29 ต.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
“การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 (Siamese revolution of 1932) การปฏิวัติที่เป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ไทย” ตอนที่ 1
5
ปฐมบท
ซีรีส์ชุดนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและเขียนได้ยากที่สุดเรื่องหนึ่ง
ก่อนที่จะเล่า ผมต้องออกตัวไว้ก่อนเลยว่า ผมเขียนจากข้อมูลที่ได้จากในเว็บต่างๆ ซึ่งส่วนมากจะเป็นภาษาอังกฤษ เป็นมุมมองของต่างชาติเป็นส่วนมาก ผมไม่ได้นั่งเทียนเขียนขึ้น และท้ายบทความ ผมจะลงลิ้งค์ข้อมูลที่ได้มา ให้เข้าใจก่อนว่าผมเขียนตามลิ้งค์ที่ลงไว้ ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องแล้วแต่ผู้อ่าน แต่ขอให้รู้ไว้ก่อนว่าผมเขียนตามลิ้งค์นี้ และไม่ได้เขียนด้วยอารมณ์ส่วนตัวหรือเข้าข้างใครทั้งนั้น
3
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับประเทศไทยในช่วงเวลาก่อนปีพ.ศ.2475 ก่อนดีกว่าครับ
1
ราชวงศ์จักรีได้ปกครองอาณาจักรสยามมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2325 โดยผู้ทรงก่อตั้งราชวงศ์คือ “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1)
เมืองหลวงหรือ “กรุงเทพมหานคร” ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะรัตนโกสินทร์ ก็ได้รับการสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์
เป็นเวลานับร้อยปีที่พระมหากษัตริย์ทรงปกป้องประเทศไทยจากการรุกรานของดินแดนอื่น โดยเฉพาะเพื่อนบ้านอย่างพม่า ที่ได้เข้ามารุกราน รวมทั้งชาติมหาอำนาจตะวันตก
1
ในปีพ.ศ.2475 สยามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในเอเชียที่ยังคงเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นเมืองขึ้น
2
ในเวลาต่อมา “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ 5 ได้ขึ้นครองราชย์ในปีพ.ศ.2411
รัขกาลที่ 5 ได้ทรงแสดงออกอย่างชัดเจนว่าต้องการจะพัฒนาและปฏิรูปประเทศให้มีความเจริญทัดเทียมอารยะประเทศ โดยมีการเปิดรับสิ่งต่างๆ จากตะวันตกมากขึ้น
4
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
รัขกาลที่ 5 ทรงให้การต้อนรับชาวตะวันตกและเปิดรับวิทยาการ แนวคิดต่างๆ ของตะวันตกในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย การเมือง การแพทย์ การศึกษา และอีกหลายด้าน
2
นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงประสบความสำเร็จในการรักษาเอกราชของชาติไว้ได้ ซึ่งในเวลานั้น ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกกำลังเข้มข้น สยามเองก็เสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราชอย่างมาก
2
รัชกาลที่ 5 ยังทรงตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาต่างประเทศ พระองค์จึงทรงส่งพระราชโอรสของพระองค์ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ และไม่เพียงแค่พระราชโอรส พระองค์ยังทรงส่งสามัญชนและนักเรียนทุนจำนวนมากไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
4
พระองค์ทรงคิดว่าคนเหล่านี้จะเป็นแรงสำคัญในการพัฒนาและทำให้ประเทศอยู่รอด
8
เมื่อรัชกาลที่ 5 สวรรคตในปีพ.ศ.2453 “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร” พระราชโอรสองค์ที่ 32 ในรัชกาลที่ 5 ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็น “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ 6
14
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)
รัชกาลที่ 6 ก็ทรงพัฒนาประเทศสืบต่อจากรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรูปโครงสร้างและสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งเปิดรับสามัญชนให้เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาล สามัญชนเริ่มจะมีบทบาทมากขึ้น
1
นอกจากนั้น ในรัชสมัยของพระองค์ ยังได้มีการตั้งโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระองค์ยังทรงให้ความสนพระทัยในแฟชั่นจากยุโรปและแบบแผนต่างๆ ของยุโรป ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่พระองค์ทรงเป็นนักเรียนเก่าอังกฤษ อีกทั้งพระองค์ยังริเริ่มให้ราษฎรมีนามสกุลอีกด้วย
2
แต่ในสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เอง เหล่าขุนนางและชนชั้นสูง โดยเฉพาะข้าราชการรุ่นเก่า ต่างไม่ค่อยพอใจกับการบริหารราชการของพระองค์นัก เนื่องจากอำนาจของพวกตนนั้นลดลง
2
ไม่เพียงแค่ข้าราชการหัวเก่าเท่านั้นที่ไม่พอใจ หากแต่ข้าราชการรุ่นใหม่ไฟแรง ก็ไม่พอใจต่อการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการบริหารราชการของพระองค์
7
ในช่วงเวลาของรัชกาลที่ 6 ฐานะทางการคลังของประเทศค่อนข้างจะขัดสน หากแต่รัฐบาลของพระองค์ก็ยังค่อนข้างจะหัวโบราณ ต่อต้านทุนต่างชาติ ไม่สนับสนุนให้ต่างชาติมาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ประเทศมีเงินทุนน้อย ประกอบกับการที่พระองค์ ทรงเป็นที่ร่ำลือและนินทาเรื่องการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ยิ่งทำให้หลายฝ่ายเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีกับพระองค์เท่าไรนัก
9
นอกเหนือจากนั้น สมัยที่รัชกาลที่ 6 ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มหาดเล็กของพระองค์ได้ไปมีเรื่องกับทหารยศนายดาบ ถึงขั้นทำร้ายร่างกาย
2
รัชกาลที่ 6 ซึ่งขณะนั้นคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้ให้ทำการสอบสวน ก่อนจะนำความขึ้นกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 5 ให้ลงโทษทหารนายนั้นด้วยการเฆี่ยนหลัง
หากแต่การตัดสินพระทัยลงโทษให้เฆี่ยนหลัง กลับไม่มีใครเห็นด้วยเลยซักคน ทั้งเจ้านายผู้ใหญ่ แม้แต่รัชกาลที่ 5 เองก็ไม่ทรงเห็นด้วย เนื่องจากการเฆี่ยนหลัง เป็นจารีตที่เลิกใช้ไปแล้ว แต่สมเด็จพระบรมก็ไม่ทรงยินยอม ยืนยันให้เฆี่ยนหลัง
2
รัชกาลที่ 5 เองก็หนักพระทัย แต่ก็ต้องทรงยอมให้ลงโทษตามที่สมเด็จพระบรมทูลขอ ซึ่งการลงโทษนี้ สร้างความสะเทือนใจและเจ็บแค้นให้แก่เหล่าทหาร ถึงขั้นที่นักเรียนนายร้อยทหารบกทำการหยุดเรียนเพื่อประท้วง
การประท้วงของนักเรียนนายร้อยทหารบก ทำให้ “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ” (พระยศขณะนั้น) พระอนุชาของสมเด็จพระบรมและเป็นเสนาธิการทหารบกในขณะนั้น ต้องออกมาปลอบโยนเหล่านักเรียนและไกล่เกลี่ย หากแต่เหล่าทหารก็ได้ผูกใจเจ็บ
1
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ
เหตุเหล่านี้ ทำให้นายทหารซึ่งเป็นนายร้อยจบใหม่ รู้สึกไม่พอใจ พวกเขาไม่พอใจในความด้อยพัฒนาของประเทศ อีกทั้งรัชกาลที่ 6 ก็ไม่ได้มีบารมีในหมู่ทหาร
1
นอกจากนั้น ทหารเหล่านี้ต่างก็เห็นมหาดเล็กของรัชกาลที่ 6 ล้วนแต่ได้ดิบได้ดี โดยหน่วยมหาดเล็กของพระองค์นั้นก้าวหน้ายิ่งกว่าหน่วยอื่นๆ แต่ละปี เหล่าทหารมหาดเล็กได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เร็วกว่าข้าราชการหน่วยอื่นๆ
3
อีกทั้งยังมีการซ้อมเสือป่า ซึ่งเป็นหน่วยที่รัชกาลที่ 6 ทรงตั้งขึ้น แต่ก็มีการเบียดเบียนงบประมาณกองทัพ การซ้อมรบก็ไม่ได้ฝึกอย่างจริงจัง และยังมีการแทรกแซง เรียกข้าราชการไปซ้อมรบ ทำให้ข้าราชการขาดงานราชการ ยิ่งทำให้เหล่านายทหารไม่พอใจ
3
พูดตรงๆ คือ รัชกาลที่ 6 เป็นกษัตริย์ที่เหล่านายทหารไม่ค่อยจะชอบนัก ถึงขั้นที่ว่าภายหลังการครองราชย์ พระองค์ถูกหว่านบัตรสนเท่ห์บริภาษอย่างรุนแรง หรือถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ มีคนเขียนด่าพระองค์อย่างรุนแรง
1
ความแค้นของทหาร ทำให้มีทหารกลุ่มหนึ่งวางแผนลอบปลงพระชนม์ของพระองค์และเปลี่ยนการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ หรือไม่ก็ระบอบสาธารณรัฐ โดยคณะผู้ก่อการวางแผนจะลงมือในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2455
1
เหตุการณ์นี้คือเหตุการณ์ “กบฎ ร.ศ.130”
คณะผู้ก่อการกบฏ ร.ศ.130
หากแต่แผนการนี้ดันรั่วออกไปซะก่อน ทำให้แผนการล่มและคณะผู้ก่อการถูกจับกุมทั้งหมด
1
ภายหลังเหตุการณ์นี้ รัชกาลที่ 6 ก็ได้ทรงเลิกความพยายามในการพระราชทานรัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไป หากแต่พระองค์ก็ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์สยามออฟเซิร์ฟเวอร์ ทรงแสดงท่าทีสนับสนุนระบบรัฐสภาเมื่อถึงเวลาสมควร
3
รัชกาลที่ 6 สวรรคตในปีพ.ศ.2468 และถึงเวลาของแผ่นดินใหม่ รัชกาลใหม่
“สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา” พระอนุชาร่วมพระครรภ์กับรัชกาลที่ 6 และเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้องในรัชกาลที่ 5 ได้ขึ้นครองราชย์ เป็น “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” รัชกาลที่ 7
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)
รัชกาลที่ 7 ทรงรับช่วงต่อราชสมบัติในช่วงที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติ
ในสมัยของรัชกาลที่ 6 นั้น มีการใช้เงินจากกองคลังมาปกปิดการขาดดุลของท้องพระคลัง อีกทั้งยังเป็นที่ซุบซิบนินทาว่าประชาชนถูกขูดรีดภาษีเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์
รัชกาลที่ 7 จึงทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยอภิรัฐมนตรีสภาประกอบด้วยเจ้านายที่มีประสบการณ์ในทางราชการ ซึ่งเจ้านายแต่ละพระองค์ก็ได้เปลี่ยนตัวสามัญชนซึ่งเป็นคนของรัชกาลที่ 6 และนำคนของตนเข้าไปแทนที่
1
ผู้ที่เป็นใหญ่ในสภา คือ “สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต” (พระยศขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและเป็นพระเชษฐาร่วมพระราชบิดากับรัชกาลที่ 7
1
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
นี่เป็นเพียงปฐมบท ให้เห็นภาพของสถานการณ์และความเป็นมาเป็นไปต่างๆ เท่านั้น
ตอนต่อไป ผมจะเล่าถึงเหตุการณ์ต่อไป ความพยายามในการแก้ปัญหาของรัชกาลที่ 7 รวมทั้งสาเหตุของการปฏิวัติ และการกำเนิดของ “คณะราษฎร”
ฝากติดตามตอนต่อไปด้วยนะครับ
โฆษณา