30 ต.ค. 2020 เวลา 10:36 • ประวัติศาสตร์
ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มีที่มายังไงกันนะ
ตอนที่ 1 บริบทการคลังสยามประเทศ
การบริหารการคลังของสยามได้ดำเนินการมานาน นับตั้งเเต่สมัยสุโขทัย เเต่ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ พระราชทรัพย์ได้มาจาก ส่วยอากร หรือ ที่เรียกในปัจจุบันว่า ภาษีอากร มีทั้งสิ้น 4 ชนิด ได้เเก่ จังกอบ อากร ส่วย เเละฤชา
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นได้มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายพลเรือนออกเป็น 4 แผนก เรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งประกอบด้วย กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง เเละกรมนา
โดยกรมพระคลังทำหน้าที่ รักษาราชทรัพย์ผลประโยชน์ของบ้านเมืองมีขุนคลังเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเเละมีพระคลังสินค้าเป็นที่เก็บเเละรักษาส่วยอากร
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับปรุงเเก้ไขระบบราชการวางระเบียบการคลัง ส่วยอากร เเละเศรษฐกิจให้รัดกุมทันสมัย โดยให้ตราพระราชบัญญัติทำเนียบราชการ โดยเเบ่งราชการออกเป็นฝ่ายทหารเเละพลเรือน ซึ่งใช้มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
โดยฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้าดำรงตำเเหน่งอัครมหาเสนบดี ส่วนฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นหัวหน้าดำรงตำเเหน่งอัครมหาเสนบดี เเละมีตำเเหน่งเสนาบดีจตุสดทมภ์ 4 ตำเหน่ง คือ
- เสนาบดีกรมเมือง บังคับบัญชาการรักษาพระนครเเละนครบาล
- กรมวัง บังคับบัญชาที่เกี่ยวกับพระราชสำนักเเละพิจารณาคดีความของราษฎร
- เสนาบดีกรมพระคลัง บังคับบัญชาเกี่ยวกับการจัดการรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้จากส่วยอากรเเละบังคับบัญชากรมท่า ซึ่งเกี่ยวกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ เเละยังมหน้าที่เกี่ยวกับ กรมพระคลังสินค้า การค้าสำเภาหลวง
- เสนาบดีกรมนา บังคับบัญชาเกี่ยวกับเรื่องนาเเละสวน การเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ
https://images.app.goo.gl/FCs1YQDfuHdBSCv2A
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2367 - 2394) พระองค์สนพระทัยที่จะปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากทางราชการมีความจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่าใน แผ่นดินก่อนๆ ทรงพยายามหาวิธีเพิ่มรายได้เเผ่นดินด้วยการผูกขาดการเก็บภาษีอากร
โดยอนุญาติใหเเจ้าภาษีซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง ในเเต่ละปีเจ้าภาษีจะจะเสนอรายได้สูงสุดในการจัดเก็บภาษีอากรเเต่ละชนิดให้เเก่รัฐบาล เมื่อได้รับอนุญาติจากรัฐบาลเเล้ว เจ้าภาษีจะจัดเเบ่งส่วนเงินรายได้ให้เเก่รัฐบาลเป็นรายเดือน จนครบกำหนดที่ได้ประมูลไว้ "เป็นการเริ่มระบบเจ้าภาษีนายอากรนับเเต่นั้นมา"
https://images.app.goo.gl/TrTdqyUSXdD6Ep7H6
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2394-2411) ประเทศสยามได้เปิดประตูการค้ากับประเทศตะวันตกนับตั้งเเต่มีการลงนามในสนธิสัญญาบาวริง กับประเทศอังกฤษ เเละกับประเทศอื่นๆ
บทบัญญัติในสนธิสัญญาบาวริงมีผลทำให้ไทยต้องยกเลิกการค้าเเบบผูกขาดโดยระบบพระคลังสินค้าอย่างเด็ดขาด เลิกล้มการเก็บภาษีเบิกร่อง หรือค่าปากเรือ
มีการจัดตั้ง ศุลกสถาน (Customs House) หรือโรงภาษี เพื่อจัดเก็บภาษีขาเข้าในอัตรา "ร้อยชักสาม" เเละภาษีขาออกตามที่ระบุไว้ในท้ายสัญญา ระบบการศุลกากรเเบบใหม่ก็นำมาใช้ตั้งเเต่ครั้งนั้น
ภายหลังสนธิสัญญาบาวริง การค้าขายระหว่างไทยกับต่างประเทศเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อค้าชาวต่างประเทศได้นำ เงินเหรียญดอลล่าร์เม็กซิกันมาขอแลกเป็นเงินไทยมาก จนกระทั่งเงินบาทพดด้วงที่มีอยู่ไม่พอใช้หมุนเวียน
ดังนั้นใน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์สิทธิการ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ผลิตเงินเหรียญด้วยเครื่องจักร มีทั้งที่ทำด้วย ทองคำ เงิน ดีบุก และทองแดงในราคาต่างกัน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ และได้ทรงเริ่มพระราชกรณียกิจ ในการปรับปรุงแก้ไขการบริหารราชการแผ่นดินให้ทันสมัยทันที ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานการคลัง ซึ่งนำไปสู่การสถาปนากระทรวงการคลังขึ้นในรัชกาลนี้
ปี พ.ศ. 2416 ทรงเริ่มทำการปฏิรูปการคลังโดยโปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ทำการของเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ และให้มีพนักงานบัญชีกลาง สำหรับรวบรวมบัญชีเงินผลประโยชน์แผ่นดิน และตรวจตราการเก็บภาษีอากร ซึ่งกระทรวงต่างๆ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บนั้น ให้รู้ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด และเร่งเรียกเงิน ของแผ่นดินในด้านภาษีอากรให้ส่งเข้าพระคลังมหาสมบัติตามกำหนด
พร้อมกันนั้นได้ ทรงตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ และ ได้พระราชทานอำนาจแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงจัดให้มีเจ้าพนักงานบาญชีกลางรวบรวมพระราชทรัพย์ ซึ่งขึ้นในท้องพระคลัง ตั้งอยู่ในหอรัษฎากร-พิพัฒน์ในพระบรมมหาราชวัง ให้มีแบบธรรมเนียมที่เจ้าภาษีนายอากร ต้องปฏิบัติในการรับประมูลผูกขาด จัดเก็บภาษีอากร ให้มีเจ้าจำนวนภาษีของพระคลังทั้งปวงมาทำงานในออฟฟิตเป็นประจำ เพื่อตรวจตราเงินภาษีอากรที่เจ้าภาษี นายอากรนำส่งต่อพระคลังแต่ละแห่ง โดยครบถ้วนตามงวดที่กำหนดให้
การกำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานหอรัษฎากรพิพัฒน์ และระเบียบข้อบังคับให้เจ้าภาษีนายอากรปฏิบัติโดยเคร่งครัด เป็นการตัดผลประโยชน์ของเจ้าพนักงานทั้งปวง จึงกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงวางรากฐานระเบียบการปฏิบัติการภาษีอากรและการเงินของประเทศไว้เป็นครั้งแรก ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
https://images.app.goo.gl/qqnuYuX2XUSWmpwZ8 (หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง)
ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางระเบียบสำหรับปรับปรุงการคลังของประเทศตามพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ไปแล้ว ทรงพระราชดำริว่า การภาษีอากรอันเป็นเงินผลประโยชน์ก้อนใหญ่สำหรับใช้จ่ายในราชการ ทนุบำรุงบ้านเมือง และใช้จ่ายเป็นเบี้ยหวัดเงินเดือนข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น พระคลังมหาสมบัติยังจัดไม่รัดกุมเป็นระเบียบเรียบร้อย เงินผลประโยชน์ของรัฐบาลยังกระจัดกระจาย ตกค้างอยู่กับเจ้าภาษีนายอากรเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้เงินยังไม่พอใช้จ่ายในราชการ และทนุบำรุงบ้านเมืองให้สมดุลย์ จึงทรงปรึกษากับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือเคาน์ซิลเลอร์ ออฟ สเตด ( Councillors of State) พร้อมด้วยคณะเสนาบดี
วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 ได้ตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ และจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ กรมพระคลังมหาสมบัติมีฐานะเป็นกระทรวงเพราะใช้คำภาษาอังกฤษเพื่อเรียกอธิบดีว่า มินิสเตอร์ ออฟ ฟิแนนซ์ ดังนั้น จึงถือเอาวันที่ 14 เมษายน 2418 เป็นวันสถาปนากระทรวงการคลัง สืบมา
https://images.app.goo.gl/FWr5coMgxNYWodDRA (กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ)
ปี พ.ศ. 2433 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433 ยกฐานะกรมพระคลังมหาสมบัติ เป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่สำหรับ รับ จ่าย และรักษา เงิน แผ่นดิน ทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวง กับถือบาญชีพระราชทรัพย์สำหรับแผ่นดินทั้งสิ้น และเก็บภาษีอากรเงินขึ้นแผ่นดินตลอดทั่วพระราชอาณาจักร มีเสนาบดีรับผิดชอบบังคับราชการในกระทรวงสิทธิ์ขาด ประกอบด้วยกรมเจ้ากระทรวงและกรมขึ้น รวมเป็นกรมใหญ่ 13 กรม
ปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้มีการจัดทำ งบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเริ่มวางระเบียบการจัดงบประมาณรายจ่าย แล้วรวบรวมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต และจะไม่มีการจ่ายเงินเกินงบประมาณโดยที่มิได้รับความเห็นชอบจากองค์พระมหากษัตริย์ เสียก่อน นอกจากนี้ ยังวางระเบียบการควบคุมการใช้จ่ายเงินของกระทรวงและกรมต่างๆ ทั้งหมด การจัดงบประมาณอย่างคร่าวๆ นี้ เป็นการกำหนดรายจ่ายมิให้เกินกำลังของเงินรายได้ เพื่อรักษาดุลยภาพและความมั่นคงของฐานะการคลังของประเทศ
ใน พ.ศ. 2444 รัฐบาลสามารถ จัดพิมพ์งบประมาณรายรับรายจ่ายแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก ในการจัดทำงบประมาณแผ่นดินนี้ โปรดฯ ให้แยกการเงินส่วนแผ่นดิน และส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นั้นให้พระคลังข้างที่เป็นผู้จัดการดูแล
https://images.app.goo.gl/Sc1myM1qnj1irvhg7 (กรมพระคลังข้างที่)
The Monarchy
โฆษณา