4 พ.ย. 2020 เวลา 16:21 • ประวัติศาสตร์
ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มีที่มายังไงกันนะ
ตอนที่ 2 พระคลังข้างที่
ประวัติของกรมพระคลังข้างที่เเต่เดิมก่อนที่จะถูกลดระดับกลายเป็นสำนักงานพระ
คลังข้างที่ในสำนักพระราชวังนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ประทานอธิบายไว้ในหนังสือสาร์นสมเด็จ ภาคที่ 5 ฉบับสำนักพิมพ์คลัง
ปัญญา พ.ศ.2499 หน้า 411 กล่าวว่า
"พระคลังต่างๆ กำหนดว่ามีจำนวน "สิบสองพระคลัง" ขึ้นอยู่ในออกญาพระคลลังทั้งนั้น ข้อนี้มีหลักอยู่ในคำเจ้าพระยาพระคลัง กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อเเรกราชาภิเษก
"ถวายราชสมบัติทั้งสิบสิงท้องพระคลัง" ดังนี้เป็นประเพณี คลังมหาสมบัตินับเป็นคลังหนึ่งใน 12 พระคลังนั้น เป็นที่เก็บรักษามหัครภัณฑ์ คือ เงินทองเพชรพลอย เป็นต้น ออกญาราชภักดีเป็นอธิบดี พระคลังมหาสมบัติขึ้นอยู่ในออกญาพระคลัง"
https://images.app.goo.gl/Rr8ecqszyLzHicqKA
อนึ่งเเต่โบราณถือว่าเงินในพระคลังมหาสมบัติเป็นพระราชทรัพย์ของพระเจ้าแผ่นดิน มีพระคลังในอีกพระคลังหนึ่ง ซึ่งท้าวทรงกันดารเป็นหัวหน้า ก็เป็นอย่างสาขาของพระคลังมหาสมบัติ รักษาเงินนี้สำหรับจ่ายในพระราชนิเวศน์ เงินหมดเมื่อใดเรียกเอาเงินพระคลังมหาสมบัติมาเพิมเติม มิได้จำกัดจำนวนเงินว่าจะเรียกได้เพียงเท่าหนึ่ง
เท่าใด
มูลของพระคลังข้างที่นั้นหม่อมฉัน(สมเด็จกรมพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรง
ราชานุภาพ) เคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า เดิมพระเจ้าแผ่นดินโปรดให้มีกำปั่น
เงินไว้ข้างพระเเท่นไว้ใบหนึ่ง สำหรับหยิบพระราชทานผู้ใด หรือใช้จ่ายการอันใด
โดยลำพังของพระองค์เองคือไม่ต้องบอกให้ผู้อื่นรู้ จะเป็นประเพณีมาตั้งเเต่ครั้ง
กรุงศรีอยุธยาหรือมีมาครั้งกรุ่งรัตนโกสินทร์ไม่ทราบ เเน่เห็นจะเรียกว่า "เงินข้างที่"
ทำนองเดียวกับเรียกเงินที่เอาตามเสด็จไปใหนๆว่า "เงินท้ายที่นั่ง" เเละคงจะเเบ่ง
จากเงินพระคลังนั่นเอง
1
ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเก็บหอมรอมริบซึ่งเป็นของส่วนพระองค์เพิ่มขึ้นในเงินข้างที่อีกมาก สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ เเละมีเงินซึ่งเรียกกันว่า "เงินถุงเเดง" สำรองไว้สำหรับในเวลาบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ
https://images.app.goo.gl/14GjPM4utaiMZumB7
อย่างสร้างวังเเต่ก่อน ทรงซื้อด้วยเงินพระคลังข้างที่ อันเงินของส่วนพระองค์ เหมือนอย่างราษฏรซื้อขายกันตามประเพณีบ้านเมือง เพราะฉะนั้นของให้วังนั้นเป็นสิทธิเเก่พระเจ้าลูกเธอตลอดลงไปจนเชื้อสาย ถ้าหากรัฐบาลจะต้องการที่วังนั้นใช้ราชการ
ก็ซื้อตามราคาอันสมควร ที่ตั้ง กรมพระคลังข้างที่ ขึ้นเป็นกรมหนึ่งต่างหากนั้น
เกิดขึ้นในรัชกาลที่5 ดูเหมือนกรมพระนราธิปฯ จะเป็นต้นคิด
ในปีพ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมณูญปกครองเเผ่นดินขึ้น กำหนดการปกครองส่วน
กลางให้เป็นกระทรวงต่างๆ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการปกครองของไทยในสมัยนั้น
เเละยังคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน(พ.ศ.2510)
เเละในปีเดียวกันนั้นเองได้ทรงพระราชดำริว่า ตำเเหน่งเจ้าพระคลังมหาสมบัติ เเละ
ว่าด้วยกรมต่างๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงินนี้ ยังไม่เป็นการเหมาะสมเเละรัดกุมพอ
เนื่องจากกิจการบ้านเมืองก็เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไปเป็นลำดับเเล้ว สมควรจะตรา
พระราชกำหนดกฏหมาย กำหนดอำนาจหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหา
สมบัติขึ้นไว้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัตืพระธรรมนูญหน้าที่ราชการใน
กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ.2433)
กำหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีหน้าที่สำหรับจ่ายรักษาเงินเเผ่นดินทั้งสรรพราชพัสดุ กับถือบาญชีพระราชทรัพย์สำหรับแผ่นดินทั้งสิ้น เเละเก็บภาษีอากรเงินขึ้นแผ่นดินตลอดทั่วทั้งพระราชอาณาจักร มีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบบังคับราชการในกระทรวงสิทธิ์ขาด เเบ่งเป็นกรมเจ้ากระทรวงเเละกรมขึ้นรวมเป็นกรมใหญ่ มีจำนวน 13 กรมดังนี้
เจ้ากระทรวงใหญ่ 5 กรม คือ
1.กรมพระคลังกลาง สำหรับการประมาณรายรับจ่ายเงินแผ่นดิน ว่าภาษีอากร เเละบังคับบัญชาการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้งสิ้น
2.กรมสารบาญชี สำหรับจ่ายเงินแผ่นดิน เเละถือทำสรรพบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น
3.กรมตรวจ สำหรับตรวจบาญชี ตรวจราคา ตรวจรายงานรายรับจ่ายเงินแผ่นดินเเละสรรพราชสมบัติ การภาษีอากรทั้งสิ้น
4.กรมเก็บ สำหรับรักษาพระราชทรัพย์ทั้งสิ้น
5.กรมพระคลังข้างที่ สำหรับการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสิ้น
มีกรมใหญ่ขึ้นอยู่ 8 กรม เเบ่งเป็น 2 แผนก คือ
แผนกหนึ่ง กรมทำการแผ่นดิน มี 3 กรมคือ
1.กรมกระสาปณ์สิทธิการ
2.กรมงานพิมพ์บัตร
3.กรมราชพัสดุ
อีกแผนกหนึ่ง กรมเจ้าจำนวน เก็บเงินภาษีอากร มี 5 กรม คือ
1.กรมส่วย
2.กรมสรรพกร
3.กรมสรรพภาษี
4.กรมอากรที่ดิน
5.กรมศุลกากร
พ.ศ.2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
กรมพระคลังข้างที่ ซึ่งเเต่เดิมอยู่ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ให้ยกมาอยู่
กระทรวงมุรธาธร (หน้าที่ดูแลเกี่ยวกับพระราชกำหนด กฎหมาย และหนังสือราชการ
ภายหลังยุบไปรวมกับกระทรวงวัง)
พ.ศ.2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ยกเลิกกระทรวงมุรธาธรซึ่งเคยบังคับบัญชามานี้ทั้งหมด ทั้งนี้ให้ขึ้นสังกัดในกรมราชเลขานุการ ดังนั้นกรมพระคลังข้างที่จงเป็นกรมอิสระ
พ.ศ.2476 มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานเเละกรมในกระทรวง
วัง
มาตรา 7 กรมพระคลังข้างที่ เเบ่งส่วนราชการ ดังนี้
1.สำนักงานเลขานุการกรม
2.กองการผลประโยชน์
3.กองการโยธา
4.กองการบัญชี
5.กองคลัง
พ.ศ.2478 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมเเก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 22 “ให้สำนักพระราชวังเป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่จัดการพระราชวัง ตลอดจนการดูเเลทรัพย์สิน เเละผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ และให้อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี”
มาตรา 23 “ให้สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์เป็นทบวงการเมือง มีอำนาจหน้าที่จัดการสารบรรณ เเละการในองค์พระมหากษัตริย์ เเละให้อยู่ในบังคับบัญชาของ
นายกรัฐมนตรี”
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการในสำนักพระราชวัง เเละสำนักราชเลขานุการในพระองค์ พ.ศ.2478 มาตรา 4
สำนักพระราชวัง เเบ่งส่วนราชการดังนี้
1.สำนักงานเลขนุการ เเบ่งเป็น 4 แผนก
1.แผนกสารบรรณ
2.แผนกหมาย เเละทะเบียน
3.แผนกคลัง
4.แผนกพัสดุ
2.กองมหาดเล็ก เเบ่งเป็น 3 แผนก
1.แผนกกลาง
2.แผนกรับใช้
3.แผนกชาวที่
3.กองวังเเละพระราชพิธี เเบ่งเป็น 3 แผนก
1.แผนกตำรวจวัง
2.แผนกพระราชพิธี
3.แผนกพระราชพาหนะ
4.สำนักงานพระคลังข้างที่
ในปีพุทธศักราช 2478 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระอัฐมรามาธิบดินทรกระทรวงวังได้ยุบฐานะลงมาเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเทียบเท่ากรม และเปลี่ยนนามเป็นสำนักพระราชวัง มีอำนาจหน้าที่จัดการพระราชวัง
ตลอดจนการดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์และอยู่ใน
บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีเลขาธิการพระราชวังรับผิดชอบในการบริหารราชการได้แบ่งส่วนราชการเป็น 4 กอง คือ สำนักงานเลขานุการ กองมหาดเล็ก กองวัง
และพระราชพิธี และสำนักงานพระคลังข้างที่
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินนิวัตจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มาประทับ
ในราชอาณาจักรเป็นการถาวร ในปีพุทธศักราช 2494 แล้วนั้น สำนักพระราชวังจึงได้เพิ่มจำนวนกองมากขึ้นโดยลำดับ เพื่อรองรับพระราชกรณียกิจต่างๆ มากมายที่ต้องทรงปฏิบัติในฐานะองค์พระประมุขของประเทศ
ในปีพุทธศักราช 2559 เป็นปีที่ 1 ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรด
กระหม่อมให้กำหนดฐานะของส่วนราชการขึ้นใหม่ให้เป็น "ส่วนราชการในพระองค์"
ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด ทั้งนี้ เว้นแต่ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราช
บัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 หรือพระราชกฤษฎีกาจัด
ระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างภายในหน่วยงาน
The Monarchy
อ้างอิง : หนังสือประวัติสำนักงานพระคลังข้างที่ / สมชาย พุ่มสะอาด / 18 ธันวาคม พ.ศ.2510
https://images.app.goo.gl/9bboA975MsaSbimv9
โฆษณา