Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Monarchy
•
ติดตาม
4 พ.ย. 2020 เวลา 17:03 • ประวัติศาสตร์
ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มีที่มายังไงกันนะ
ตอนที่ 3 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
(ในปัจจุบันคือทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ คือ ทรัพย์ในพระองค์
เเละทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์)
“ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็น “เจ้าแผ่นดิน” ตามตัวอักษร
เเละโดยหลักการทั่วไปเเล้วถือว่าทุกสิ่งเป็นสมบัติของพระมหากษัตริย์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ได้มีหน่วยงานใหม่เกิดขึ้นคือกรมพระคลังข้างที่ ซึ่งภายหลังได้กลาย
เป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หน่วยงานดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญ
ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ เเละยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในระบบเศรษฐกิจไทยทุกวันนี้”
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
นับเเต่ปี พ.ศ.2479 ได้มีพระราชบัญญัติเเยกทรัพย์สินส่วนพระองค์ออกจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีหน้าที่
บริหารจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่ได้เป็นพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
โดยพระราชบัญญัติฉบับจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479 ได้เเบ่งทรัพย์สินดังกล่าวออกเป็นสามหมวดด้วยกัน
1.หมวดเเรกเรียกว่า “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” โดยมีองค์ประกอบสามประการคือ ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่เเล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดเเละเวลาใดนอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้รวมดอกผลที่เกิดจากทรัพย์สิน
ด้วย รายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินส่วนนี้ก็ต้องเสียภาษี ขณะที่อีกสองหมวดยัง
ปลอดภาษี
2.หมวดที่สองเรียกว่า “ทรัพย์สินส่วนสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน” ซึ่งนิยามไว้ คือ ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ซึ่งใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เช่น
พระราชวัง
3.หมวดที่สามครอบคลุมถึงทรัพย์สินอื่นๆ ที่ไม่ตกอยู่ในสองหมวดเเรก ซึ่งในทางปฏิบัติหมายถึงที่ดินเเละการลงทุนในบริษัทต่างๆ ซึ่งเคยเป็นของสำนักงานพระคลังข้างที่ หมวดนี้นิยามชื่อไว้ว่า “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์”
โดยหนึ่งปีหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว คณะรัฐบาลก็ได้ออกคำสั่งให้จัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้น โดนมีฐานะเป็นกองหนึ่งใน
กระทรวงการคลังมีผู้อำนวยการสำนัก เเละข้าราชการโอนย้ายมาจากสำนักงาน
พระคลังข้างที่เดิม มีการตั้ง "สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์" ขึ้นในสังกัดสำนัก
พระราชวังเพื่อดูเเลทรัพย์สินส่วนพระองค์ ขณะที่สำนักงานพระคลังข้างที่ยังคงอยู่
โดยเป็นหน่วยงานเเยกออกไปเพื่อทำหน้าที่ดูเเลวัด 10 วัดในพระบรมราชูปถัมภ์ ,
วชิราวุธวิทยาลัย
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.๒๔๗๙
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2491 ได้กำหนด
สถานะสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้นใหม่เป็น "นิติบุคคล" โดยเป็น
อิสระต่อรัฐเเละไม่สังกัดกระทรวงใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังคงเป็นประธานคณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยตำเเหน่งอยู่ ส่วนคณะกรรมการรายอื่น ขะได้รับการเเต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ หนึ่งในคณะกรรมการเหล่านี้จะดำรงตำเเหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เเละมีอำนาจในการบริหารงานเต็มที่
ตลอดรัชสมัยที่ผ่านมาของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มักทรงเลือกคณะกรรมการซึ่งทำงานในกระทรวงการคลังหรือข้าราชการที่มีประสบการณ์สูงเเละมีภูมิหลังด้านเศรษฐกิจ พระองค์ไม่ได้ทรงเลือกนักธุรกิจจากภาคเอกชนเเต่อย่างใด
กฏหมายใหม่นี้ทำให้การบริหารทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นอิสระกว่าที่เป็นมาก่อนหน้า โดยในหลายๆด้านผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งสถานะทางกฏหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พระราชบัญญัติ พ.ศ.2491นี้มีส่วนช่วยปูทางสู่ยุคสมัยที่สำนักงานทรัพย์สินส่วน
พระมหากษัตริย์มีการบริหารการจัดการเชิงรุกมากขึ้น
พระราชบัญญัติจัดระเบียบฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.๒๔๙๑
ในปี 2561 พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 ได้ออก
มาเพื่อจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ใหม่
โดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 ได้เเบ่งทรัพย์สินออกเป็นสามหมวด คือ
1.“ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินในพระองค์เเละทรัพย์สินใน
พระมหากษัตริย์
2.“ทรัพย์สินในพระองค์” หมายความว่า ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่เเล้วก่อนขึ้นครองราชสมบัติ ทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย เเละทรัพย์สินที่ได้ทรงได้มา
ไม่ว่าในทางใดเเละเวลาใดอันเป็นการส่วนพระองค์ ทั้งนี้ รวมถึงดอกผลที่เกิดจาก
บรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย
3.“ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์” หมายความว่า ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์นอกจาก
ทรัพย์สินในพระองค์
จากพระราชบัญญัติฉบับนี้ การจัดการ การดูเเลรักษา การจัดหาผลประโยชน์ เเละการดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ใหเเป็นไปตามพระราชอัธยา-ศัย เเละเพื่อการนี้พระมหากษัตริย์จะทรงมอบหมายให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหา
กษัตริย์ บุคคลใด หรือหรือหน่วยงานใดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
สำหรับทรัพย์สินใดภายใต้เงื่อนไขใดก็ได้
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ยังมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานใน
พระมหากษัตริย์ มีหน้าที่จัดการ ดูแลรักษา จัดหาผลประโยชน์ และดำเนินการอื่นใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่จะทรงมอบหมาย
ส่วนประธานคณะกรรมการเเละกรรมการอื่นๆซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเเต่งตั้งตาม
พระราชอัธยาศัย และในจำนวนนี้จะได้ทรงแต่งตั้งกรรมการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์คนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการ
เเละที่สำคัญทรัพย์สินพระมหากษัตริย์จะต้องเสียภาษีอากร หรือได้รับยกเว้นภาษี
อากรย่อมเป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.๒๕๖๑
The Monarchy
อ้างอิง :
https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/17086
https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/13490
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/088/T_0001.PDF
https://drive.google.com/file/d/1d3gWCSlxs_jWHWZN34FZb1Ybg4MUd5o_/view?usp=sharing
3 บันทึก
9
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ทรัพย์สินพระมหากษัตริย์มีที่มายังไงกันนะ?
3
9
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย