Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บ่นร้อยแปดศูนย์เก้าฯ
•
ติดตาม
1 พ.ย. 2020 เวลา 13:58 • ประวัติศาสตร์
"ริชาร์ด เอ็ม นิกสัน ประธานาธิบดีผู้อื้อฉาว"
วันที่ 22 เมษายน ค.ศ.1994 (พ.ศ.2537) คนทั้งโลกต้องตื่นตะลึงกับข่าวการจากไปของอดีตประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสุภาพบุรุษนักการเมืองที่ได้สร้างเหตุการณ์ต่างๆ อันเป็นผลต่อชีวิตอนาคตของผู้คนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งแม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมาจนถึงวันนี้ วันที่ลมหายใจได้อำลาจากเขาไปแล้ว ก็ไม่มีผู้ใดสามารถสรุปได้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เขาทำไปในขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกนั้นผิดหรือถูกกันแน่
ริชาร์ด เอ็ม นิกสัน สิ้นชีวิตอย่างสงบ ณ โรงพยาบาลนิวยอร์ก หลังจากถูกนำตัวเข้ารักษาในห้องฉุกเฉินด้วยอาการสมองขาดเลือดและสมองบวมเมื่อวันอังคาร
ที่ 18 เมษายน ค.ศ.1994 คณะแพทย์ที่ทำการรักษาอดีตประธานาธิบดีผู้นี้แถลงว่า สาเหตุของการเสียชีวิตน่าจะเกิดจากคนไข้ได้รับยากันการจับตัวของก้อนเลือดไม่เพียงพอ หรืออาจจะช้าเกินความต้องการจึงทำให้หมดสติ ด้วยเหตุที่อดีตประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกาป่วยเป็นอัมพาตไม่สามารถพูดและช่วยเหลือตัวเองได้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จึงจำเป็นต้องใช้ยาบำบัดอาการจับตัวของก้อนเลือดอย่างสม่ำ
เสมอตลอดมา สำหรับรายละเอียดในการรักษาและอาการของนิกสันนั้น สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ได้เสนอว่า วันแรกนิกสันถูกรับตัวเข้ารับการรักษาในห้องไอ.ซี.ยู. หรือห้องฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหนัก จนมีอาการดีขึ้น นายแพทย์เฟรดพลัมซึ่งเป็นเจ้าของไข้จึงอนุญาตให้นำตัวไปพักรักษาในห้องคนไข้พิเศษ แต่อาการที่ดีขึ้นนั้นกลับทรุดฮวบลงอีกภายหลังจากนั้นเพียง 2 ชั่วโมง คราวนี้เกิดมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ เกิดก้อนเลือดแข็งตัวในหัวใจ ซึ่งทำให้นิกสัน มีอาการเพียบหนักถึงขั้นโคม่า ในวันต่อมาอันเป็นวันที่ 4 ของการรักษา เขาก็สิ้นใจอย่างสงบขณะอายุย่าง 81 ปี
ก่อนหน้านี้ นางเทลมา เคทเธอรีน หรือที่เรียกกันว่า แพ็ต ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากที่อยู่ร่วมกันมาด้วยความรักความเข้าใจตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.1940 ได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งไปเมื่อปีที่ผ่านมา
การสูญเสียครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทำให้แพ็ตทริเซียและจูลีลูกสาว 2 คนของเขาโศกเศร้าเสียใจอย่างใหญ่หลวงเท่านั้น ประชาชนอเมริกันทั้งมวลต่างก็พากันไว้อาลัยแก่การจากไปของอดีตประธานาธิบดีของพวกเขาครั้งนี้ด้วย
แต่แน่นอนที่จะต้องมีบางประเทศที่ไม่แสดงความยินดียินร้ายกับความตายครั้งนี้นัก โดยเฉพาะประเทศทางอินโดจีนที่ถือว่านิกสันคือผู้ทำลายชาติบ้านเมืองและ
ประเทศของตน เพราะแม้นิกสันจะเป็นที่รักของชาวอเมริกันจำนวนหนึ่งในฐานะนักการเมืองที่มีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะ และรักษามารยาทอันดีงามของนักการเมืองแห่งสหรัฐอเมริกาไว้ด้วยการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งเขาได้รับเลือกเข้าไป
ในวาระที่ 2 ด้วยสาเหตุอันไม่เกี่ยวข้องกับเขาโดยตรงในคดีวอเตอร์เกต
นิกสันทำทั้งความดีและไม่ดีเอาไว้หลายอย่าง จึงเป็นธรรมดาที่เขาจะได้รับความรักและความชัง ถึงอย่างไรก็ตาม มาถึงวันนี้เขาก็ได้จบสิ้นชีวิตอันเต็มไปด้วยบทบาทที่จะหาคนในโลกนี้เปรียบเหมือนได้ยากลงไปแล้ว สิ่งที่ควรทำก็คือการอโหสิกรรม อย่างเช่นที่ประเทศเวียดนามผู้ต้องสูญเสียชีวิตทรัพย์สินให้กับการตัดสินใจของชายผู้นี้อย่างสุดที่จะพรรณนาแถลงออกมาเพียงประโยคสั้น ๆ ประโยคเดียวว่า “ขอให้
เขาสู่สุคติ”
ริชาร์ด เอ็ม นิกสัน เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1913 ขณะที่ประเทศยุโรป กำลังระอุไปด้วยไอสงคราม หลังจากเขามีอายุได้ไม่กี่ปีสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็อุบัติขึ้น
แม้จะเป็นสงครามนอกประเทศ แต่สหรัฐอเมริกาก็จำเป็นต้องเข้าไปร่วมด้วย จนทำให้ประเทศได้รับผล กระทบทางด้านเศรษฐกิจไม่น้อยเช่นกัน
สถานที่เกิดของนิกสันมีชื่อว่ายอร์บบา ลินดา รัฐแคลิฟอร์เนียร์ เขาศึกษาด้านกฎหมายและประกอบอาชีพนักกฎหมายก่อนที่เข้าสู่วงการเมืองด้วยการเป็นสมาชิก
พรรครีพับบลิกัน และได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐในปี ค.ศ. 1969 สืบต่อจากประธานาธิบดีลินคอน ปี จอห์นสัน ผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกาและนำชาวอเมริกันเข้าไปพัวพันกับสงครามอินโดจีนอย่างแยกไม่ออก
จะด้วยความจำใจหรือด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ ผลงานชิ้นแรกของประธานาธิบดีคนใหม่ในขณะนั้นก็คือ ออกคำสั่งทิ้งระเบิดอย่างสายฟ้าแลบที่รอยต่อระหว่างประเทศเวียดนามและกัมพูชา พาให้ประเทศเล็กและยากจนที่มีอดีตอันรุ่งโรจน์มาด้วยเวลายาวนานต้องก้าวเข้าสู่สงครามและเข่นฆ่ากันเองต่อมาอีกเป็นเวลา 20 ปี
นิกสันขึ้นเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในขณะที่ไฟสงครามระหว่างเวียดนามเหนือและสหรัฐซึ่งเริ่มรุนแรงขึ้นในสมัยของประธานาธิบดีจอห์สันกำลังลุก
โซน เพื่อเป็นการรักษาหน้าของสหรัฐในฐานะผู้นำโลกเสรี รวมทั้งดำเนินนโยบายสืบเนื่องต่อจากประธานาธิบดีคนก่อน ๆ ทำให้นิกสันต้องโดดเข้าใส่สงครามช่วงชิงความยิ่งใหญ่ระหว่างลัทธิสังคมนิยมและเสรีนิยมครั้งนี้อย่างเต็มตัว
นิกสันสั่งโจมตีทางอากาศแบบไม่สนใจไยดีว่าจะใครจะได้รับความเดือดร้อนบาดเจ็บล้มตายที่กรุงฮานอยและเมืองไฮฟอง จนทำให้ชาวเวียดนามเคียดแค้นชิงชัง
เขาเป็นที่สุด การที่กระทรวงการต่างประเทศเวียดนามแถลงด้วยข้อความสั้น ๆ ในวาระที่ผู้สั่งประหารประชาชนชาวเวียดนามสิ้นชีวิตด้วยถ้อยคำที่สุภาพและมีความหมายว่าขอให้เขาสู่สุคติ นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจอันดีของผู้ถูกทำร้ายรังแก
ในแง่ที่ว่า ขอให้ทุกสิ่งทุกอย่างจบสิ้นกันเพียงนี้
ตลอดเวลา 5 ปี ที่นิกสันอยู่ในตำแหน่งผู้นำสหรัฐ เขาเดินไปเดินมาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงจีน อินเดีย และญี่ปุ่นเป็นว่าเล่น บทบาทของเขาลุกลามเข้าไปถึงรัสเซียและตะวันออกกลาง ซึ่งบทบาทในช่วงนี้อาจถือว่าเป็นการไถ่บาปและโทษที่เขาได้ก่อกรรมทำเข็ญเอาไว้กับเวียดนาม ลาว และเขมรก็ได้ เพราะนอกจากนิกสันจะตัดสินใจถอนตัวออกจาสงครามอินโดจีนแล้ว เขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้เปิดประตูสันติภาพให้แก่โลกที่เคยจับจ้องที่จะโดดเข้าฟัดกันอย่างเอาเป็นเอาตายระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีนิยม
อันที่จริงสงครามเวียดนามก็หาใช่จะไร้ประโยชน์สำหรับชาวโลกเสียเลย เพราะ
การยื่นมือเข้ามาของสหรัฐอเมริกานั้นทำให้ 2 ชาติคอมมิวนิสต์ใหญ่ ๆ ในโลกนี้เกิดความขัดแย้งและแตกแยกกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นจีนหรือสหภาพโซเวียต ต่างก็ต้องการเข้าครองความเป็นใหญ่ในเวียดนามเหนือด้วยกันทั้งคู่ เมื่อผลประโยชน์ขัดกันเช่นนี้ มีหรือจะสามัคคีกันอยู่ได้ นอกจากความมีนซึ่งกันแล้ว ทั้ง 2 ค่ายคอมมิวนิสต์ใหญ่นี้ยังลงไม้ลงมือกัน ด้วยการยกกำลังเข้าสู้รบกันที่บริเวณพรมแดนแนวแม่น้ำอัสซูรี จ
เดือดร้อนไปทั้งโลกอีกครั้ง แต่หลังจากนั้นเหตุการณ์ก็อยู่ในความสงบ เพียงแต่ทั้ง 2 ฝ่าย พากันยกกำลังมาประจันหน้ากันไว้ตามแนวพรมแดนที่มีความยาวถึง 4,000 ไมล์
นอกจากนั้น เรื่องยังกลับตาลปัตรมาเป็นโชควาสนาของนิกสันเข้าอีก นั่นคือ จีนต้องการถ่วงอำนาจโซเวียต จึงหันมาหาสหรัฐเชื้อเชิญให้ประธานาธิบดีนิกสันเดิน
ทางไปเยือนประเทศจีน ซึ่งนิกสันก็ตอบรับด้วยความเต็มใจ โดยเดินทางไปถึงเมืองจีน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1972 ซึ่งทางเมืองจีนที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อ นายโจว เอินไหล ก็ให้การต้อนรับอย่างดีเยี่ยมมีการพาขึ้นชมกำแพงเมืองจีน กินอาหารจีนและเข้าพบ ท่านประธานเหมาฯ ด้วยท่าที่เป็นมิตรอันสนิทสนมยิ่ง
ผลจากการเดินทางไปเยือนประเทศจีนของนิกสันครั้งนี้ ทำให้จีนได้รับเสียงสนับสนุนเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ และทำให้จีนที่ขับไล่ชาวต่างชาติออก
นอกประเทศและประกาศปิดประเทศนับตั้งแต่เมาเชตุงสถาปนาระบบคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เปิดประเทศของตนออกคบหาสมาคมประเทศต่าง ๆ อีกครั้งหนึ่ง
ไม่เพียงเท่านั้น การเดินทางไปประเทศจีนของนิกสันยังทำให้ประธานพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตอยู่นิ่งต่อไปไม่ได้ ต้องเชิญนิกสันไปเยือนประเทศของตนบ้าง ซึ่งก็เป็นเวลาไล่เลี่ยกับที่ประธานาธิบดีนิกสันไปเยือนจีนแดงนั่นเอง
ไหน ๆ จะมาพบปะกันทั้งที จะไม่มีอะไรติดไม้ติดมือมาเลยก็กระไรอยู่ การเยือนโซเวียตของนิกสันในปี ค.ศ.1972 นี้มีการทำสัญญาและข้อตกลงเกี่ยวกับการจำกัดอาวุธ การเยือนกรุงมอสโกของนิกสันครั้งนี้ใช้เวลานานถึง 1 สัปดาห์
หลังจากนั้นไม่นาน นายเบรสเนฟประมุขของสหภาพโซเวียตในเวลานั้นก็ได้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาเป็นการแลกเปลี่ยนบ้าง ครั้งนี้สามารถตกลงกันได้ว่าจะไม่ใช้วิธีการเผชิญหน้ากันด้วยกำลังทหาร
