5 พ.ย. 2020 เวลา 03:00 • หนังสือ
✔️❌ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา
***ไม่มีชะตากรรมกำหนดชีวิต
มีแต่ชะตาชีวิตในกำมือเรา
หนุ่มเมืองจันท์
📖อีกเล่มที่ประทับใจให้มุมมองดีๆ อีกเล่มหนึ่ง
🤗"ไม่มี" แต่ "มี"
วันนี้ "กล้อง" กลายเป็น "ตาที่สาม" ของ "นักเดินทาง"และเป็น "ดวงตา" แห่งความทรงจำ​
ผมไม่ค่อยเห็นนักเดินทางมืออาชีพคนไหนไม่พกกล้อง​ อย่างน้อยที่สุดก็กล้องจากโทรศัพท์มือถือ
สมัยก่อนที่โลกของการถ่ายรูปยังใช้​"ฟิล์ม"
ยังมีฟิล์มโกดัก-ฟูจิ เป็น "ยักษ์ใหญ่" อยู่ในโลกนี้ การถ่ายรูปเป็นของแพงครับ​ ต้องคิดทุกครั้งก่อนแชะ​ เพราะคำฟิล์มก็แพง ค่าอัดรูปก็แพง
แต่ทันทีที่เกิดกล้องดิจิตอลขึ้นมา​ โลกของการถ่ายรูปก็เปลี่ยนไป​ การถ่ายรูปกลายเป็นของถูก
คนมีกล้องไม่ต้องคิดมาก​ เจออะไรก็แชะ
เมมโมรี่เต็มก็ถ่ายเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
ทุกอย่างดูง่ายไปหมด
การถ่ายรูปและโพสต์ผ่านโชเชียลมีเดียให้คนอื่นได้ชื่นชมกลายเป็นวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่​ ไม่ใช่แค่ภาพตัวเอง​ ทุกคนถ่ายรูปทุกอย่างที่ผ่านตา​ กินอาหารก็ถ่ายรูป​ เจอภาพอะไรแปลกๆ ก็แชะ​ ยิ่งไปเที่ยว ยิ่งแชะอย่างถี่ยิบ​ ไม่แปลกที่การไปเที่ยวทุกครั้ง เราจะมีรูปสวยๆ อยู่ในกล้องเต็มไปหมด
เป็น "ภาพแห่งความทรงจำ" ทั้งรูปตัวเรากับเพื่อน​ รูปสถานที่ท่องเที่ยวและอื่นๆ อีกมากมาย
เห็นคนถ่ายรูปเยอะๆ แล้ว บางครั้งผมก็สงสัยว่านิยาม​ คำว่า"ท่องเที่ยว" วันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว
ถ้าแบ่งยุค อาจต้องเป็น ๒ ช่วงเวลา
ยุคก่อนกล้องดิจิตอลและยุคหลังกล้องดิจิตอล
ในอดีตที่ไม่มีกล้องดิจิตอล -ไอหมอก" ยามเช้า คือความอ่อนละมุนของธรรมชาติ​ เรามองด้วยตา​ ซึมซับความรู้สึกด้วยใจ
แต่วันนี้ -ไอหมอก" กลายเป็นฉากที่งดงามผ่านเลนส์ของกล้องถ่ายรูป​ เห็น "ไอหมอก" ปั๊บ คิดถึงการถ่ายรูปก่อนเลย​ ใช้ดวงตากับเลนส์ มากกว่าการสัมผัสด้วยใจ
บางครั้งผมเห็นนักเดินทางที่มองหาแต่มุมสวยๆ เพื่อถ่ายรูป​ ผมนึกตั้งคำถามในใจ
"ภาพแห่งความทรงจำ ที่เขาเก็บไว้ในเมมโมรี่ของกล้อง​ เขาจำ "ภาพ" ได้​ แต่จำ "ความรู้สึก" ในวินาทีนั้นได้หรือเปล่า
ผมชัดเจนกับคำถามนี้มากขึ้นเมื่อได้เข้าไปในมิวเซียมของ "จิบลิ" สุดยอดสตูดิโอแอนิเมชั่นของญี่ปุ่น​ "ฮายาโอะ มิยาซากิ" นักฝันแห่งตะวันออก เป็นคนก่อตั้งสดูติโอแห่งนี้ขึ้นมา​ มิวเซียมนี้ห้ามถ่ายรูป​ ตามปกติผมไม่ได้ชอบถ่ายรูปมากนัก เวลาไปเที่ยวก็ถ่ายรูปบ้างแต่น้อยมาก
ผมมองภาพต่างๆ ด้วย "ตา" มากกว่ามองผ่าน "เลนส์" ถ้าจะเก็บภาพบ้างก็เพราะต้องเอามาใช้งาน​ แต่ที่นี่ห้ามถ่ายรูปเลย​ ในมิวเซียม มีทั้งโต๊ะทำงานของ "มิยาซากิ ภาพร่างแอนิเมชั่น อุปกรณ์ต่างๆ มากมาย
จัดวางได้อย่างนำสนใจยิ่ง​
เมื่อถ่ายรูปไม่ได้ ผมก็เดินดูแต่ละจุดอย่างละเอียด​ เดินช้าๆ ค่อยๆ ดูแต่ละจุด​ ยิ่งดูละเอียด ยิ่งเห็นอะไรมากกว่าเดินไปถ่ายรูปไป​ ยังจำภาพดินสอที่เขาใช้วาตรูปจนเหลือสั้นๆ​ "มิยาชากิ" ประหยัดถึงขั้นที่เอากันดินสอ ๒ ด้านมาต่อเชื่อมกัน เพื่อให้ด้ามดินสอยาวพอที่จะเขียนได้ ภาพเคลื่อนไหวของม้าที่เป็นต้นแบบในการร่างภาพแอนิเมชั่น​ ภาพท้องฟ้าที่สวย...สวยมาก​ เพราะหนึ่งในทีมงานของเขาชอบนอนมองท้องฟ้า
การห้ามถ่ายรูปทำให้ "ดวงตาที่ ๓" ไม่สามารถบรรจุความทรงจำลงในเมมโมรี่ได้
ผมจึงต้องใช้ตา ๒ ดวง และเมมโมรี่ในหัวในการจดจำเรื่องราวทั้งหมด​ เป็นห้วงเวลาที่ดีมากเลยครับ​ เพราะไม่ต้องพะวงกับการถ่ายรูป​ ไม่ต้องหามุมกล้อง
ผมเดินชมอย่างช้าๆ มองทุกสิ่งอย่างละเมียดขึ้น​ ลองคิดแทนทีมงาน "จิบลิ"และจินตนาการต่ออย่างสนุกสนาน​ ใช้ดวงตาและความรู้สึกนำทาง​ ผมเพิ่งรู้ว่าการไม่มี "กล้อง" ก็มีข้อดี​ แม้ภาพในความทรงจำ​หลังการเดินทางอาจไม่ชัดเหมือนภาพจากกล้อง​ แต่ภาพใน "ความรู้สึก" กลับชัดเจนกว่าและยาวนานกว่า
👀ลองมาใช้ตาดูสิ่งสวยงามแทนกล้องดูกัน
จากหนังสือ...
ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา
หนุ่มเมืองจันท์
ความเชื่อคือเข็มทิศ ชีวิตเป็นของเรา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา