เวลามีใครถามผมว่าตอนปิดต้นฉบับ เคย "ตัน" บ้างหรือเปล่า
สำหรับคนที่ไม่ได้มีอาชีพ "นักเขียน" การเขียนหนังสือคงเป็นงานยาก
ยิ่งถ้าผมบอกว่าเขียนต้นฉบับสัปดาห์ละ ๓ เรื่อง
คนส่วนใหญ่จะตกใจราวกัวเป็นสิ่งมหัศจรรย์
ครับ...ถ้าสัปตาห์ละ ๓ เรื่องยังตกใจ ถ้ารู้ "อัตราการผลิต
ต้นฉบับของพี่เสถียร จันทิมาธร แห่ง "มติชน"
ปรมาจารย์ด้านการเขียนของผม
เขาคงจะช็อก
"พี่เถียร" เขียนตันฉบับวันละประมาณ ๓-๔ ชิ้นครับ
เขียนแบบนี้สัปดาห์ละ ๗ วันครับ
ทำแบบนี้มาไม่ต่ำกว่า ๓๐-๔๐ ปีแล้วครับ
แต่ถามว่าผมเคย "ตัน" ไหม
แม้จะเขียนแค่สัปดาห์ละ ๓ เรื่อง ก็มีโอกาส "ตัน "
นั่งหน้าจอแล้วนึกเรื่องเขียนไม่ออก
แต่ทุกอาชีพ ต้องมี "บันไดหนีไฟ" ครับ
ผมเชื่อว่าสถาปนิกก็มี "บันไดหนีไฟ" ของตัวเอง
ครีเอทีฟรายการโทรทัศน์ก็มี
ครีเอทีฟโฆษณาก็มี ฯลฯ
อะไรที่เป็น "อาชีพ" เรารอ"แรงบันดาลใจ" ไม่ได้หรอกครับ
"เดดไลน์" คือ "แรงบันดาลใจ" ที่ดีที่สุด
สำหรับผม "บันไดหนีไฟ" คือการจดบันทึกและหนังสือ
สมัยก่อนผมจะมีสมุดเล่มเล็กๆ ในกระเป๋า เวลาเจอเรื่องที่ไหนที่ชอบ
ผมจะจดลงในสมุดเล่มนี้
หนังสือเล่มไหนที่อ่าน ผมจะพับหน้าที่ชอบ ขีดเส้นใต้บรรทัดที่ประทับใจ
เสร็จแล้วก็เสียบไว้ที่ตู้หนังสือหลังโต๊ะทำงาน
นั่นคือ "บันไดหนีไฟ" ของผมครับ
เวลาที่นึกเรื่องที่เขียนไม่ออก ผมก็จะเปิดสมุดบันทึกเล่ม
แต่ตอนหลังพอใช้ "ไอโฟน" และ -ไอแพด" ผมก็เปลี่ยนจากสมุดบันทึกเป็นการเก็บข้อมูลใน ไอโฟน" หรือ "ไอแพด"
ยิ่งโปรแกรม "โน้ต" ทำให้สามารถโอนผ่านข้อมูลระหว่าง"ไอโฟน-ไอแพค"ได้ ยิ่งสบาย
พอเริ่ม "ตัน" ก็จะเปิดดูว่ามีประเด็นไหนน่าเขียนได้บ้าง
หรือหยิบหนังสือมาพลิกดู เจยหน้าไหนที่พับไว้แสดงว่าต้องมีอะไรดี
พอได้ "ประกายไฟ" แล้ว จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะโหมไฟแห่ง "แรงบันดาลใจ" ตาม "เดดไลน์" ที่วิ่งไล่เข้ามา
สุดท้ายก็เป็น "ต้นฉบับ" คุณภาพ ๑ ชิ้น