ประธานาธิบดีนิกสันเดินทางไปยังกรุงมอสโกอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1974 อันเป็นช่วงเวลาสุดท้ายก่อนตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี แต่การไปครั้งนี้
ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ด้วยติดขัดเรื่องการลดขีปนาวุธ
ในการเยือนประเทศจีนของนิกสันมีผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งนั่นคือ สามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์อันดีกับญี่ปุ่นได้ เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าในจำนวนชาติที่เกลียดชังสหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรงนั้นมีญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วยอีกประเทศหนึ่ง สาเหตุก็เนื่องมาจาก การเข้ายึดครองของสหรัฐที่มีต่อญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ.1945 เนื่องจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และการทิ้งระเบิดปรมาณูลงในเมืองฮิโรชิมากับเมืองนางาซากิ
การยึดครองครั้งนั้นสร้างความเคียดแค้นชิงชังให้แก่ชาวญี่ปุ่นมาก นับตั้งแต่กองทัพอเมริกันภายใต้การนำของนายพลเอกดักลาส แม็คอาเธอร์ ยกพลขึ้นบกที่
สนามบินใกล้กรุงโตเกียว และมีกองกำลังญี่ปุ่นช่วยขนส่งลำเลียงเพลไปยังเมืองโยโกฮามา เล่ากันในหมู่คนญี่ปุ่นบางคนว่า นายพลแม็คอาเธอร์นั้นเป็นคนแย่มาก เขาเป็นคนอเมริกันแต่มีลักษณะเหมือนขุนนางชั้นสูงของอังกฤษ มีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างเกินขอบเขตและขี้ใจน้อยอย่างรุนแรง สมองของเขาปราศจากความปราดเปรื่อง ไม่สามารถอดทนทำงานที่หนักและยาวนานได้ ชอบแสดงตัวอวดเบ่งให้น่าทึ่งและ
ชอบคนประจบสอพลอ แม็คอาเธอร์พักอยู่ในสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว ทุกวันเขาจะขึ้นรถยนต์ที่มีคนขับรถประจำไปทำงานยังตึกใหญ่โตมโหฬารหน้าพระราชวัง โดยไม่ยอมคบค้าสมาคมกับผู้ใด เวลา 6 ปีครึ่ง สำหรับการยึดครองจากสหรัฐฯ ฝังใจชาวญี่ปุ่นตลอดมา แม้ว่าในปี ค.ศ. 1951 ญี่ปุ่นจะพ้นจากการยึดครองในฐานะผู้แพ้สงครามแล้วก็ตาม
การฟื้นฟูสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นของนิกสันก็คือ ประกาศคืนโอนินาวาซึ่งประกอบด้วยเกาะริวกิวและเกาะไดโตะแก่เจ้าของเดิม การกระทำครั้งนี้นอกจากทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังทำให้ภาพของนิกสันในสายตาของคนญี่ปุ่นงดงามมากด้วย
และถ้าหากติดตามเรื่องราวของประเทศอิสราเอลมาตลอดจะเห็นได้ว่า สหรัฐอเมริกาเอียงเข้าข้างประเทศนี้เสมอ ดังนั้นสหรัฐและนิกสันจึงเป็นที่เกลียดชังเป็นอย่างมากของประเทศกลุ่มอาหรับ
ที่นี้มาว่ากันถึงเหตุที่นิกสันได้รับการยกย่องจากประชาชนสหรัฐและทั่วโลกว่าเป็นสุภาพบุรุษนักการเมืองกัน จุดใหญ่ใจความก็อยู่ที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในวาระที่ 2 นั่นเอง เรื่องนี้เกิดเมื่อปี ค.ศ.1872 อันเป็นปีที่นิกสันกำลังแก้เกมการเมืองที่เพลี่ยงพล้ำไปอย่างยกใหญ่ จนได้ชื่อว่าพบความสำเร็จอย่างงดงาม เขาได้รับความนิยมจากประชาชนอเมริกันอย่างสูง และสามารถทำคะแนนน้ำคู่แข่งได้อย่างท่วมท้น จนนักวิจารณ์การเมืองต่างประเทศและผู้สันทัดกรณีต่างคาดกันว่านิกสันต้องชนะอย่างแน่นอน
แต่ในระหว่างหาเสียงนั้น เกิดมีข่าวเล็ก ๆ ลงในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่ามีคนร้ายบุกเข้าไปในตึกวอเตอร์เกตโดยงัดประตูเข้าไป แต่คนหนึ่งถูกยามจับตัวได้ ทำให้เหยี่ยวข่าวหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ 2 คน
เกิดความสงสัยว่าทำไมคนร้ายจึงต้องบุกเข้าไปในตึกนั้นทั้งที่ภายในไม่มีสิ่งของมีค่าอะไรให้ขโมยเลย ที่น่าแปลกก็คือคนร้ายเพียงแต่รื้อค้นเอกสารต่าง ๆ เท่านั้น
ปัญหาถูกตีแตกเมื่อนึกขึ้นได้ว่าตึกวอเตอร์เกตเป็นสำนักงานของพรรคเดโมเครต นักข่าวทั้งสองจึงนำเรื่องนี้ขึ้นเสนอบรรณาธิการ จึงเกิดการขุดคุ้ยจนไปเจอว่า ผู้ที่เข้ามางัดตึกวอเตอร์เกดนั้นแท้ที่จริงก็เป็นลูกน้องของนิกสันที่ต้องการหาข้อมูลในการหาเสียงของฝ่ายตรงข้ามไปใช้หาเสียงให้กับเจ้านายของตน โดยที่นิกสันไม่ได้สั่ง หรือรับรู้เรื่องราวด้วยเลย
เรื่องเล็ก ๆ เพียงแค่นี้ เป็นคนอื่นอาจจะทำทองไม่รู้ร้อนปล่อยให้คนทำรับโทษไปตามกระบวนการ แต่นิกสันกลับไม่เป็นเช่นนั้น เขารู้สึกว่าเรื่องนี้ยิ่งใหญ่และทำให้
เขาเสียศักดิ์ศรีมาก แม้ว่าเขาจะไม่ได้รับรู้รับเห็นด้วยเลยก็ตาม แต่ในฐานะหัวหน้า เขาจะต้องรับผิดชอบ ดังนั้นนิกสันจึงประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ที่เขาได้รับเลือกมาเพียงปีเศษทันที โดยเลือกเจราลด์ ฟอร์ด ขึ้นเป็นแทน
แม้นิกสันจะลาออกจากตำแหน่งแล้ว เขาก็ยังไม่ได้วางมือจากการเมืองเสียทีเดียว อะไรที่เขาสามารถทำได้และคิดว่าจะช่วยให้ประเทศของเขาและชาวโลกดีขึ้น เขาจะทำทันที ภาพข่าวครั้งล่าสุดก่อนที่เขาจะเข้าโรงซ่อมใหญ่ด้วยโรคภัยต่าง ๆ ก็คือ การเดินทางไปพบกับนายบอริส เยลต์ซินประธานาธิบดีแห่งรัสเซีย
ในบั้นปลายของชีวิตอดีตประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม นิกสัน ใช้หมดไปกับการเขียนหนังสือ เขาเล่าไว้ในหนังสือฉบับหนึ่งที่เขาเขียนเองว่า นับแต่ออกจากตำแหน่ง
ประธานาธิบดี เขาเขียนหนังสือได้ถึง 6 เล่ม มีอยู่เล่มหนึ่งที่เขาเขียนถึงเรื่องราวของ สงครามอินโดจีนอย่างละเอียด มีคนแปลเป็นภาษาไทยแล้วให้ชื่อว่า บันทึกลับของประธานาธิบดีนิกสัน
มาถึงวันนี้ เมื่อชีวิตและสิ่งที่เขาได้กระทำขึ้นเมื่อมีชีวิตอยู่ได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว สิ่งที่ควรนำมากล่าวเป็นการจบเรื่องราวของเขาก็คือ คำไว้อาลัยของประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสหรัฐอเมริกา นายบิล คลินตัน ที่ว่า
“ท่านได้อุทิศสติปัญญาอันเฉียบแหลมและทุ่มเทตัวเองเพื่อภาระหน้าที่ ประเทศ
นี้เป็นหนี้บุญคุณท่านอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งที่ท่านได้กระทำไว้”
ปล.กำลังคิดอยู่ว่าจะเอาใส่รวมเป็นซีรีย์ ประวัติบุคคลผู้มีชื่อเสียงของโลกดีไหม?
#PassiveDeathWish
#รบชนฮซหคชห
บันทึก
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ประวัติบุคคลสำคัญของโลก
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย