Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Career Fact
•
ติดตาม
3 พ.ย. 2020 เวลา 01:30 • ธุรกิจ
วันนี้ Career Fact ขอนำเสนอเรื่องราวของพี่เบลล์ พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ CEO ของสตาร์ทอัพตลาดสดออนไลน์ “Freshket” วัย 34 ปี ติดตามได้ที่นี่
จากคนที่เคยทำธุรกิจล้มเหลวมาแล้วถึงสองครั้ง สตาร์ทอัพที่ปล่อยผลิตภัณฑ์ออกมาแล้วไม่มีคนใช้ หนำซ้ำยังต้องมาเผชิญกับวิกฤติโควิดอีก แต่อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอผู้ล้มมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนยังลุกขึ้นมาสู้ต่อแบบไม่ย้อท้อต่ออุปสรรคตรงหน้าได้?
#จุดเริ่มต้น
พี่เบลล์ พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ เติบโตขึ้นมาในครอบครัวนักธุรกิจ พ่อแม่ของเธอเริ่มต้นจากศูนย์ ค่อยๆ สร้างธุรกิจขึ้นมา พวกท่านเองต้องการปลูกฝังให้เธอเป็นเด็กที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และให้พี่เบลล์เป็นคนเลือกเส้นทางชีวิตด้วยตัวเองอยู่เสมอ เธอเองได้เห็นพ่อและแม่ทำงานหนัก จึงเข้าใจถึงความยากลำบากในการทำธุรกิจ และการเลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งเธอได้ซึมซับและมีพวกท่านเป็นแรงบันดาลใจ เธอใฝ่ฝันที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเองเช่นกัน
#ชีวิตวัยเรียนที่ไม่ราบรื่น
2
หลังเรียนจบมัธยม เธอเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ที่นั่นเธอได้เรียนรู้กับโลกนอกห้องเรียน เธอเป็นเด็กที่ค่อนข้างรักสนุก ออกนอกลู่นอกทางและโดดเรียนไปเที่ยวอยู่เป็นประจำ จนสุดท้ายก็ต้องลาออกหาที่เรียนใหม่ เป้าหมายใหม่ของเธอคือการเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาล เธอตัดสินใจจะตั้งใจเรียนเพื่อพ่อแม่อีกครั้ง สุดท้ายเธอสอบติดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1
เธอเองต้องปรับตัวพอสมควร หนึ่งสิ่งที่เธอเรียนรู้จากความผิดพลาดครั้งเก่าคือ การเรียนเป็นเรื่องของวินัยและความรับผิดชอบ เมื่อคิดได้เช่นนั้น วินัยและความรับผิดชอบก็ทำให้เธอจบมาพร้อมเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทอง
3
พี่เบลล์พูดว่า “ดีใจที่ตัวเองเลือกทางเดินที่รับผิดชอบต่อการเรียนนะ มีวินัยต่อการเรียนนะ แต่ก็ออกไปเผชิญโลกในมุมมองต่างๆ เช่นกัน ทำให้เราได้เข้าใจว่าคนในมุมอื่นๆ ในโลกอื่นๆ เนี่ยมันเป็นยังไง”
#โลกการทำงาน
เมื่อถามถึงการตั้งเป้าหมายในเส้นทางอาชีพ เธอตอบว่า “พี่มีเป้าหมายว่าพี่จะเรียนรู้อะไรแล้วกัน พอสามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้แล้ว พี่ก็จะหาสิ่งเรียนรู้ถัดไปว่าพี่อยากจะเรียนรู้อะไร เพื่อที่จะไปถึงจุดหมายการเป็นนักธุรกิจ”
1
งานแรกของเธอหลังเรียนจบคือ Account Executive อาชีพนี้ทำให้เธอได้ฝึกทักษะการขายและการเจรจาที่เป็นหนึ่งในคุณสมบัติของการเป็นเจ้าของกิจการที่ดี อีกทั้งเธอยังได้พบปะและแลกเปลี่ยนทัศนคติกับคนเก่งๆ มากมายในหลากหลายอุตสาหกรรม
หลังจากอิ่มตัวกับการเป็น AE เธอสมัครงานในตำแหน่งที่ปรึกษาทางการตลาดที่บริษัท Marketing Research แห่งหนึ่ง และสุดท้ายเธอจึงค่อยตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อมาตามความฝันการเป็นนักธุรกิจของเธอ
1
ธุรกิจแรกที่เธอเลือกจับคือธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร เธอกับเพื่อนร่วมทุนกันเปิดโรงคัดตัดแต่งผักผลไม้ที่ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ขณะเดียวกันก็ทำสตาร์ทอัพตัวหนึ่งชื่อว่า “Onner” ซึ่งเธอเล่าให้ฟังแบบไม่ลังเลว่า ได้รับเงินลงทุนจากนักธุรกิจชาวจีนรายหนึ่ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะต้องประสบกับปัญหา Pre-mature scaling หรือการที่สตาร์ทอัพเติบโตเร็วเกินกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ต้องปิดตัวลงไปในที่สุด
มากไปกว่านั้น ธุรกิจโรงคัดตัดแต่งเองก็ประสบกับปัญหาทัศนคติของหุ้นส่วนที่มีวิธีการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งก็ทำให้เธอตัดสินใจเดินออกจากธุรกิจโรงคัดตัดแต่งไปพร้อมกันด้วย
3
พี่เบลล์เป็นคนที่มีแผนในชีวิตและบรรลุเป้าหมายมาโดยตลอด การไม่มีงานในชีวิตจึงทำให้เธอรู้สึกหลงทางมากๆ อย่างไรก็ตาม เธอไม่ยอมแพ้ และใช้วิกฤติในชิวิตเปิดโอกาสให้ตัวเองได้คิดทบทวนใหม่ เธอเซ็ตตัวเองเป็นศูนย์และตัดสินใจเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
เธอกล่าวว่า “เราเรียนรู้อะไรจากความผิดพลาด เราลุกขึ้นใหม่จากความล้มเหลวได้เร็วแค่ไหน และเราสามารถเก็บสิ่งที่เรียนรู้ นำมาต่อยอดเป็นสิ่งใหม่อะไรได้บ้าง เรามีเป้าหมายว่าอยากจะเรียนรู้อะไรแล้ว พอสามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้แล้ว เราก็จะหาสิ่งใหม่ในการเรียนรู้ครั้งถัดไป เพื่อที่เราจะไปถึงจุดหมายของการเป็นนักธุรกิจ”
#Freshket
“แน่นอนว่าเราต้องการคนเก่งเข้ามาร่วมทีม แต่ทีมที่มันยังไม่มีอะไรเลยแม้กระทั้งผลิตภัณฑ์ มันเลยยาก เพราะมันไม่มีความแน่นอนและความมั่นคง ที่จะทำให้คนอื่นมาร่วมทีมกับเราได้ง่ายขนาดนั้น” พี่เบลล์กล่าวไว้
2
พี่เบลล์เริ่มต้นใหม่กับไอเดียใหม่ที่จะมาเปลี่ยนชีวิตของเธอตลอดกาล ไอเดียที่ว่าก็คือ “Freshket” ซึ่งเป็นโมเดลธุรกิจตลาดสดออนไลน์ ที่จะรวบรวมวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์มารวมไว้บนแพลตฟอร์มเดียว
1
จุดแข็งของ Freshket คือเป็นไอเดียที่สร้างมาจากจุดบอดในตลาดที่ต้องการการแก้ไขปัญหาจริงๆ ซึ่งก็ส่งผลให้ไอเดียนี้ชนะการประกวดโครงการ Dtac Accelerate และได้รับเงินเงินลงทุนจำนวนหนึ่ง
3
พี่เบลล์ต้องเข้าไปสร้างเครือข่ายในแวดวงเทคโนโลยี เพื่อดึงคนเก่งๆ มาร่วมทีม แต่ว่าเส้นทางก็ไม่ได้ราบรื่นมากนัก เพราะหนึ่งในเงื่อนไขของการระดมเงินทุน คือเธอต้องมีทีมงานที่พร้อมทำงานเต็มเวลาแบบ 100% ขณะนั้น ไม่ค่อยมีใครกล้ารับความเสี่ยงกับสตาร์ทอัพแบบนั้น แต่เพราะความเชื่อมั่นของเธอ ก็สามารถดึงคนมาร่วมงานได้ในที่สุด
1
#ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีใครใช้
พี่เบลล์และทีมใช้เวลากว่า 4 เดือน ในการทำงานหามรุ่ง หามค่ำ เธอเชื่อในตัวผลิตภัณฑ์และศักยภาพของทีมของเธอมากๆ เธอตรวจสอบไอเดียมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อปล่อยผลิตภัณฑ์ออกมาจริงกลับไม่มีใครเข้าใช้เลย ทีมก็เกิดคำถามว่า “ทำทุกอย่างถูกต้องหมด แต่ทำไมไม่มีใครใช้?”
พี่เบลล์และทีมกลับมาตรวจสอบผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เธอพบว่าผลิตภัณฑ์ของเธอมีความเอนเอียงไปตามรูปแบบของตลาดออนไลน์ที่ ณ ตอนนั้น ใครๆ ก็บอกว่า การทำตลาดออนไลน์คือการให้ความสำคัญกับความหลากหลายของสินค้าและความสะดวกสบายต่อการใช้งาน แต่เมื่อเธอปล่อยผลิตภัณฑ์ออกมา มันไม่ได้ตอบโจทย์ลูกค้า ร้านอาหารไม่ได้ต้องการสองสิ่งนี้มากที่สุด สิ่งที่พวกเขาต้องการคือราคาที่สมเหตุสมผลและการจัดส่งที่รวดเร็ว
1
เมื่อพี่เบลล์เห็นถึงปัญหาของลูกค้า เธอรู้ว่าสิ่งที่สามารถเข้ามาแก้ปัญหาให้ผลิตภัณฑ์คือการปูพื้นฐานระบบหลังบ้านอย่างโลจิสติกส์และซัพพลายเชนให้แข็งแรง เธอสารภาพว่าตัวเองไม่เคยมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาก่อน ทำให้เธอต้องเรียนรู้วิธีการวางระบบเองทั้งหมด เปลี่ยนรูปแบบการจัดวางทุกๆ สองสัปดาห์ สุดท้ายเธอสามารถวางระบบหลังบ้านที่มีประสิทธิภาพ สร้างคุณค่าให้ธุรกิจได้ตามที่หวัง
1
ความท้าทายนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทำให้เธอเห็นถึงความสำคัญของ “ทีม” เพราะในฐานะผู้นำ เธอต้องสร้างกำลังใจให้กับทีมอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากคนในทีมสูญเสียกำลังใจ ก็อาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานได้
เธอกล่าวว่า “ต่อให้เราเลือกทีมมาดีแค่ไหน เส้นทางมันก็อีกยาวไกล เราก็ต้องเชื่อมันในกันและกัน สนับสนุนกันต่อไป เรียนรู้และหาสมมติฐานใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ ถ้าหากมันเป็นเป้าหมายที่อยากจะทำให้ได้ ไม่ว่ามันจะวนลูปอีกกี่ครั้ง แต่ละครั้งที่มันวนไป ในครั้งที่สองที่สามเราก็จะทำมันได้ดีขึ้น และทำมันได้ดีขึ้นไปอีกในครั้งต่อๆ ไป”
3
#COVID19
เธอกล่าวว่า “วิกฤติโควิดเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ที่ไม่รู้จะได้เจออีกทีเมื่อไหร่ และถ้าผ่านมันไปได้ มันเป็นอีกข้อพิสูจน์ถึงความพยายามของทีมให้นักลงทุนเห็นว่า ย
ากลำบากเราก็ผ่านมันมาแล้ว หลังจากนี้ทำไมเราจะทำมันไม่ได้ล่ะ?”
เส้นทางที่จะดูเหมือนราบรื่นขึ้นก็ต้องมาเจอกับมรสุมลูกใหญ่กับวิกฤติโควิด-19 ตัวธุรกิจที่พึ่งจะสร้างตัวตัวได้ไม่นาน ส่วนเงินก็เริ่มใกล้หมดไปทุกที
3
สิ่งที่เธอทำตอนนั้นคือเปลี่ยนจากการขายผู้ประกอบการ (B2B) ไปเป็นการเปิดเสรีให้ผู้บริโภครายย่อยสามารถซื้อได้ด้วย (B2C) ซึ่งผลตอบรับก็ดีมากๆ เพราะผู้คนก็ไม่ค่อยอยากจะออกจากบ้าน มีจำนวนลูกค้าเยอะแบบที่เธอและทีมเองก็ไม่ทันตั้งตัว โกดังก็รับของไม่ไหว ส่วนโลจิกติกส์ก็ไม่ทัน
8
เหตุการณ์นี้ทำให้เธอเข้าใจลึกซึ้งถึงสองสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ อย่างแรกคือการมองภาพให้ออกว่ามันมีรูรั่วอะไรบ้าง แล้วสามารถอุดรูนั้นได้อย่างไร อย่างที่สองคือ ความสามารถของทีม วิกฤติบังคับให้ทุกคนต้องใช้ศักยภาพเกินร้อย ทำให้เธอรู้ว่าเมื่อถึงจุดนั้น ทีมยังขาดอะไรบ้าง วิกฤติทำให้เราได้พัฒนาตัวเอง และสุดท้ายความพยายามของทุกคนก็พิสูจน์ให้นักลงทุนได้เห็น ทำให้ “Freshket” สามารถระดมเงินทุนได้มากถึง 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และกลายเป็นสตาร์ทอัพที่ได้รับเงินลงทุนระดับ Series A ตามที่เธอตั้งเป้าหมายไว้เร็วกว่าที่คิด
2
#เป้าหมายของพี่เบลล์ #พงษ์ลดา #พะเนียงเวทย์
พี่เบลล์เองตั้งเป้าหมายสำหรับ “Freshket” ในประเทศไทยไว้สามอย่าง อย่างแรก เธอต้องการทำให้สินค้าเกษตรนั้นมีความเท่าเทียมในเรื่องของราคา ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ตั้งแต่ผู้ผลิตถึงมือผู้บริโภค ผลประโยชน์นั้นจะต้องสมดุล อย่างที่สอง เธอต้องการทำให้เกิดความโปรงใส่ในมุมของการแชร์ข้อมูลในระบบซัพพลายเซนที่ส่งต่อถึงกันได้ และสุดท้าย เธอต้องการพัฒนาสินค้าเกษตรเมืองไทยให้ดีขึ้นในแบบที่มันควรจะเป็น
“ทั้งสามสิ่งนี้เป็นเป้าหมายที่เราตั้งไว้ให้กับ “Freshket” มันเป็นเรื่องที่ใหญ่แหละ แต่ก็คิดว่าเราจะต้องทำมันให้ได้”
#สติและความมุ่งมั่น
เมื่อ Career Fact ถามพี่เบลล์ถึงแรงผลักดัน ที่แม้ว่าพี่เบลล์จะล้มมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็ยังลุกขึ้นมาสู้ต่อ พี่เบลล์ได้เล่าย้อนกลับไปให้เราฟังว่า
“ทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต มันไม่เคยเป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ตั้งแต่แรกหรอก เมื่อปัญหาเข้ามาแล้ว เราก็ต้องแก้ไขมันอย่างมีสติและความมุ่งมั่น เพราะระหว่างทางจะมีอุปสรรคที่พร้อมทำให้เราหมดกำลังใจตลอดเวลา การยืนอยู่บนหลักความจริงว่าเรายืนอยู่ตรงไหน การมองเป้าหมายให้ชัดเจนว่าเราจะไปตรงไหน และที่สำคัญคือการเรียนรู้ รู้จักพัฒนาตัวเองจากความผิดพลาดอยู่ตลอดนั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก และเมื่อใดที่เราไปถึงเป้าหมายแล้ว มันก็ทำให้รู้สึกว่าตลอดเส้นทางที่ผ่านมา มันไม่มีอะไรที่เราต้องศูนย์เสียเลย”
1
“Career Fact เพราะทุกอาชีพมีเรื่องราว”
#CareerFact
ทุกอาชีพมีเรื่องราว
…………………………
สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ ต่อได้ที่ Career Fact เพราะทุกอาชีพ... มีเรื่องราว (อย่าลืมกด See First เพื่อไม่ให้พลาดคอนเท้นท์ดีๆ)
Subscribe Career Fact -
https://bit.ly/CareerFactYT
Facebook -
https://bit.ly/CareerFactFB
Blockdit -
https://bit.ly/CareerFactBD
9 บันทึก
11
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Explained Article | บทความเจาะลึกแนวคิดผู้นำ
9
11
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย