหภาพโซเวียต 21 สิงหาคม ค.ศ.1991 (พ.ศ.2534)
ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของประชาชนนับแสนคน
ที่มาชุมนุมกันอยู่หน้ารัฐสภารัสเซีย ซึ่งเป็นตึกสูง
19 ชั้น ตั้งอยู่ใจกลางกรุงมอสโก ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ชินแห่งสาธารณรัฐรัสเซีย ก้าวออกมายืนเด่นอยู่ที่หน้าระเบียงด้วยใบอันหน้าเอิบอิ่ม เขายกกำปั้นชูขึ้นเหนือหัว แล้วประกาศว่า “เราชนะแล้ว"
วินาทีเดียวกันนั้นเองเสียงจากประชาชนก็กระหึ่ม
กึกก้องขึ้น “คอมมิวนิสต์จงพินาศ!”
นั่นคือวินาทีแห่งความล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต ก่อนประเทศยักษ์ใหญ่แห่งนี้จะแตกแยกออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ อันที่จริงแล้วลางหายนะของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตส่อแววให้เห็นมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว แม้ว่าโซเวียตจะเพิ่งมาสูญเสียอำนาจอันสมบูรณ์ในดินแดนโปแลนด์เมื่อปี ค.ศ. 1990 แต่เหตุการณ์ทำนองเดียวกันกับที่เกิดขึ้นที่จตุรัสหน้ารัฐสภารัสเซียก็เคยเกิดขึ้นในดินแดนที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์มาก่อนแล้วครั้งหนึ่ง
ครั้งนั้นช่างไฟฟ้าตกงานรูปร่างกำยำล่ำสันคนหนึ่งได้นำคนงานถึง 9 ล้าน 5 แสนคนนัดหยุดงานมาชุมนุมประท้วงกันอยู่ที่เมืองกดานส์ เพื่อเรียกร้องขอเป็นอิสระ
จากอิทธิพลการเมืองของสหภาพโซเวียต และออกเสียงลงประชามติให้ตั้งรัฐบาลที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งหลังจากเจรจาต่อรองกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์อย่างรุนแรงอยู่นาน ในที่สุด ฝ่ายรัฐบาลก็ต้องยินยอมเซ็นสัญญาให้ก่อตั้งสหภาพอิสระหลังม่านเหล็กขึ้นเป็นครั้งแรกในโปแลนด์ โดยเรียกชื่อสหภาพนี้ว่า สหภาพโซลิดาริตี้
Gdansk Shipyard
โปแลนด์ เป็นอาณาจักรเก่าแก่ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ครั้งโบราณดินแดนโปแลนด์ประกอบอาณาจักรต่าง ๆ มากมาย เช่น อาณาจักรแกรนด์ ดัชชี ออฟ ลิธัวเนีย (Grand Duchy of Lithuania), อาณาจักรลิตเติลรัสเซีย (Duchy of Prussia), อาณาจักรยูเครน และอาณาจักรที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำวิสตุลา แม้ว่าเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 จะสูญเสียลิธัวเนียและเคียฟให้แก่รัสเซีย แต่อาณาจักรโปแลนด์ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ไพศาลอยู่นั้นเอง
แม้โปแลนด์จะมีอาณาจักรกว้างใหญ่แต่ผู้ปกครองอาณาจักรก็อ่อนแอ ประกอบกับมีปัญหาภายในต่าง ๆ เสมอมา จึงทำให้โปแลนด์ไม่สามารถยกตนขึ้นเป็นชาติ
มหาอำนาจยุโรปได้ การมีอาณาจักรเล็กอาณาจักรน้อยอยู่ในอาณัติทำให้โปแลนด์มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวรัสเซียขาว ชาวยูเครน ชาวเยอรมัน ชาวลิธัวเนีย และชาวยิว จึงทำให้ยากแก่การปกครอง และเป็นเหตุให้ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติต่าง ๆ ถูกแยกตัวออกไปหลายส่วน
ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรโปแลนด์ทั้งหมดก็ตกเป็นของรัสเซีย ชาวโปลรักชาติสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาจากรัสเซียได้เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 จบสิ้นลง และรวมทั้งการสถาปนาประเทศขึ้นเป็นอิสระ
1
แต่อีกเพียงไม่กี่ปีต่อจากนั้น อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็กรีฑาทัพเข้าบดขยีโปแลนด์โดยเดินทัพเข้าทางทิศตะวันตก ขณะเดียวกับที่ โจเซฟ สตาลิน ส่งทหารโซเวียตบุกเข้าบดขยี้โปแลนด์ด้านทิศตะวันออก โดยอ้างว่า เป็นการป้องกันพรมแดนของตน
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โปแลนด์ตกที่นั่งลำบากมาก โดยเฉพาะชาวโปแลนด์ที่มีเชื้อสายยิว แผนการคัดสรรเผ่าพันธุ์ของฮิตเลอร์ทำให้เขาต้องการกำจัด
ชาวยิวให้หมดไปจากโลกนี้ และชาวยิวในโปแลนด์ก็เป็นเป้าหมายสำคัญในการกำจัดของฮิตเลอร์ ถึงขนาดสร้างค่ายกักกันและสังหารหมู่ขนาดใหญ่ขึ้นในโปแลนด์ และหลังจากสงครามสงบลงมีผู้ประเมินว่า เฉพาะที่ค่ายกักกันในโปแลนด์นี้ปลิดชีวิตชาวยิวโปแลนด์ไปหลายล้านคน
Gdansk Shipyard
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบสิ้นลง โซเวียตซึ่งเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอันเป็นฝ่ายที่มีชัยในการทำสงครามก็ไม่ยอมถอนทหารออกจากโปแลนด์และเยอรมันตะวันออกที่กองทัพของตนรุกเข้ามาขับไล่กองทัพนาซีในระหว่างทำการรบ และยังคงดื้อแพ่งยึดครองต่อไป จนทำให้เยอรมันต้องแบ่งออกเป็นสองส่วน คือเยอรมันตะวันตก อยู่ในความดูแลของฝ่ายสัมพันธมิตรหรือโลกเสรี ส่วนเยอรมันตะวันออกเป็นของโซเวียตซึ่งปกครองแบบคอมมิวนิสต์
เช่นเดียวกับโปแลนด์ ซึ่งแต่เดิมนั้นโซเวียตยึดครองอยู่เพียงซีกตะวันตกเท่านั้น เมื่อเยอรมันแพ้สงครามและถอนตัวออกไป โซเวียตเจ้าครอบครองแทนทั้งหมด จึงทำให้ประเทศโปแลนด์ต้องตกอยู่ใต้การปกครองของโซเวียตและระบอบคอมมิวนิสต์ไปด้วย
ภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ โปแลนด์มีสภาพย่ำแย่ เศรฐกิจตกต่ำมาก อัตราเงินเฟ้อสูงเกือบ 1,000 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลมีหนี้สินต่างประเทศถึง
40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่โรงงานต่าง ๆ ที่ได้รับจากโซเวียตเป็นเพียงโรงงานที่หมดสภาพการใช้งานแล้วและเต็มไปด้วยมลพิษ
การเป็นประเทศบริวารโซเวียตทำให้โปแลนต์ดำเนินอุตสาหกรรมแบบรัสเซีย จึงทำให้มีความล้าหลังชาติอื่น ๆ มาก เพราะงานทุกอย่างต้องควบคุมดูแลโดยรัฐบาล
ทำให้ขาดความคล่องตัวและไร้ประสิทธิภาพ เกิดภาวะคนว่างงานเพิ่มทวีมากขึ้นทุกที สำหรับผู้ที่ยังทำงานอยู่ในอู่ต่อเรือและโรงงานต่าง ๆ ก็ตกอยู่ในสภาพหนี้สินพะรุงพะรัง มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นฝืดเคืองอย่างหนัก
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ชายร่างหนาหนวดดกผู้มีอาชีพช่างไฟฟ้าและกรรมกรในอู่ต่อเรือแห่งเมืองกดานส์ (Gdansk, Poland) เกิดความคิดต่อต้านระบอบการบริหารงานในแบบคอมมิวนิสต์และการตกอยู่ใต้ปีกของสหภาพโซเวียต โดยต้องการจัดตั้งสหภาพแรงงานอิสระขึ้นเพื่อปรับประสิทธิภาพการทำงานให้สู้กับตลาดโลกได้ และลดปัญหาคนว่างงานให้น้อยลงหรือหมดไป
ดังนั้นเขาจึงปีนขึ้นมาจากอุโมงค์ในอู่ต่อเรือเลนิน (ปัจจุบันชื่อ อู่ต่อเรือกดานส์) และกล่าวประนามผู้จัดการอู่ต่อเรือพร้อมกับเรียกร้องให้กรรมกรพร้อมใจกันหยุดงาน จนสามารถขจัดคอมมิวนิสต์ออกไปจากประเทศโปแลนด์ได้
ช่างไฟฟ้าตกงานรูปร่างกำยำ อกผายไหล่กว้างและมีหนวดดกหนาเหนือริมฝีปาก ผู้กล้าหาญก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกรรมกรโปแลนด์ประท้วงรัฐบาลคอมมิวนิสต์
โปแลนด์ จนได้รับชัยชนะผู้นี้มีชื่อว่า เลค วาเลซา
เลค วาเลซา เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1943 ที่โพโพโว (Popowo, Poland) ใกล้เมืองลิปโนในจังหวัดโลคลอว์ของประเทศโปแลนด์ ในช่วงที่เขาเกิดนั้นเป็นช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยังลุกโชติโชนอยู่ในยุโรป โปแลนด์เป็นประเทศแรกที่ถูกนาซียกกองทัพเข้ามารุกราน โดยเคลื่อนพลมาทางทิศตะวันตก เล่ากันว่าแสนยานุภาพของกองทัพนาซีในเวลานั้นล้ำหน้ากว่ากองทัพชาวโปลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนาซีแบ่งกำลังออกเป็นสองกองพล โดยให้กองพลหนึ่งบุกทางเหนือ อีกกองพลหนึ่งบุกทางใต้ กองทัพโปลที่สุดแสนจะล้าหลังก็มีอันเปลี้ยลงในพริบตา หลังจากกัดฟันสู้ยิบอยู่ได้ไม่นานก็ต้องเปลี่ยนแผนเป็นสู้พลางถอยพลาง จนกระทั่งมาจนมุมอยู่ที่แม่น้ำริว แม่น้ำบัก แม่น้ำวิสตุลาและแม่น้ำแซน ชั่วเวลาเพียง 5 วัน ดินแดนโปแลนด์ด้านทิศตะวันตกทั้งหมด ก็ตกอยู่ใต้การยึดครองของกองทัพนาซี
หลังจากนาซียึดครองภาคตะวันตกของโปแลนด์ได้เพียงสิบกว่าวัน กองทัพสหภาพโซเวียตก็เคลื่อนพลเข้าโปแลนด์ด้านตะวันตก โดยอ้างว่าเป็นการป้องกันพรม
แดนของตน อีกไม่กี่วันต่อมาโปแลนด์ก็ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน อยู่ภายใต้การปกครองของสองประเทศ รัฐบาลของโปแลนด์ในเวลานั้นต้องลี้ภัยไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ที่กรุงลอนดอน เมื่อสิ้นสงคราม กองทัพนาซีถูกขับไล่ออกไปจากโปแลนด์ ทำให้กองทัพโซเวียตได้โอกาสเขาแทนที่ จากนั้นก็ยึดครองดินแดนนี้เป็นของตนเรื่อยมา โดยจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้นบริหารประเทศภายใต้การดูแลอย่างเข้มงวดของพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต
ครอบครัวของเลค วาเลซาเป็นครอบครัวคนชั้นกลาง เมื่อเล็กเขาได้รับการศึกษาตามฐานะ จนจบระดับวิชาชีพ พออายุได้ 18 ปีก็สมัครเข้าเป็นช่างซ่อมเครื่อง
ยนต์ของศูนย์เครื่องยนต์ที่ลอคอชิน ในจังหวัดบ้านเกิดของเขานั่นเอง
ทำงานในศูนย์เครื่องยนต์ลอคอชินอยู่ได้ 5 ปี อายุของวาเลนซาก็ถึงคราวเกณฑ์ทหาร เขารับใช้ชาติโดยเข้าประจำการอยู่ในกองทัพนานถึง 2 ปี ระหว่างนั้น
ได้ทำความดีความชอบเป็นพิเศษจนได้รับการเลื่อนยศจากพลทหารขึ้นเป็นนายสิบเอกแห่งกองทัพบกโปแลนด์
หลังจากปลดประจำการแล้ว เลค วาเลชาได้เดินทางกลับยังบ้านเกิดเมืองนอนของตน เขาได้พบรักกับหญิงสาวชาวโปลคนหนึ่งชื่อ ดานูต้า (Mirosława Danuta Gołoś) ซึ่งเธอทำงานขายดอกไม้อยู่ใกล้ๆกับอู่ต่อเรือของเขานั่นเอง และได้เข้าพิธีแต่งงานกันในเวลาต่อมา
โดยปกติแล้ว วาเลซาเป็นคนช่างคิดและมีหัวรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเมืองที่ปกครองโปแลนด์อยู่ในเวลานั้น ทำให้เขาไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่คิดอยู่ในใจเท่านั้น วาเลซายังพยายามพูดถึงความคิดของตนให้เพื่อนกรรมกรที่ทำงานด้วยกันฟังเสมอ ซึ่งความคิดเห็นเหล่านั้นนอกจากจะเป็นความคิดเห็นที่ตรงกันข้ามกับรัฐบาลแล้ว ยังเป็นการปลุกระดมให้ลุกขึ้นต่อด้านด้วย
ในปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ.2499) ชาวโปลที่ไม่พอใจในการปกครองภายใต้อำนาจของโซเวียตจำนวนกว่า 50,000 คน ในเมืองปอชนาน (Poznan, Poland) ในภาคตะวันตกของโปแลนด์ได้มาเดินขบวนเรียกร้องค่าแรงงานสูงขึ้นและให้มีการเลือกตั้งโดยเสรี ทำให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ไม่พอใจมาก สั่งให้ตำรวจและทหารเข้าปราบปรามผู้เดินขบวนจนมีผู้คนบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนมาก วาเลนชาก็ร่วมอยู่ในกลุ่มผู้นำในการเดินขบวนครั้งนี้
Aleksander Kwaśniewski
พฤติกรรมของวาเลซาไม่สามารถรอดพ้นจากสายตาของนักสืบ และสายลับของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ไปได้ ผลของการกระทำตัวเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลของ
วาเลซาทำให้เขาถูกสะกดรอยตามและเฝ้าจับตาดูอย่างใกล้ชิดทุกระยะ ไม่เพียงแต่เขาเท่านั้น แม้แต่ภรรยาญาติพี่น้องและคนที่เขาคบหาสมาคมด้วยก็ถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์ด้วยเช่นกัน สิ่งที่รัฐบาลพยายามตั้งข้อกล่าวหาเขาก็คือเป็นสายลับของอเมริกา
การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ทำให้ระบบทรัพย์สินส่วนบุคคลถูกยกเลิก ทุกสิ่งทุกอย่างในประเทศต้องตกเป็นของรัฐ ส่งผลให้ประชาชนหมดกำลังใจในการทำงาน
ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างสุด ๆ หลัง ค.ศ.1970 กรรมกรทำเรือและกรรมกรอื่นๆ เริ่มหยุดงานประท้วงรัฐบาลให้ปรับปรุงอัตราค่าจ้างใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าเบื้องหลังการนัดหยุดงานประท้วงครั้งนี้ต้องมีเลค วาเลซายืนเด่นเป็นสง่าอยู่ ดังนั้นเขาจึงกลายเป็นที่จับจ้องอย่างปองร้ายของรัฐบาลคอมมิวนิสต์มากขึ้น
ผลจากการเป็นผู้นำในการประท้วงครั้งนี้ของวาเลซาก็คือ เขาถูกไล่ออกจากงานและถูกจับกุมตัวไปสอบสวน อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับการปลดปล่อย วาเลซา ก็กลับมามีบทบาทในทางการเมืองต่อไปอีก โดยรวบรวมกรรมกรที่มีแนวคิดอย่างเดียวกันจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงานอิสระขึ้น งานหลักของสหภาพดังกล่าวก็คือเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ดังนั้นในเวลาต่อมาวาเลซาจึงถูกจับกุมขังหลายหน
จากสมาชิกแกนนำของสหภาพ เลค วาเลซาได้แสดงความเป็นผู้นำที่ดีให้เห็นในหลาย ๆ โอกาส จนกระทั่งได้รับการเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการประท้วง
ระหว่างโรงงาน โดยตั้งที่ทำการอยู่ที่อู่ต่อเรือเลนิน ท่าเรือเมืองกตางค์
วาเลซาเคยถูกจับขังเดี่ยวนานถึง 1 ปีเต็ม แต่หลังจากได้รับอิสรภาพเขาก็ดำเนินงานปลุกระดมของเขาต่อไป แม้ว่าจะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
และถูกรัฐบาลตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ในปี ค.ศ.1983 เลค วาเลซาก็ได้รับการเสนอชื่อให้เข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
เมื่อคราวที่สันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เสด็จเยือนโปแลนด์ เลค วาเลซาได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด เขาได้รับปากกาซึ่งมีภาพถ่ายองค์สันตะปาปาเป็นของที่ระลึก
หลังจากนั้นหนึ่งปีเศรษฐกิจของโปแลนด์ก็ตกต่ำอย่างที่สุด จนวาเลซาและประชาชนชาวโปแลนด์ทั่วไปไม่อาจจะทนต่อไปได้ เขาจึงนัดกรรมกรทั่วประเทศหยุดงานเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่าจ้างและสลัดจากแอกของคอมมิวนิสต์
ด้วยเหตุที่เกรงว่าการชุมนุมประท้วงแบบเผชิญหน้าจะเป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลส่งกำลังทหารและตำรวจเข้าปราบปรามด้วยอาวุธ เขาบอกให้กรรมกรพร้อมใจกันเก็บตัวอยู่กับบ้านหรือในอู่ต่อเรือ ส่วนตัวเขาเองอาสาเสี่ยงตายปืนขึ้นจากอุโมงค์และรั้วสูงเกือบสี่เมตร เพื่อต่อรองกับผู้จัดการอู่ต่อเรือและเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้าง และหยุดงาน
ผลการประท้วงของกรรมกรเกือบสิบล้านคนในโปแลนด์ ทำให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ต้องจำใจทำตาม โดยอนุมัติให้ก่อตั้งสหภาพอิสระ ไม่อยู่ใต้อำนาจทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์ เรื่องนี้รู้ไปถึงโซเวียต แต่ยังไม่ทันที่จะคิดแก้ไขสถานการณ์ใด
วาเลซาก็ตัดสินใจเดินทางไปเฝ้าพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ยังกรุงโรม
ในปี ค.ศ.1990 นั้นเอง เลค วาเลซาก็สามารถผลักดันให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์โปแลนด์จัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นมาได้ ซึ่งแน่นอนว่า เขาจะต้องเป็นคนหนึ่งที่ลงสมัคร
และได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีในครั้งนี้
เป็นอันจบสิ้นสำหรับถนนสายคอมมิวนิสต์ในโปแลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประธานาธิบดีบอริส เยลต์ชินประกาศชัยชนะและประชาชนนับแสนคนตะโกนทึกก้องขึ้นมาว่า “คอมมิวนิสต์จงพินาศ”
Aleksander Kwaśniewski
เลค วาเลซา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศโปแลนด์ด้วยความพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ตกต่ำมาตลอดเวลาของการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ให้ดีขึ้น
จนสามารถปรับปรุงประเทศให้ก้าวขึ้นมายืนอย่างทัดเทียมกับนานาประเทศ ครบ 4 ปีจึงหมดวาระ และหลีกทางให้นายอเล็กซานเดอร์ ควาชเนียวสกี (Aleksander Kwaśniewski) ขึ้นครองตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อมา...
#PassiveDeathWish
#รบชนฮซหคชห

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา