Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายย่อยง่าย by Natarat
•
ติดตาม
1 พ.ย. 2020 เวลา 06:18 • การศึกษา
กรณีที่สัญญาจ้างแรงงานได้ระบุห้ามลูกจ้างประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้างภายหลังสัญญาสิ้นสุดลง
จะมีผลครอบคลุมถึงการห้ามไปทำงานเป็นลูกจ้างผู้อื่นซึ่งประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้างด้วยหรือไม่...
เพราะในการจ้างแรงงานที่ต้องอาศัยทักษะหรือความสามารถระดับสูงของลูกจ้าง อย่างเช่น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหารที่มีประสบการณ์นั้น
นายจ้างมักจะระบุไว้ในสัญญาจ้างแรงงานไว้เลยว่า เมื่อลูกจ้างพ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว ห้ามลูกจ้างประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นการแข่งขันกับนายจ้าง หากผิดข้อตกลงจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ถามว่าข้อตกลงแบบนี้สามารถใช้บังคับได้หรือไม่...
ซึ่งจากแนวคำพิพากษาที่ผ่านมา หากข้อตกลงนั้นไม่ได้ทำให้ลูกจ้างเสียเปรียบก็สามารถใช้บังคับได้
(เคยมีคำพิพากษาฎีกา วินิจฉัยว่า ข้อตกลงห้ามลูกจ้างที่สัญญาจ้างสิ้นสุดไปแล้วประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้างในจังหวัดเดียวกัน เป็นระยะเวลา 2 ปีสามารถใช้บังคับได้)
แต่ทั้งนี้ ข้อตกลงนั้นจะต้องมีข้อความชัดเจนว่าห้ามทำอะไร เป็นระยะเวลาเท่าไหร่ จะตีความว่าการห้ามทำอย่างหนึ่งจะรวมถึงอีกอย่างหนึ่งด้วยไม่ได้
มีคดีหนึ่ง นายจ้างได้ทำสัญญาจ้างลูกจ้างในตำแหน่งแพทย์ประจำคลีนิก
ต่อมาลูกจ้างได้ลาออกและฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานเพื่อขอให้คืนเงินประกันความเสียหาย ค่าจ้างและค่าคอมมิชชั่นที่ค้างชำระ
ด้านนายจ้างต่อสู้ว่า...
ลูกจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากได้ระบุไว้ว่าภายใน 2 ปีนับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ห้ามลูกจ้างไปเป็นแพทย์ประกอบวิชาชีพในกิจการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับนายจ้าง ภายในรัศมี 10 กิโลเมตรจากที่ตั้งกิจการของนายจ้าง
นายจ้างอนุมัติให้ลาออกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2552 แต่วันที่ 28 สิงหาคม 2552 ลูกจ้างกลับไปเริ่มงานที่คลีนิกอื่น ซึ่งอยู่ในรัศมี 10 กิโลเมตรจากที่ตั้งกิจการของนายจ้าง ลูกจ้างจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ซึ่งศาลแรงงานได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ว่า...
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ โจทก์ไปทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. คลินิก แม้จะเป็นสถานพยาบาลในกิจการคล้ายคลึงกับจำเลย ภายในรัศมี 10 กิโลเมตรจากที่ตั้งของกิจการของจำเลย แต่ก็ไม่ผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อจำเลย
เนื่องจากสัญญาข้อ 2.ค ห้ามมิให้พนักงานเปิดคลินิกหรือสถานพยาบาลหรือธุรกิจในกิจการที่คล้ายคลึงกับนายจ้างเท่านั้น
การที่โจทก์ไปทำงานเป็นลูกจ้างของผู้อื่นจึงไม่ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา
อย่างไรก็ตาม หากสัญญาจ้างได้ระบุไว้ชัดเจนว่า เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ห้ามลูกจ้างเข้าร่วมงานกับนายจ้างรายใหม่ที่ประกอบกิจการลักษณะเป็นการแข่งขันกับนายจ้าง ภายในพื้นที่.. และภายในระยะเวลา.. ปี
ลูกจ้างก็ย่อมต้องผูกพันและปฏิบัติตามสัญญาเช่นเดียวกันครับ
(ดูประเด็นนี้เพิ่มเติมที่
https://www.blockdit.com/posts/5d552d72f0fc54175e125a8c
)
อ้างอิง :
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3556/2557
ช่องทางติดตามอื่น ๆ
FB :
Facebook.com/Nataratlaw
IG :
Instagram.com/Natarat_law
Twitter :
https://twitter.com/nataratlaw#กฎหมายย่อยง่าย
12 บันทึก
36
9
15
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายแรงงาน
12
36
9
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย